ไม่ใช่แค่ชาวอินเดีย ! ปปง.ยึดเงินบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นขนเข้าประเทศ 2 คดี 25 ล้านเยน หลัง จนท.ศุลกากรตรวจพบซุกในกระเป๋าหิ้วเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ยึดทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว บุคคลสัญชาติอินเดีย ขนเงินสดเข้าประเทศ ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้ามาทางช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) โดยไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ เชื่อว่ามีเจตนาจะลักลอบนำพันธบัตรดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร จำนวน 6 คดี คิดเป็นเงินไทยประมาณ 14 ล้านบาท (เรื่องเกี่ยวข้อง: เปิด 6 คดี ปปง.ยึดทรัพย์ ‘คนสัญชาติอินเดีย’ ขนเงินสกุล ตปท.เข้าไทย 14 ล.)
ล่าสุด เป็นกรณีชาวญี่ปุ่นขนธนบัตรสกุลเงินเยนเข้าประเทศ 2 คดีรวม 25 ล้านเยน
1.คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 82 / 2567 ลงวันที่ 10 เม.ย.2567 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวราย MR.HIROAKI SHIMIZU อายุ 43 ปี สัญชาติญี่ปุ่น พันธบัตรสกุลเงินเยนรวมเป็นเงิน 5,000,000 เยน คิดเป็นสกุลเงินบาทไทย 1,241,200 บาท พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เป็นผู้โดยสายสายการบิน ALL NIPPON AIRWAYS เดินทางจากมากรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ธนบัตรสกุลเงินเยน ฉบับละ 10,000 เยน จำนวน 500 ฉบับ ถูกเก็บในซองกระดาษสำหรับใส่ธนบัตร ปะปนกับสัมภาระส่วนตัว ในกระเป๋าสะพาย
2.คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 87 / 2567 ลงวันที่ 10 เม.ย.2567 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวราย MR. JUN KOBAYASHI อายุ 46 ปี สัญชาติญี่ปุ่น พันธบัตรสกุลเงินเยนรวมเป็นเงิน 20,000,000 เยน คิดเป็นสกุลเงินบาทไทย 5,062,200 บาท พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
รวมเป็นเงิน 25 ล้านเยน คิดเป็นสกุลเงินบาทไทย 6,303,400 บาท บุคคลทั้งสอง ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมได้ที่ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังจากเดินทางมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 ส.ค.2566 และ วันที่ 23 มิ.ย.2566 ตามลำดับ
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 87 / 2567 ยึดทรัพย์ ราย MR. JUN KOBAYASHI มีรายละเอียดดังนี้
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการพอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามหนังสือที่ กค 1515(ส)/525 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เรื่อง รายงานการจับกุมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 เจ้าหน้าที่ศุลกากรฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร จับกุม MR. JUN KOBAYASHI อายุ 46 ปี สัญชาติญี่ปุ่น ถือหนังสือเดินทางประเทศญี่ปุ่น เลขที่ TT 1270045 พร้อมของกลางธนบัตรสกุลเงินเยน ฉบับละ 10,000 เยน 2,000 ฉบับ รวมเป็นเงิน 20,000,000 เยน แจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานส่งหรือนำเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือ ออกไปนอกหรือนำเข้ามาในประเทศ โดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือนั้นต่อพนักงานศุลกากร และความผิดฐานนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง
เจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดธนบัตรทั้งหมดไว้เป็นของกลาง และควบคุมตัว MR. JUN KOBAYASHI ส่งฝ่ายคดี ส่วนบริการภาษีอากร สำนักงานศุลกากรของผู้โดยสารท่อากาศยานสุวรรณภูมิ ดำเนินการ เหตุเกิด ณ ช่องตรวจศุลกากรไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) ทางออก B อาคารผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (7) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2540 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า MR. JUN KOBAYASHI กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 8/2566 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 531/2566 ลงวันที่ 4 กันยายน 2566 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ราย MR. JUN KOBAYASHI กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว
ปรากฎหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า MR. JUN KOBAYASHI กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (7) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งจากการรวบรวมพยานหลักฐาน
ปรากฎว่าบุคคลดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 1 รายการ พร้อมดอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้เป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินสด อันเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง สามารถปกปิด ซ่อนเร้น หรือโอนเปลี่ยนมือได้โดยง่าย หากมิได้มีการออกคำสั่งให้ยัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว
เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดำเนินการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินตังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของเผ่นดิน สำนักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควร เชื่อได้ว่า MR. JUN KOBAYASHI กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุมครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 256ย และระเบียบจณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่องการตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการพอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว จำนวน 1 รายการ พร้อมดอกผล คือ ธนบัตรสกุลเงินเยน ฉบับละ 10,000 เยน จำนวน 2,000 ฉบับ รามเป็นเงิน 20,000,000 เยน คิดเป็นเงินสกุลบาทไทย 5,062,200 บาท (ห้าล้านหกหมื่นสองพันสองร้อยบาทล้วน) อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ของ MR. JUN KOBAYASHI มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2567
สั่ง ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567