ศาลฎีกาคดีเลือกตั้ง ยกฟ้อง กรณีผู้สมัคร สว.ร้องเอาผิด กกต. จัดเลือกตั้งสภาสูงไม่สุจริต เที่ยงธรรม ชี้ฟ้องซ้ำ-ไม่มีอำนาจในการฟ้องร้อง ด้านอดีตผู้สมัครเตรียมร้องศาลรธน.-ปปป. เอาผิดคณะกรรมการกกต.ต่อไป
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ที่ศาลฎีกาเเผนกคดีเลือกตั้ง ศาลนัดฟังคำสั่งในคดีที่ พล.ต.ท.คำรบ ปัญญาแก้ว อดีต ผช.ผบ.ตร. นาย จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง นางสาวณัฐนันท์ ทองดี ทั้ง3 ในฐานะอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ฟ้องผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับเทศเเละคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อศาลฎีกาเพื่อให้เพิกถอนการประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองสว. 200 คนและขอให้ศาลสั่งให้มีการเปิดหีบบัตรนับคะแนนใหม่เพื่อตรวจสอบการเชื่อมโยงของโพยกับบัตรลงคะแนน และพิจารณาตัดสิทธิ์ผู้ที่ได้คะแนนลำดับสูงและผู้ที่ได้คะแนนมาโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม
ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งตรวจคำฟ้องแล้ว คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องโดยสรุปว่าโจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านต่อเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2567 เกี่ยวกับการเลือก สว.ว่าไม่โปร่งใสและบริสุทธิ์ยุติธรรม เพราะมีการรวมกลุ่มกันของผู้สมัครบางคนและบางกลุ่ม เพื่อให้มีการลงคะแนแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ในลักษณะฮั้วกัน โดยมีผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังการกระทำดังกล่าว ซึ่งหากศาลฎีกาสั่งให้มีการเปิดหีบเลือกตั้งและ นับคะแนนใหม่โดยใช้ระบบเครื่องมือกลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงความไม่ชอบมาพากลดังกล่าว และมีคำขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนประกาศผู้อำนวยการการเลือการเลือก ระดับประเทศ เรื่อง ผลการนับคะแนในการลงคะแนนเลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกันลงวันที่ 27 มิ.ย.2567 ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือก สว.ลงวันที่ 10 ก.ค.2568 และเพิกถอนสิทธิผู้สมัครรับเลือกซึ่งได้คะแนนในลำดับที่ 1-6ทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มที่ 14 นั้น
@โจทก์ฟ้องซ้ำ หลังศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาคดีเดียวกันไปแล้ว
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับนายประหยัด เสนวิรัช เคยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 (กกต.) ต่อศาลฎีกาอ้างว่า การเลือกสว.ไม่โปร่งใสและไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม เพราะมีการรวมกลุ่มกันของผู้สมัครบางคนและบางกลุ่มเพื่อให้มีการลงคะแนแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในลักษณะฮั้วกันโดยมีผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังกระทำการดังกล่าวซึ่งหากศาลฎีกาสั่งให้มีการเปิดหีบและนับคะแนนใหม่โดยใช้ระบบเครื่องมือกลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงความไม่ชอบมาพากลดังกล่าวและมีคำขอให้ศาลฎีภามีคำสั่งชะลอการประกาศรับรองผู้สมัครที่ได้รับเลือกทุกกลุ่มไว้ก่อน และให้จำเลยที่ 2 ทำการนับคะแนนใหม่โดยใช้เครื่องมือกลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์
ศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยเห็นว่าตามคำฟ้องของโจทก์ไม่เข้ากรณีที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลฎีกาตามพระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2561 มาตรา 44 เมื่อศาลฎีกา มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 กับพวก เนื่องจากไม่มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลฎีกาได้โดยตรงแล้วดังกล่าว การที่โจทก์ที่1 ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ต่อศาลฎีกาโดยยกข้ออ้างเช่นเดียวกับคำฟ้องในคดีเดิมซึ่งศาลฎีกา ได้มีคำสั่งไปแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาและวินิจฉัย คดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือก การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก และการเพิกถอนสิทธิสมัคร รับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้งในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ข้อ 5 วรรรคสอง โจทก์ที่ 1จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
@อำนาจยื่นฟ้องเป็นของ กกต. ผู้สมัครไม่มีสิทธิ์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 3แม้จะไม่ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แต่เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งมีประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง ผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2567 แล้ว หากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่นอันทำให้การเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ย่อมเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสังให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น อันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาพผู้นั้นสิ้นลง หรือหากความปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะส่งรื่องใปยังศาลรัฐธฐรรมนูเพื่อเพื่อวินิจฉัยตาม พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 62,63แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ผู้สมัครหรือผู้ใดมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาได้โดยตรงเพื่อให้มีคำสั่งตามที่โจทก์ที่ 2,3มีคำขอ โจทก์ที่ 2,3จึงไม่มีสิทธิยื่นคำฟ้องต่อศาลฎีกา
ส่วนที่โจทก์ที่ 2,3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาและคำร้องขอไต่ส่วนลูกเฉินตามคำร้องเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยเสร็จสิ้นมาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ต้องสั่งคำร้องดังกล่าวอีกจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง
@เตรียมร้องศาลรธน.-ปปป.เอาผิด กกต.
