อธิบดีกรมบัญชีกลางยอมรับต้องปรับปรุงระบบหน้าเว็บกรมบัญชีกลางให้เข้าถึงง่ายขึ้น ขณะเลขาฯ ป.ป.ช. ยอมรับเปิดเผยผลไต่สวนหน้าเว็บ ป.ป.ช. ต้องคำนึงถึงตอนผู้ถูกไต่สวนฟ้องกลับด้วย แจงกำลังไต่สวนเหตุอควาเรียมสงขลาล่าช้า ยอมรับ ป.ป.ช.-กรมบัญชีกลางกำลังไม่พอ ต้องอาศัยภาคประชาชนช่วยรายงานข้อพิรุธ-แย้มตอนนี้ตรวจสอบข้อกล่าวหาค้ามนุษย์แรงงานไทยที่ฟินแลนด์โยง ขรก.ไทยแล้ว
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีการลงนามกันระหว่าง ป.ป.ช.และกรมบัญชีกลางในบันทึกความเข้าใจเรื่องการต่อต้านการทุจริตโดยมีผู้ลงนามได้แก่นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช. และ นางแพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง โดยหลังจากการลงนามแล้วได้มีการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว
นางแพริเซียกล่าวว่าภาระของกรมบัญชีกลางตอนนี้ต้องการเน้นให้มีการเบิกจ่ายให้ลงสู่ระบบเร็วที่สุด สิ่งที่กรมบัญชีกลางต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือเรื่องของการอุทธรณ์ ตอนนี้เราก็มีการตั้งทีมอุทธรณ์ในระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้นให้มาช่วยกลั่นกรองสําหรับโครงการที่มีมูลค่าไม่มากนักและไม่มีไม่มีความซับซ้อนยุ่งยากเพื่อที่จะเร่งให้ให้การอุทธรณ์ให้มันจบได้เร็วขึ้น และมีการตั้งทีมติดตามเป็นรายกระทรวงเพื่อให้เงินงบประมาณลงสู่ระบบเร็วที่สุด
เมื่อถามถึงการเข้าสู่ระบบกรมบัญชีกลางบนหน้าเว็บไซต์ว่าจะมีการเข้าถึงง่ายขึ้นหรือไม่ นางแพตริเซียกล่าวว่าเราก็อยู่ระหว่างการปรับปรุงหลายหลายด้าน จริงๆแล้วการดูข้อมูลของการจัดซื้อจัดจ้างนี้สามารถดูได้ในหลายๆที่ ดูได้จากระบบหน้าเว็บไซต์กรมบัญชีกลางเองเป็นต้น แต่ยอมรับค่ะการเข้าถึงข้อมูลหรือการค้นหา เรายังยังยากอยู่เพราะฉะนั้นเดี๋ยวกรมบัญชีกันอาจจะมีการปรับในเรื่องของการให้ยุสเซอร์ (ผู้ใช้งาน) เฟรนด์ลี่มากขึ้นโดยเน้นการเข้าถึงข้อมูลให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้นนอกจากนั้น
“เราก็จะมีการเพิ่มสแตนดาร์ดในการเปิดเผยข้อมูล ให้เป็นมาตรฐานสัดส่วนยิ่งขึ้นซึ่งในปีหน้า ปีงบประมาณ 2567 เราก็จะเคลื่อนกระบวนการปรับ ก็จะเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นเราก็จะเปิดโอกาสให้คนเอาข้อมูลไปใช้ได้เป็นโอเพ่นดาต้ามากยิ่งขึ้นโยนข้อมูลลงไปในถังแล้วให้ใครที่อยากจะเอาไปใช้ข้อมูลในมิติต่างๆนก็นำข้อมูลนี้ไปใช้ได้” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวและกล่าวว่าคาดว่าเรื่องนี้น่าจะสามารถเดินหน้าได้เลยในปีงบประมาณนี้
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวต่อไปว่าในอนาคตยกตัวอย่างเช่นโครงการก่อสร้างต่างๆก็คงมีการให้สแกนคิวอาร์โค๊ด แสกนดูก็จะสามารถเห็นในส่วนของรายละเอียดได้เลยว่ามีใครรับงานโครงการ เป็นอย่างไรบ้าง
เมื่อถามว่าในอนาคตจะมีการติดตามโครงการที่ใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็นอย่างเช่นโครงการอควาเรียมหอยสังข์ที่ จ.สงขลาอย่างไรบ้าง
