เปิดคำสั่ง ปปง. ยึดทรัพย์คดีบุคคลสัญชาติอินเดียนำเงินสกุลต่างชาติ เข้าไทยช่องสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร 6 ราย มูลค่ากว่า 14 ล้าน บาท พบบางรายซุกซ่อนในช่องลับ กล่องผงเครื่องเทศ กระเป๋ากางเกง สารพัด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) มีคำสั่งยึดทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว บุคคลสัญชาติอินเดีย ขนเงินสดเข้าประเทศ ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้ามาทางช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) โดยไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ เชื่อว่ามีเจตนาจะลักลอบนำพันธบัตรดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร จำนวน 6 คดี คิดเป็นเงินไทยประมาณ 14 ล้านบาท ได้แก่
1.ราย MR. PRADEEP ATHIYARATH RAMAN บุคคลสัญชาติอินเดีย เดินทางจากเมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ามาในราชอาณาจักรไทย ณ ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้นำธนบัตรสกุลดอลลาร์สหรัฐฉบับละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ 30 ฉบับ รวมเป็นเงิน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินสกุลบาทไทย 1,048,269 บาท (คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย. 8/ 2567 ลงวันที่ 9 ม.ค.2567)
2. ราย MR.SYED SALMAN อายุ 25 ปี สัญชาติอินเดีย ของกลาง ธนบัตรทุกสกุลเงินต่างๆ จำนวน 7 รายการ คิดเป็นเงินสกุลบาทไทย 2,241,835.76 บาท (คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย. 9/ 2567 ลงวันที่ 9 ม.ค.2567)
3.ราย MR. PARVEEN KUMAR อายุ 37 ปี สัญชาติอินเดีย ธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฉบับละ 100 ดอลสาร์สหรัฐ 1,244 ฉบับ รวมเป็นเงิน 124,400 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินสกุลบาทไทย 4,277,481.56 บาท (คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 39 /2567 วันที่ 13 ก.พ.2567)
4.ราย MR. SATHAM HUSSAIN AKBAR อายุ 33 ปี สัญชาติอินเดีย ของกลางธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฉบับละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 800 ฉบับ รวมเป็นเงิน 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสกุลเงินบาท 2,750,792 บาท (คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 40 /2567 วันที่ 13 ก.พ.2567)
5. ราย MR. AJAY KUMAR CHAURSIA สัญชาติอินเดีย ธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฉบับละ 100 ดอลสาร์สหรัฐ 480 ฉบับ รวมเป็นเงิน 48,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสกุลเงินบาท 1,694,136 บาท (คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 41 /2567 วันที่ 13 ก.พ.2567)
6. ราย MR. MD WASIM สัญชาติอินเดียเดินทางมาจากเมืองมุมไบ สาธารณรัฐอินเดียเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฉบับละ 100 ดอลลาร์ 660 ฉบับ รวมเป็นเงิน 66,000 ดอลลาร์ คิดเป็นสกุลเงินบาท 2,284,141.20 บาท (คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย. 64 / 2567 วันที่ 12 มี.ค.2567)
ทั้ง 6 คดีมีรายละเอียดดังนี้
1.คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย. 8/ 2567 ลงวันที่ 9 ม.ค.256 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย MR. PRADEEP ATHIYARATH RAMAN
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามหนังสือที่ กค 0505(ส)/504 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เรื่อง รายงานการจับกุมเงินตราต่างประเทศและขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่สอบสวนผู้ต้องหา ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิตเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2566 เวลาประมาณ 03.45 นาฬิกา MR. PRADEEP ATHIYARATH RAMAN บุคคลสัญชาติอินเดีย เดินทางจากเมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ามาในราชอาณาจักรไทย ณ ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ใด้นำธนบัตรสกุลดอลลาร์สหรัฐฉบับละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ 30 ฉบับ รวมเป็นเงิน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินสกุลบาทไทย 1,048,269 บาท (หนึ่งล้านสี่หมื่นแปดพันสองร้อยหกสิบเก้าบาทถ้วน) อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 โดยธนบัตรทั้งหมดถูกซุกซ่อนในกระเป๋าเดินทางของ MR PRADEEP ATHIYARATH RAMAN ทั้งนี้ MR. PRADEEP ATHIYARATH RAMAN ไม่มีหลักฐานการสำแดงเงินตราโดยถูกต้องมาแสดงการนำเงินตราต่างประเทศจำนวนดังกล่าว
ซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว้าที่กฎหมายกำหนดเข้ามาทางช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) โดยไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ เชื่อว่ามีเจตนาจะลักลอบนำบัตรดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร เจ้าหน้าที่ศุลกากร จึงทำการตรวจยึดเงินสดจำนวนตังกล่าวการกระทำของ MR. PRADEEP ATHIYARATH RAMAN ถือเป็นการกระทำความผิดฐานส่งหรือนำเงินตราเงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือออกไปนอกหรือนำเข้ามาในประเทศ โดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือนั้น ต่อพนักงานศุลกากร อันเป็นการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง (ดูเอกสารคำสั่ง)
2. คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย. 9/ 2567 ลงวันที่ 9 ม.ค.2567 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย MR.SYED SALMAN
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามหนังสือที่ กค 0505(ส)/543 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566 เรื่อง รายงานการจับกุมเงินตราต่างประเทศ ราย MR.SYED SALMAN ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการสักลอบหนีตุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรกล่าวคือ
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลาประมาณ 06.25 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ศุลกากรฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจับกุม MR.SYED SALMAN อายุ 25 ปี สัญชาติอินเดีย ถือหนังสือเดินทางประเทศอินเดีย เลขที่ Rab4676450 ผู้โดยสารของสายการบิน THAI ARWAYS เที่ยวบิน TG326/27.07.66 เดินทางมาจากเมืองเบงคลูรู ประเทศอินเดีย ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
พร้อมของกลาง ธนบัตรเงินเรียลซาอุดีอาระเบีย ฉบับละ 500 เรียล 365 ฉบับ รวมเป็นเงิน 182,500 เรียล ธนบัตรสกุลเงินเรียลซาอุดีอาระเบีย ฉบับละ 200 เรียล 10 ฉบับ รวมเป็นเงิน 2,000 เรียล รวมเป็นเงินสกุลเรียลชาอุดีอาระเบีย ทั้งหมด 185,500 เรียล ธนบัตรสกุลเงินยูโร ฉบับละ 50 ยูโร 3 ฉบับ ธนบัตรสกุลเงินยูโร ฉบับละ 100 ยูโร 44 ฉบับ รวมเป็นเงิน 4,400 ยูโร ธนบัตรสกุลเงินยูโร ฉบับละ 50 ยูโร 1 ฉบับ รวมเป็นเงินสกุลยูโร ทั้งหมด 4,950 ยูโร ธนบัตร สกุลเงินเยน ฉบับละ 10,000 เยน 332 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1,320,000 เยน ธนบัตรสกุลเงินเยน ฉบับละ 5,000 เยน 3 ฉบับ รวมเป็นเงิน15,000 บาท รวมเป็นเงินธนบัตรสกุลเงินเยน ทั้งหมด 1,335,000 เยน รวมธนบัตรทุกสกุลเงิน จำนวน 7 รายการ คิดเป็นเงินสกุลบาทไทย 2,241,835.76 บาท (สองล้านสองแสนสี่หมื่นหนึ่งพันแปดร้อยสามสิบห้าบาทเจ็ดสิบหกสตางค์ (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2566)
โดยธนปัตรทั้งหมดถูกห่อด้วยผ้าสีดำและเก็บซุกช่อนอยู่ตามเสื้อผ้าซึ่งเก็บปะปนกับสัมภาระส่วนตัวในกระเป๋าเดินทางทรงอ่อน สีกรม ยี่ห้อ HOLIDAY USA ของ MR.SYED SALMAN เหตุเกิด ณ ช่องตรวจผู้โดยสารไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) ทางออก B อาคารผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ /ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงแจ้งให้ MRSYED SALMAN ทราบว่า ธนบัตรที่ตรวจพบ นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านพิธีศุลกากรโดยถูกต้อง และแจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานส่งหรือนำเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือออกไปนอกหรือนำเข้ามาในประเทศโดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตรา เงินตราต่างประเทศหรือตราสารเปลี่ยนมือนั้นต่อพนักงานศุลกากร (ดูเอกสารคำสั่ง)
3.คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 39 /2567 วันที่ 13 ก.พ.2567 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย MR. PARVEEN KUMAR
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง. ได้รับรายงานจากสำนักงานศุลกากรตราจของผู้โดยสาร ท่อากาศยานสุวรรณภูมิ ตามหนังสือที่ กค 0505(ส)/541 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566 เรื่อง รายงานการจับกุมเงินตราต่างประเทศ ราย MR. PARVEEN KUMAR เพื่อให้สำนักงาน ปปง. พิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์เห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศุลกากรฝ้ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากรสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จับกุม MR. PARVEEN KUMAR อายุ 37 ปี สัญชาติอินเดีย ถือหนังสือเดินทางสาธารณรัฐอินเดีย เลขที่ W9893101 ผู้โดยสารของสายการบิu Spice Jet เที่ยวบินที่ SG43/04.08.66 เดินทางมาจากเมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ถึงปลายทางทำอากาศยานสุวรรณภูมิราชอาณาจักรไทย เนื่องจากสงสัยว่าจะมีของที่ยังมิได้ชำระคำภาอากรของต้องกำกัดหรือของที่ยังมีได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรเก็บหรือซุกซ่อนอยู่
ผลการตรวจค้นพบ ธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฉบับละ 100 ดอลสาร์สหรัฐ 1,244 ฉบับ รวมเป็นเงิน 124,400 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรทั้งหมดถูกเก็บอยู่ในกางเกงยีนส์ขายาวซึ่งถูกเก็บปะปนกับสัมภาระส่วนตัวอื่น และธนบัตรอีกส่วนหนึ่งถูกพบอยู่ในกระเป๋าสะพายหลังสีน้ำเงิน ระบุยี่ห้อ CHECK POINT จำนวน 1 ใบ MR. PARVEEN KUMAR ไม่มีหลักฐานการสำแดงเงินตราโดยถูกต้องมาแสดง การนำเงินตราต่างประเทศจำนวนตังกล่าวซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้ามาทางช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) โดยไม่แจ้งและไม่สำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร น่าเชื่อว่ามีเจตนาจะลักลอบนำธนบัตรสกุลเงินตอลลาร์สหรัฐ 124,400 ดอลลาร์สหรัฐ เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร MR. PARVEEN KUMAR จึงกระทำความผิดฐานส่งหรือนำเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือออกไปนอกหรือนำเข้ามาในประเทศ โดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตรา เงินตราต่างประเทศหรือตราสารเปลี่ยนมือนั้นต่อพนักงานศุลกากร อันเป็นการฝ้าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง (ดูเอกสารคำสั่ง)
4. คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย. 40 /2567 ลงวันที่ 13 ก.พ.2567 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย MR. SATHAM HUSSAIN AKBAR
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามหนังสือที่ กค 0505(ส)/550 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2566 เรื่อง รายงานการจับกุมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลภากร กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566เจ้าหน้าที่ศุลกากรฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางสุลกากร สำนักงานศุสกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จับกุม MR. SATHAM HUSSAIN AKBAR อายุ 33 ปี สัญชาติอินเดีย ถือหนังสือเดินทางสาธารณรัฐอินเดีย เลขที่ Z3269796 เป็นผู้โดยสารของสายการบิน SCOOT เที่ยวบินที่ TR608/11.04.66 เดินทางมาจากเมืองโคอิมบะทอร์ สาธารณรัฐอินเดีย แวะเปลี่ยนเที่ยวบินที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ถึงปลายทางทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วยของกลางธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฉบับละ 100 ตอลลาร์สหรัฐ จำนวน 800 ฉบับ รวมเป็นเงิน 80,000 ดอลลาร์สหรัฐธนบัตร
ส่วนหนึ่งถูกเก็บปะปนกับสัมภาระส่วนตัวอื่น และธนบัตรอีกส่วนหนึ่งถูกซุกซ่อนอยู่ในช่องลับที่จัดทำขึ้นมาเป็นพิเศษในกระเป๋าสะพายหลัง สีดำ - เขียว ระบุยี่ห้อ AOKING ของ MR. SATHAM HUSSAIN AKBAR เหตุเกิด ณ ช่องตรวจผู้โดยสารไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) ทางออก B อาคารผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ MR. SATHAM. HUSSAIN AKBAR ไม่มีหลักฐานการสำแดงเงินตราโดยถูกต้องมาแสดง การที่นำเงินตราต่างประเทศจำนวนตังกล่าวที่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดโดยไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ประจำอยู่หน้าช่องตรวจผู้โดยสารดังกล่าว และไม่ไปสำแตงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
เชื่อได้ว่ามีเจตนาจะลักลอบนำธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง เจ้าหน้าที่ศุลกากรแจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานส่งหรือนำเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือ ออกไปนอกหรือนำเข้ามาในประเทศ โตยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือนั้นต่อพนักงานศุลกากร (ดูเอกสารคำสั่ง)
5. คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 41 /2567 วันที่ 13 ก.พ.2567 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย MR. AJAY KUMAR CHAURSIA
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามหนังสือที่ กค 0505(ส)/624 ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 เรื่อง รายงานการจับกุมเงินตราต่างประเทศ ราย MR. AJAY KUMAR CHAURSIAเพื่อให้สำนักงาน ปปง. พิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการสักลอยหนีตุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่สุลกากรฝ่ายสืบสวนและปราบปรามจับกุม MR. AJAY KUMAR CHAURSIA สัญชาติอินเดีย เดินทางมาจากเมืองมุมไบ สาธารณรัฐอินเดีย ถึงปลายทางทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ราชอาณาจักรไทย ผ่านการตรวจลงตราหนังสือเดินทางขาเข้าและรับกระเป๋าสัมภาระจากนั้น MR. AJAY KUMAR CHAURSIA เดินเข้ามาที่ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) ทางออก B มีข้อความภาษาอังกฤษว่า NOTHING TO DECLARE ซึ่งเป็นทางออกสำหรับผู้โดยสารที่มีเฉพาะของใช้ส่วนตัวไม่มีของต้องเสียภาษี หรือของต้องห้ามต้องกำกัด พร้อมสัมภาระและเงินตราที่ซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋า เจ้าหน้าที่ศุลกากรฝ่ายสืบสวนและปราบปรามจึงเรียกทำการตรวจค้นโดยการเอกซเรย์กระเป๋าสัมภาระและเปิดตรวจผลการตรวจค้นพบธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฉบับละ 100 ดอลสาร์สหรัฐ 480 ฉบับ รวมเป็นเงิน 48,000 ดอลลาร์สหรัฐ
โดยธนบัตรดังกล่าวท่อหุ้มด้วยกระดาษฟอยล์ สีเงิน ซุกช่อนในกล่องผงเครื่องเทศที่เตรียมขึ้นเป็นพิเศษ 5 กล่อง ๆ ละ 96 ฉบับ ถูกเก็บปะปนอยู่กับกล่องผงเครื่องเทศแบบเดียวกันและอาหารอื่น ๆ ในกระเป๋าเดินทางทรงอ่อน ของ MR. AIAY KUMAR CHAURSA เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจยึดเงินสดที่ตรวจพบ และแจ้งข้อกล่าวหาแก่ MR. AJAY KUMAR CHAURSIA ว่ากระทำความผิดฐานส่งหรือนำเงินตราเงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือออกไปนอกหรือนำเข้ามาในประเทศ โดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือนั้น ต่อพนักงานศุลกากร (ดูเอกสารคำสั่ง)
6. คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 64 / 2567 วันที่ 12 มี.ค.2567 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย MR. MD WASIM สัญชาติอินเดีย
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาสยานสุวรรณภูมิ ตามหนังสือที่ กค 0505(ส)/448 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2566 เรื่อง ร้ายงานการจับกุมเงินตราต่างประเทศ ราย MR. MD WASIM ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เจ้าหน้าที่ตุลกากรฝ่ายสืบสวนและปราบปรามส่วนควบคุมทางศุลกากร จับกุม MR. MD WASIM สัญชาติอินเดีย ซึ่งเดินทางมาจากเมืองมุมไบ สาธารณรัฐอินเดียเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่อากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเจ้าหน้าที่ทำการตรวจคันที่ภายในช่องตรวจไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (ช่องเขียว) ทางออก B อาคารผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ พบธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฉบับละ 100 ดอลลาร์ 660 ฉบับ รวมเป็นเงิน 66,000 ดอลลาร์ ถูกเก็บปะปนกับสัมภาระส่วนตัวอยู่ในกระเป๋าถือของ MR. MD WASIM โดยไม่ได้มีการสำแดงเงินสดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่ MR. MD WASIM ว่ากระทำความผิดฐานนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง ตามมาตรา 242 ประกอบมาตรา 166 มาตรา 167 และมาตรา 252 แห่งพระราชบัญญัติศลกากร พ.ศ. 2560 ความผิดฐานส่งหรือนำเงินตรา เงินตราต่างประเทศหรือตราสารเปลี่ยนมือออกหรือนำเข้ามาในประเทศ โดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตรา เงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือนั้นต่อพนักงานสุลกากร อันเป็นการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และควบคุมตัว MR. MD WASIM พร้อมของกลางส่งฝ่ายคดี ส่วนบริการภาษีอากร ดำเนินการตามกฎหมายอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (7) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า MR. MD WASIM กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ในการประชุม ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ. 2546 ประกอบกับคำสั่งเลซาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินลับ ที่ ม. 616/2566 ลงวันที่ 28 กันยายน 2566 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรม
หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ราย MR. MD WASIM กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฎหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า MR. MD WASIM กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (7) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน (ดูเอกสารคำสั่ง)
ทั้งนี้ ทั้ง 6 คดี ปปง.มีคำสั่งยึดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวเป็นเวลา 90 วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