ต่อมาที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ กลุ่มผู้ร้องได้จัดเเถลงข่าว พล.ต.ท.คำรบ กล่าวว่า การกระทำของกกต.ก็ต้องขัดต่อกฎหมายโดยสิ้นเชิง ในฐานะผู้สมัครเลือกตั้งสว. ถึงส่งตนกับพวกมาเป็นผู้แทนในการฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งโดยก่อนหน้านี้ฟ้องไปแล้วครั้งหนึ่งแต่ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากศาลบอกว่ายังไม่มีอำนาจเนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการของกกต. อยู่
แต่เมื่อกกต. มีคำสั่งรับรองสว. แล้ว ก็ใช้สิทธิในการยื่นต่อศาล โดยยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายใน3วัน ในวันที่กกต. ดำเนินการขัดต่อกฎหมาย ซึ่งวันนี้ศาลฎีกามีคำสั่งว่าพิจารณาแล้วเห็นว่า ตอนในฐานะโจทก์ที่ 1เคยฟ้องมาแล้วจึงเป็นฟ้องซ้ำ ประเด็นโจทก์ที่ 2-3 ไม่มีอำนาจเนื่องจากเป็นอำนาจของ กกต.
ในส่วนตัวมองว่ามาตรา 44 ที่ให้สิทธิของผู้สมัครที่ร้องคัดค้านต่อศาลฎีกา แต่พอมาลองยื่นฟ้องกลายเป็นว่าเราไม่มีอำนาจ ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปขอหารือกับผู้สมัครอื่นๆก่อน
ก่อนหน้านี้เคยยื่นฟ้องศาลปกครองเเละวันนี้ฟ้องศาลฎีกาฯมาเเล้ว ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ เราเตรียมการที่จะยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและรัฐสภาเพื่อยื่นต่อถึงศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนคดีอาญาเราเเจ้งความดำเนินคดีต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปป.) โดยเเจ้งความ กกต. 5 คนเเละ เลขาฯ กกต.1 คนอีก2 คนเราดำเนินคดีเพราะทำหน้าที่ถูกต้องโดยยื่นร้องเมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา ในส่วนการฟ้องตรงเราก็ดูๆไว้ เเต่เน้นหลักเลยคือเราจะร้องผู้ตรวจการเเผ่นดินก่อน เพราะเรื่อง สว.เป็นเรื่องใหญ่ เราได้เตรียมเอกสารพยานหลักฐานที่ระบุถึงการเลือกตั้งที่ผ่านมามีการเลือกตามโพยไว้เเล้ว
นาย จิรัฏฐ์ บทเรียนที่เราฟ้องไม่ถูกศาลหลายๆคำร้อง วันนี้ เราได้ทราบเป็นบทเรียนจะยังไม่ถอยก็จะหาทางดำเนินการต่อไป กลุ่มเราไม่ได้มาขอการเลือกตั้งโมฆะเเต่ สว.ตำเเหน่งสูงเราต้องการคนคุณภาพ ถ้าได้มาไม่เที่ยงธรรมก็ไม่สมควร ในครั้งนี้มันมีคนดีอยู่ด้วย คนไหนไม่ดีได้มาไม่เที่ยงธรรมเราก็ร้อง
ที่มาภาพปก: วิกิพีเดีย