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวว่าการล่าช้ามันอาจจะมีด้วยหลายสาเหตุ ตอนนี้ข้อมูลเท่าที่เราคิดว่ามี เราจะมีเฉพาะข้อมูลเบิกจ่าย ว่าเบิกจ่ายไปแล้วเท่าไหร่ แต่ว่าอุปสรรคจริงๆ อาจจะต้องให้มีการแจ้งเข้ามา เพราะฉะนั้นอาจจะต้องหาวิธีอื่นอาจจะเป็นหน่วยงานอื่นที่ผลักดันในเรื่องการแจ้งข้อมูลเข้ามา ส่วนกรมบัญชีกลางเน้นเรื่องการเบิกจ่าย เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้จากการเปิดเผยว่าโครงการนี้เบิกจ่ายไปแล้วเท่าไหร่ กี่เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นน่าจะเอาข้อมูลในเรื่องการเบิกจ่ายมาเปิดเผยแล้วก็ให้ภาคประชาชนหรือคนที่มีความสนใจในเรื่องนี้ เป็นแรงขับให้มีการเปิดเผยออกไปเปิดเผยด้วยเหตุผลว่าทําไมมันถึงช้าอาจจะเป็นเป็นหน่วยงานอื่นที่ดูแลตรงนี้
ขณะที่นายนิวิตัไชยกล่าวย้ำว่าความจริงแล้วการการทำ MOU กับทางกรมบัญชีกลางมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะเรื่องดาต้า ข้อมูลที่ต้องมีการเชื่อมต่อกันคือระบบกลไกของภาครัฐทุกระบบ มันก็ต้องมีความเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่เรื่องการจัดทํางบประมาณโดยสํานักงบประมาณ เมื่องบประมาณผ่าน ก็จะมีการจัดทําโครงการมีการตัดสินใจจัดซื้อจัดจ้าง เสร็จก็จะมีการเบิกจ่ายเงิน
“เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่มันถ่ายทอดลงไป ป.ป.ช. เองเราก็ต้องมีการรับข้อมูลดังกล่าวมาเพื่อมาตรวจสอบแล้วเตรียมการรวมทั้งกํากับดูแลและเฝ้าระวัง ว่า หนึ่งการที่ได้รับงบประมาณมาแล้ว มันใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพไหม มีการทุจริตเรื่องการจัดจ้างไหม เมื่ออจัดซื้อเสร็จแล้ว มีการเบิกจ่ายที่มันถูกต้องชอบหรือไม่ ซึ่งก็จะสัมพันธ์กับทางกรมบัญชีกลาง รวมทั้งงบประมาณด้วย ซึ่งเราจะคุยในภาพรวมกันอีกทีหนึ่ง ดังนั้นข้อมูลที่มันไหลมาทางระบบ มันดีกว่าเป็นเปเปอร์อยู่แล้วมันเกิดความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติงาน” เลขาธิการ ป.ป.ช.กล่าว
นายนิวัติไชยกล่าวต่อไปว่าวันนี้ป.ป.ช.เองก็มีอัตรากําลังจํากัด กรมบัญชีกลางก็มีอัตรากําลังจํากัด สิ่งที่เราต้องการคือภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและเอกชน ที่วันนี้ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย เหมือนกัลช่วยดูและเฝ้าระวังแต่การเข้าร่วมตรวจสอบ เฝ้าระวัง เขาก็ต้องใช้ข้อมูลเป็นแบ็คอัพ เขาจะได้รู้ว่าที่หน่วยงานนี้มีการจัดจ้างอะไรวงเงินงบประมาณเท่าไหร่จัดซื้อด้วยวิธีการอะไรใครได้เข้ามารับจ้างกับทางหน่วยงานของรัฐ ตรงนี้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ และในอนาคตประชาชนก็มีส่วนในการตรวจสอบได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับสื่อมวลชนซึ่งมีการเสนอข่าวมาเราก็พร้อมที่จะตรวจสอบ อย่างกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับข้าราชการมีส่วนรับผลประโยชน์จากแรงงานที่ไปประเทศฟินแลนด์ เราก็ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว
เลขาธิการ ป.ป.ช.กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีอความเรียมหอยสังข์ด้วยว่าความล่าช้ามันอาจเกี่ยวกับหลายขั้นตอน ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องการเบิกจ่ายเงินอย่างเดียว มันมีปัญหาอุปสรรคมาตั้งแต่หนึ่ง ไปตรวจพบการจัดทําโครงการที่มีการดําเนินโครงการแล้วเกี่ยวกับเรื่องการตรวจรับซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องไม่เป็นไปตามแบบ ซึ่งผู้บริหารในแต่ละยุคก็พยายามแก้ไขในเรื่องนี้ แต่แก้ปัญหาแบบกล้าๆกลัวๆ ไม่กล้าฟันธงทำให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่าย จนก่อสร้างดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
“เรื่องนี้ ป.ป.ช.กำลังอยู่ในระหว่างการไต่สวนและก็แจ้งข้อกล่าวหา รายละเอียดพอเราไต่สวนเสร็จ เราก็จะบอกได้ว่าปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้คืออะไร” นายนิวัติไชยกล่าว
เมื่อถามถึงเรื่องการชี้มูลที่ปรากฏบนหน้าเว็บ ป.ป.ช.ว่ายังอยู่ที่ปี 2563 อยู่ แต่ตอนนี้ปี 2567 แล้ว เลขาธิการ ป.ป.ช.กล่าวว่าความจริงแล้วก็มีการเปิดเผยข้อมูล แต่ข้อมูลที่ว่าน่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นเรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวน ซึ่งข้อมูลที่อยู่ระหว่างการไต่สวน มันมีประเด็นพอสมควร ว่าเวลาที่เขาฟ้อง ป.ป.ช.ว่าไปเปิดเผยชื่อ เปิดเผยนามสกุลเขา เขาได้รับผลกระทบ เขาได้รับความเสียหาย วันนี้ ป.ป.ช. เองก็ถูกฟ้องหลายคดีเนื่องจากมีการเปิดเผยข้อมูล กฎหมายเองก็บอกว่าให้เราเปิดเผยอะไรได้บ้างเราก็เปิดเผยไป
“แต่ต้องบอกว่ามันก็มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วันนี้ประเทศไทยมันมีหลายกฎหมายที่มันชนกันอยู่ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องพยายามเคลียร์ในจุดนี้ให้ได้ก่อน เป็นเรื่องความซับซ้อนของกฎหมาย แต่อย่างไรก็ดี ตอนนี้เราอยู่ระหว่างการปรับปรุงว่าจะว่าจะเอาข้อมูลอะไรบ้างใส่ลงไปให้พวกท่านได้ดูว่าเรื่องอะไรบ้างอยู่ระหว่างไต่สวน แต่ต้องคิดอีกมุมนึงว่าคนที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาเหมือนกับถูกประจานไหม เพราะอยู่ระหว่างการไต่สวนนั้นไม่ได้บอกว่าเขาผิด เพราะเขามีโอกาสต่อสู้ในชั้นศาลตั้ง 3 ศาลถึงที่สุด แต่วันนี้เราบอกเขาเป็นผู้ถูกกล่าวหาแล้วถ้าเกิดเขาไม่ผิดผมก็ไม่แน่ใจว่าใครจะมาร่วมรับผิดชอบกับ ป.ป.ช.ได้ไหม” นายนิวัติไชยกล่าวและย้ำว่าเรื่องนี้ก็ต้องมองกันสองมุม ซึ่งเราก็ต้องพยายามทำกลไกให้มีการตรวจสอบได้
เมื่อถามอธิบดีกรมบัญชีกลางเพิ่มเติมว่าในอนาคตจะมีโอกาสเปิดเผยถึงการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างไหมว่าทําไมคู่เทียบอันดับ2อันดับ 3 ทําไมเขาถึงไม่ผ่านการพิจารณาเขาติดตรงไหน
นางแพตริเซียกล่าวว่าการจัดซื้อจัดจ้างมีหลายแบบ มีประมูลราคาอย่างเดียวมี price performance คือดูทั้งราคาและเทคนิค
แต่ถามว่าการพิจารณาขององค์คณะจัดซื้อจัดจ้างต้องมาบอกรายละเอียดทั้งหมด ตรงนี้คิดว่าอาจจะเยอะไปนิดหนึ่ง แต่ว่าในการให้คะแนนแต่ละเรื่อง รายละเอียดต้องมีว่าคะแนนเป็นแบบไหน
“แต่ถามว่าทําไมคนนี้ได้ทําไมคนนี้ไม่ได้หรืออะไรแบบนี้บางทีมันอาจจะมีเรื่องของเทคนิคหรือความซับซ้อนอยู่แต่ในเรื่องของการอีบิดดิ้งนั้นชัดเจนในเรื่องราคาว่าใครได้ แล้วก็จากที่เราใช้ระบบใหม่เข้ามาแทน เราไม่มีปัญหาเรื่องข้อมูล ขายข้อมูล การฮั้วข้อมูลไม่มีแล้ว เพราะเราใช้ระบบที่ซ้อนกันจนมองไม่เห็นแล้วพอหมดเวลาปุ๊บ มันเห็นออกมาทันที” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว