'เดวิด คาเมรอน' รมว.กต.-อดีตนายกฯอังกฤษ จ่อเยือนไทยหารือความร่วมมือด้านความมั่นคง ด้าน กต.อังกฤษย้ำไทยมีบทบาทเรื่องเมียนมามาก จ่อเซ็นข้อตกลงความร่วมมือยุทธศาสตร์อังกฤษ-ไทย กับนายกฯเศรษฐา
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวสถานการณ์ต่างประเทศว่าอดีตนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอนของอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้เผยกำหนดการว่าจะเดินทางไปยังประเทศไทยเป็นที่แรกในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เพื่อที่จะกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้าและความมั่นคงกับกรุงเทพ
อนึ่งทางรัฐมนตรีประเทศอังกฤษจะได้มีการลงนามใน"แผนงานหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" ระหว่างสหราชอาณาจักรและไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านกลาโหม สุขภาพ และสภาพภูมิอากาศระหว่างสองประเทศ
นายคาเมรอนกล่าวว่าการทํางานกับกรุงเทพฯจะหมายถึง "ตำแหน่งงานและการเติบโตซึ่งจะกลับมาที่นี่" ในสหราชอาณาจักรโดยหลังจากเสร็จภารกิจที่กรุงเทพฯ เขาจะมุ่งหน้าไปยังออสเตรเลียเพื่อหารือความร่วมมือระดับรัฐมนตรีออสเตรเลีย-สหราชอาณาจักรต่อไป
สำนักกระทรวงต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่าประเทศไทยมีบทบาทสําคัญ "โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาสันติภาพและการปรองดองในเมียนมา และการปกป้องกฎหมายระหว่างประเทศและความร่วมมือระดับภูมิภาค"
ทางด้านนายคาเมรอนกล่าวว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นมหาอํานาจทางการค้า และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด การทํางานกับประเทศในภูมิภาคนี้หมายถึงการจ้างงานและการเติบโตซึ่งกลับมาที่สหราชอาณาจักร
“ประเทศไทยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนและเป็นผู้มีอิทธิพลทั่วทั้งภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เราจะทํางานร่วมกับพวกเขาต่อไปเพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลกที่มีร่วมกันซึ่งส่งผลกระทบต่อเราทุกคนรวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและภัยคุกคามต่อสุขภาพโลก” นายคาเมรอนกล่าว
โดยการเยือนประเทศไทยนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอังกฤษจะมีการเยี่ยมชมฐานทัพอากาศไทยเพื่อตรวจสอบเครื่องบินขับไล่ที่สร้างด้วยชิ้นส่วนประกองจากอังกฤษ คิดเป็นมูลค่ารวม 300 ล้านปอนด์ (13,771,058,907 บาท) สำหรับเศรษฐกิจอังกฤษ พร้อมกับเปิดตัวกองทุนมูลค่า 6 ล้านปอนด์ (275,439,122 บาท) เพื่อส่งเสริมการเติบโตสีเขียวในประเทศไทยรวมถึงการขนส่งที่ยั่งยืนและการกําหนดราคาคาร์บอน
นายคาเมรอนจะมีกำหนดการลงบันทึกข้อตกลงเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เรื่อง "แผนงานหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์สหราชอาณาจักร-ไทย" ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่าข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ "กระชับความสัมพันธ์ด้านกลาโหม สภาพภูมิอากาศและพลังงาน การค้าและการลงทุน การเกษตร ดิจิทัลและเทคโนโลยี สุขภาพและการศึกษา ก่อนวันครบรอบ 170 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและไทยในปีหน้า (2568)