เผยมติ ป.ป.ช.ตีตกคดี 'สวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี' อดีตผู้ว่าฯ ตาก-พวก ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจัดทำโครงการก่อสร้าง ล่วงล้ำลำน้ำหาดทรายทอง-พ่วงใช้จ่ายเงินงบประมาณมิชอบ หลังพิจารณาสำนวนไต่สวนเบื้องต้น ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าได้กระทำความผิด ไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.เสียงเอกฉันท์ตีตกข้อกล่าวหานายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตาก และพวก คือ นายสมชัย หรือสมชัยฐ์ หทยะตันติ หรือหทยะตันย์ติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายณรงค์ อินทโชติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการชลประทานตาก ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในการจัดทำโครงการก่อสร้าง หรือปลูกสร้างสิ่งอื่นใด โดยล่วงล้ำลำน้ำ (หาดทรายทอง) เป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ริมแม่น้ำปิงฝั่งขวา ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยมิชอบ
หลังพิจารณาสำนวนไต่สวนเบื้องต้น ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
สำนักงาน ป.ป.ช. ระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำผิดโดยสรุป 2 ประเด็น คือ
(1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการปลูกสร้างหาดทรายทองล่วงล้ำลำน้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า, หรือขุดลอก แก้ไข หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงร่องน้ำทางเดินเรือ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบหรือทะเลภายในน่านน้ำไทยโดยไม่ได้รับ อนุญาตจากกรมเจ้าท่า, หรือบุกรุกที่สาธารณประโยชน์อันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า (สร้างหาดทราย)
(2) ใช้จ่ายเงินงบประมาณปลูกสร้างหาดทรายทองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าอันเป็น การใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยมิชอบ (ของบประมาณสร้างหาดทราย)
ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีดังนี้
1. สถานที่เกิดเหตุอยู่ติดกับที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ตก.77 (37281) ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก พื้นที่บริเวณดังกล่าวได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก พ.ศ. 2537 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 114 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2517 หน้า 311 - 313 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่า ที่ดินริมแม่น้ำปิง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 322 ไร่ 1 งาน 46 ตารางวา อันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินที่พลเมืองใช้เป็นทางสัญจรร่วมกันนั้น มีสภาพตื้นเขินเนื่องจากทางเดินของน้ำได้เปลี่ยนไป พลเมือง เลิกใช้เป็นทางสัญจรแล้ว สมควรถอนสภาพที่ดินดังกล่าวจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพื่อนำไปพัฒนาจังหวัดตากตามโครงการพัฒนาภาคเหนือ พื้นที่ราชพัสดุแปลงนี้อยู่ติดกับหาดทรายทอง ต่อมาได้มีการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ตก.37 (37281) ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เนื้อที่ 343 - 1 - 11 ไร่ การได้มา การถอนสภาพที่ดินบริเวณ ริมแม่น้ำปิง มาเป็นของรัฐตามราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษเล่ม 91 ตอนที่ 114 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2517 หน้า 313 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้เป็นที่ราชพัสดุและได้ออกเอกสารหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ตก 1361 ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 375 - 1 - 15 ไร่ อยู่ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลัง (เพื่อประโยชน์เป็นศูนย์ราชการจังหวัดตาก ฝั่งตะวันตก) ออกให้ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2546 โดยได้มีการแก้ไขตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ที่ 344/2552 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 เนื้อที่ประมาณ 358 - 1 - 88 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตื้นเขินมาก่อนแม้ภายหลังจะได้มีการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุแล้วก็ตาม พื้นที่บริเวณดังกล่าวก็ยังคงเกิดจากการตื้นเขินจนมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่าหาดทรายทองตั้งอยู่ในแม่น้ำปิงระหว่างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 211 ปี ที่บ้านป่ามะม่วง หมู่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดตาก ระยะทาง 1,511 เมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า
เมื่อ พ.ศ. 2541 รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีความร่วมมือกันระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่เป็นคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ หรือเรียกโดยย่อว่า กรอ. กลุ่มอันดามันพัฒนา เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ กลุ่มอันดามันในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2540 สำนักงาน กพร. ได้นำแนวความคิดดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดให้มีกลุ่มจังหวัดเพื่อบริหารงานแบบบูรณาการโดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์และกำหนดทิศทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรและร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงมหาดไทยได้จัดแบ่งกลุ่ม กรอ. จังหวัด เพื่อที่จะให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ในระดับจังหวัด ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้เสนอให้มี พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 พร้อมกับนำแนวความคิด กรอ. กลุ่มจังหวัดมาดัดแปลงเป็นการพัฒนากลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดและคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 และวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 โดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดควบคู่ไปกับ การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด และเห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มจังหวัดรวม 19 กลุ่มจังหวัด โดยจังหวัดตากอยู่ใน กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 โดยการดำเนินการต่าง ๆ จะเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 ส่วนการใช้งบประมาณของกลุ่มจังหวัดนั้นเป็นไปตามข้อ 23 ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างของจังหวัดแบบบูรณาการกำหนดให้ส่วนราชการมอบอำนาจการจัดซื้อจัดจ้างให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดลงไปถึงหัวหน้าหน่วยงานดำเนินการ
2. ในระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2547 รัฐบาลได้มีนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารงานภายในจังหวัดโดยบริหารจัดการคน งบประมาณ แบบเบ็ดเสร็จ และบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภายในจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยเรียกว่า "ผู้ว่าซีอีโอ" (CEO) และกระทรวงมหาดไทยได้มีการตั้งกลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดขึ้น โดยแบ่งกลุ่มจังหวัดตามภูมิภาคในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งจังหวัดตากอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการหารือกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกันและให้มีการพัฒนากลุ่มจังหวัดไปในทิศทางเดียวกันและมีความเชื่อมโยงกัน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคเหนือตอนล่างมีแผนในการพัฒนาและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง เป็นต้น โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้จัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์จังหวัด ทั้งนี้ การของบประมาณจังหวัดจะต้องเสนองบประมาณต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาอนุมัติ และก่อนเสนอของบประมาณจะต้องมีการประชุมหารือกันในกลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อกำหนดแผนพัฒนาจังหวัดและจัดทำโครงการไปในทิศทางเดียวกันด้วย
3. นายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1) ได้เสนอต่อที่ประชุมกลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดพิษณุโลกว่า จังหวัดตากโครงการที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดเดิมที่มีอยู่แล้วให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีกว่าเดิม ซึ่งจังหวัดตากมีแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่เรียกชื่อว่า "หาดทรายทอง" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงอันเกิดจากการทับถมของตะกอนทรายละเอียดสีขาวสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวขนาดเล็ก แต่มีประชาชนมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยนายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ได้มอบหมายให้โครงการชลประทานตากซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการขุดลอกปรับแต่งร่องน้ำในทางน้ำชลประทานเป็นผู้ดำเนินการขุดลอกดินทรายในแม่น้ำปิงมาถมที่บริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำปิงมีชื่อเรียกว่าหาดทรายทอง เพื่อสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดตาก ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของจังหวัดตากและกลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งโครงการก่อสร้างหาดทรายเทียมริมแม่น้ำปิงฝั่งขวาได้รับอนุมัติโครงการและงบประมาณเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547
4. โครงการชลประทานตาก โดยนายณรงค์ อินทโชติ หัวหน้าโครงการชลประทานตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 เป็นหน่วยดำเนินการและใช้งบประมาณในการสร้างหาดทรายเทียมซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านป่ามะม่วง หมู่ที่ 2 ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เนื่องจากโครงการชลประทานตากพิจารณาข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกรมชลประทานแล้วเห็นว่า พื้นที่บริเวณหาดทรายทองอยู่ในเขตพื้นที่ทางน้ำชลประทานซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการชลประทานตาก ตามประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดทางน้ำชลประทานตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2515 ออกโดยอาศัยตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 และบัญชีทางน้ำชลประทานโครงการชลประทานเขื่อนภูมิพล รวมทั้งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดทางน้ำชลประทานตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2543 และบัญชีทางน้ำชลประทานโครงการชลประทานตาก โดยกำหนดให้แม่น้ำปิง บริเวณเริ่มจากศูนย์กลางเขื่อนภูมิพล ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ไปทางเหนือเขื่อนมีระยะทาง 6.111 กิโลเมตร ไปทางใต้เขื่อนมีระยะทาง 7.111 กิโลเมตร ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นทางน้ำชลประทานประเภท 4 และกำหนดให้แม่น้ำปิง ความยาว 75.1111 กิโลเมตร เริ่มจากกิโลเมตรที่ 7.111 ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ถึงกิโลเมตรที่ 82.111 ฝั่งซ้าย ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ฝั่งขวา ตำบลเชียงของ กิ่งอำเภอวังเจ้า อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นทางน้ำชลประทานประเภท 4
โครงการชลประทานตากได้พิจารณาข้อกฎหมายและมีความเห็นว่า ข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการชลประทาน พุทธศักราช 2485 มาตรา 15 บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน อธิบดีมีอำนาจดังต่อไปนี้... (2) ขุดลอก ซ่อมหรือดัดแปลงแก้ไขทางน้ำชลประทาน หรือจัดให้มีสิ่งก่อสร้างขึ้นในทางน้ำชลประทาน..." และตามพระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "การชลประทาน" หมายความว่า กิจการที่ กรมชลประทานจัดทำขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำหรือเพื่อกัก เก็บ รักษา ควบคุม ส่ง ระบายหรือแบ่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม และให้หมายความรวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ กับรวมถึงการคมนาคมทางน้ำซึ่งอยู่ในเขตชลประทานด้วย โดยการท่องเที่ยว ถือเป็น "การอุตสาหกรรม" อย่างหนึ่งด้วย
เมื่อโครงการชลประทานตากได้พิจารณาบริเวณพื้นที่ทางน้ำชลประทานประเภท 4 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการชลประทานตากดังกล่าว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานตากจึงมีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการขุดลอก ซ่อม หรือดัดแปลงแก้ไขทางน้ำชลประทาน ตามมาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 และโครงการชลประทานตากเป็นหน่วยงานย่อยภายใต้สังกัดของสำนักชลประทานที่ 4 ตามคำสั่งแบ่งส่วนราชการภายในของกรมชลประทาน ผู้อำนวยการชลประทานตากจึงมีอำนาจหน้าที่ตามภารกิจที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 ข้อ 2 ประกอบข้อ 3 อาทิ ดำเนินการเกี่ยวกับการกัก เก็บ รักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือแบ่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การสาธารณูปโภค การอุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ ติดตามและประเมินความปลอดภัยของเขื่อน รวมทั้งการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำภายในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ, แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและป้องกันบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ, ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ในการดำเนินการที่ผ่านมาของกรมชลประทาน โครงการชลประทานในพื้นที่ซึ่งรับผิดชอบทางน้ำชลประทานตามประกาศฯ ดังกล่าวก็ได้ใช้อำนาจตามที่กล่าวมาข้างต้นในการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบเสมอมา
สถานที่ดำเนินโครงการสร้างหาดทรายเทียมริมแม่น้ำปิงฝั่งขวา ตามยุทธศาสตร์จังหวัด ด้านพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ระหว่างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสะพานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 211 ปี (สะพานแขวน) ก่อนดำเนินโครงการมีสภาพตื้นเขินจากตะกอนทรายไหลทับถม จนเกิดการตื้นเขินจนเกิดเป็นเกาะกลางแม่น้ำเป็นผลให้เกิดการกีดขวางและกีดกั้นการไหลของน้ำที่ระบายมาจากเขื่อนภูมิพลเป็นผลให้ประสิทธิภาพในการส่งน้ำจากเขื่อนภูมิพลลดลงและไม่เป็นไปตามแผนการใช้น้ำที่วางไว้
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะทำให้เกิดเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำวังทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำริมตลิ่งเกิดน้ำท่วม โครงการชลประทานตากพิจารณาเกณฑ์อำนาจหน้าที่แล้วสามารถดำเนินการขุดลอกเพื่อการส่งระบายหรือแบ่งน้ำเพื่อการสาธารณูปโภคและเพื่อการอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ซึ่งโครงการชลประทานตากมีความประสงค์จะขุดลอก ปรับแต่งทางน้ำ ปรับแต่งตลิ่งและทัศนียภาพมาตั้งแต่แต่ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ หากมีงบประมาณโครงการชลประทานตากก็จะขุดลอกตามอำนาจหน้าที่ในตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2456 มาตรา 4, 15, และ 19 ได้และเททิ้งมูลดินในที่ดินที่ได้จากการขุดลอกในบริเวณใกล้เคียงได้ตามความจำเป็น
5. วันที่ 26 มกราคม 2547 โครงการชลประทานตาก สำนักชลประทานที่4 โดยนายณรงค์ อินทโชติ หัวหน้าโครงการชลประทานตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ได้มีบันทึก ที่ กษ 1313.18/115 เรื่อง ขอส่งประมาณการงานโครงการสร้างหาดทรายเทียมริมแม่น้ำปิงฝั่งขวา เสนอตามสายงานบังคับบัญชาไป ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรมบริหาร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 4 และผู้อำนวยการส่วนจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา พร้อมเอกสาร ดังนี้
(1) คำชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ปีงบประมาณ 2547 "งานโครงการสร้างหาดทรายเทียมริมแม่น้ำปิงฝั่งขวา" วัตถุประสงค์ "เพื่อจะได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้สวยงาม" วิธีดำเนินการ "ขุดลอก พร้อมดำเนินการทำหาดทรายริมแม่น้ำปิงฝั่งขวา" ประโยชน์ที่ได้รับ " ใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอตาก" เงินงบประมาณ "5,111,111 บาท" วิธีดำเนินการ "ดำเนินการเอง" จัดทำโดย นายชลประทาน 6
(2) แบบประมาณการ ช.ป. 325 ระบุรายละเอียดที่มาโครงการ
(3) ตารางรายการคำนวณ ปริมาณงาน
(4) ตารางอัตราราคางาน
(5) ผังบริเวณ
(6) รูปตัดลำน้ำ
(7) คำสั่งกรมชลประทาน ที่ ช.1156/2546 ลงวันที่ 5 กันยายน 2546 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลเป็นเจ้าพนักงาน
(8) คำสั่งกรมชลประทาน ที่ ช.1531/2546 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2546 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นเจ้าพนักงาน
(9) คำสั่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ 498/2546 เรื่อง มอบอำนาจ "เจ้าท่า" ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่าน้ำไทย
เอกสารแสดงรายการกิจกรรมประกอบไปด้วย
(1) กิจกรรมงานดำเนินการเอง (โดยเรือขุด) จำนวน 3,855,611 บาท (สามล้านแปดแสนห้าหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน)
(2) กิจการรมงานดำเนินการเอง (ค่าอำนวยการและค่าดำเนินการ) จำนวน 996,292.71 บาท (เก้าแสนเก้าหมื่นหกพันสองร้อยเก้าสิบสองบาทเจ็ดสิบสตางค์)
รวมมูลค่างานที่ทำ (1) + (2)
จำนวน 5,115,234.11 บาท ขอกำหนดเพียง 5,111,111 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)
6. วันที่ 29 มกราคม 2547 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 1213.2/ว 355 ลงวันที่ 29 มกราคม 2547 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เพื่อแจ้งว่าสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ส่งรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดและสำเนาใบอนุมัติเงินประจำงวดเลขที่ส่งออก 1413 ลงวันที่ 28 มกราคม 2547 จำนวนเงิน 27,929,111 บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านเก้าแสนสองหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามโครงการต่อไป โดยโครงการสร้างหาดทรายเทียมแม่น้ำปิงขวา ลำดับที่ 11 จำนวนเงินเบิกจ่าย ในลักษณะงบลงทุนจำนวน 5,111,111 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)
7. วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 ส่วนจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา สำนักชลประทานที่ 4 ได้ทำบันทึกที่ กษ 1313.18/31 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 เรื่อง อนุมัติประมาณการตามแผนงานยุทธ์ศาสตร์จังหวัดของโครงการชลประทานตาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เสนอตามสายงานบังคับบัญชาไปยังผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรมบริหาร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 4 ผ่านหัวหน้าฝ่ายแผนงานและงบประมาณด้านการจัดสรรน้ำ และผู้อำนวยการส่วนจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา มูลค่าโครงการ 5,111,111 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ถึงวันที่ 31 กันยายน 2547
8. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดตาก ได้มีหนังสือ ที่ ตก 1116.2/ว 2246 เรื่อง การจัดสรรงบประมาณ (งบกลาง) โดยนายสมชัย หทยะตันติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 แจ้งไปยังนายณรงค์ อินทโชติ หัวหน้าโครงการชลประทานตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 เพื่อดำเนินงานตามโครงการและเบิกจ่ายภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 5,111,111 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)
9. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 นายณรงค์ อินทโชติ หัวหน้าโครงการชลประทานตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ได้มีบันทึกโครงการชลประทานตาก ที่ กษ 1313.18/- เรื่อง ขออนุมัติประมาณการโครงการหาดทรายเทียม ริมแม่น้ำปิงฝั่งขวา เสนอไปยังนายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เพื่อพิจารณาอนุมัติประมาณการโครงการสร้างหาดทรายเทียมริมแม่น้ำปิงฝั่งขวา ซึ่งรับรองว่าได้ตรวจสอบและผ่านความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 4 และได้รับอนุมัติในวันเดียวกัน
11. วันที่ 25 มีนาคม 2547 นายณรงค์ อินทโชติ หัวหน้าโครงการชลประทานตาก ผู้ถูกกล่าวหา ที่ 3 ได้มีหนังสือโครงการชลประทานตาก ที่ กษ 1313.18/434 เรื่อง ขออนุมัติโครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์จังหวัด ปี 2547 เสนอตามสายงานไปยังนายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ราชการจังหวัดตาก
วันที่ 26 มีนาคม 2547 ผ่านนายสมชัย หทยะตันติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ได้พิจารณาลงนามต่อท้ายบันทึกดังกล่าวแล้วเสนอไปยังนายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ซึ่งได้พิจารณาอนุมัติให้โครงการชลประทานตาก โดยนายณรงค์ อินทโชติ หัวหน้าโครงการชลประทานตาก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ดำเนินการก่อสร้างหาดทรายเทียมริมปม่น้ำปิงฝั่งขวา ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตามยุทธศาสตร์จังหวัด ด้านพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงินงบประมาณ 5,111,111 บาท ตามที่ได้ขอจัดสรรงบประมาณไว้ และได้มีการดำเนินการก่อสร้างจนเกิดเรื่องกล่าวหาในคดีนี้
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนนเสียง 5 เสียง เห็นว่า จากการไต่สวนเบื้องต้น ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่า นายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นายสมชัย หรือสมชัยฐ์ หทยะตันติ หรือหทยะตันย์ติ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และนายณรงค์ อินทโชติ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 กระทำการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจึงยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่า ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป