ปปง.สั่งยึดอายัดทรัพย์238 รายการที่ดิน ห้องชุด 924.3 ล. คดี ‘ธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ’พวก หลอกแลกเปลี่ยนเงินตรา สกุลเงินบาทเป็นเงินหยวนให้ผลตอบแทนดี ถูกท้ายหายวับ ผู้เสียหาย 200 ราย พบประวัติถูกแจ้งดำเนินคดีฉ้อโกง 9 ท้องที่ในกรุงเทพฯ ตจว.
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 9 ม.ค.2567 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.)มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ย. 19/2567 เรื่อง ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวราย นางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ กับพวก จำนวน 238 รายการ มูลค่า 924,312,420.20 บาท พร้อมดอกผล ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา และความคิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ และความผิดเกี่ยวกับการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันโดยเป็นการจัดให้มีการเล่นการพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้เสียหาย 200 ราย มูลค่า 4,855,014 บาท บริษัท เทคคีย์ จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพบประวัติถูกจับกุมดำเนินคดีในหลายท้องที่
ทรัพย์สินที่ยึดและอายัดประกอบด้วยอสังหาริมทรัพย์ประเกทที่ดินตามโฉนดที่ดิน ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด สังหาริมทรัพย์ประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร และออมสิน ในชื่อบุคคลผู้ครอบครอง/ถือกรรมสิทธิ์เกือบสิบราย อาทิ นายปพนธีร์ ชมภูแก้ว นายธนาธิป วิวัฒนกิจเจริญ นายประเสริฐ สถิตเกษมศาสนต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ คำสั่งยึดและอายัดทรัพย์ระบุว่า
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ตามหนังสือที่ ตข 0026.95/3866 ลงวันที่ 1 กันยายน 2564 เรื่อง รายงานเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา และความคิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ และความผิดเกี่ยวกับการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันโดยเป็นการจัดให้มีการเล่นการพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือ
นางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ ได้โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชั่น Facebook ใช้ชื่อบัญชี Veerinphat Singtongwan และชมรม Taobac & 1688 ซึ่งเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับพ่อค้าแม่ค้า และรับเเลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทเป็นเงินสกุลเงินหยวน โดยจะให้อัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่าปกติ ทำให้กลุ่มผู้เสียหายหลงเชื่อ โดยในระยะแรกกลุ่มผู้เสียหายสามารถแลกเปลี่ยนได้แต่ต่อมาพบปัญหาและไม่สามารถติดต่อกับนางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ ได้ เป็นเหตุให้กลุ่มผู้เสียหายได้รับความเสียหายประมาณ 200 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 4,855,014 บาท
ต่อมา บริษัท เทคคีย์ จำกัด โดยนายวรพงศ์ ชุณหชัยชนะ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับไว้ เป็นคดีอาญาที่ 34/2564
และจากการตรวจสอบฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร พบว่านางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ มีประวัติถูกจับกุมดำเนินคดีในหลายท้องที่ ได้แก่ ท้องที่สถานีตำรวจนครบาลลำผักชี ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เลขคดีอาญาที่ 176/2564 ท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน เลขคดีอาญาที่ 503/2564 ท้องที่สถานีตำรวจนครบาลคันนายาว ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงเลขคดีอาญาที่ 624/2564 ท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนเลขคดีอาญาที่ 3978/2564 ท้องที่สถานีตำรวจภูธรแกลง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประขาชน เลขคดีอาญาที่ 658/2564
ท้องที่สถานีตำรวจฎธรเมืองลำพูน ความผิดฐานฉ้อโกง เลขคดีอาญาที่ 652/2564 ท้องที่สถานีตำรวจภูธรบ้านฉาง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน เลขคดีอาญาที่ 604/2564 ท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง คดีอาญาที่ 1234/2564 และท้องที่สถานีตำรวจภูธรเขาสวนกวางความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน เลขคดีอาญาที่ 385/2564 อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) (9) และ (28) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 11/2565 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อคำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินลับ ที่ ม. 702/2565 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เรื่อง มอบหมายพนักงานเข้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รายนางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองรรรณ กับพวก และคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 6/2567 ลงวันที่ 5 มกราคม 2567 เรื่อง มอบหมายพนักงานเข้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (เพิ่มเติม) รายนางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ กับพวก และคณะกรรมการธุรกรรม
ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 มีมติให้เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันโดยเป็นการจัตให้มีการเล่นการพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 3 (9) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคลดังกล่าวแล้ว ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า นางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ กับพวกมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐาน คามมาตรา 3 (3) (9) และ (38) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งจากการรวบรวมพยานหลักฐาน
ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 238 รายการ พร้อมดอกผลและเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้ ประกอบด้วยอสังหาริมทรัพย์ประเกทที่ดินตามโฉนดที่ดิน ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียน ในการเป็นผู้ถือกรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองโดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองอาจดำเนินการทางนิติกรรมโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองในทางทะเบียนได้ สังหาริมทรัพย์ประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียนในการควบคุม การเสียภาษี หรือการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าว
โดยผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองอาจดำเนินการโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิครอบครองในทางหะเบียนไต้โดยง่าย และสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร สลากออมสิน อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ้อนเร้นได้โดยง่ายหากมิใด้มีการออกคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินตำเนินการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร็นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตังกส่าวตกเป็นของเเผ่นดิน สำนักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติตตามทรัพย์สินดังจำนวน 238 รายการ กล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นางสาวธารารัตน์ สิงห์ทองวรรณ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที 9 มกราคม 2567 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าตัวยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งยึดและอายัตทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว จำนวน 238 รายการ พร้อมดอกผล มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 7 เมษายน 2567 โดยมีรายการทรัพย์สินที่ยึดและอายัดและปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคำสั่งนี้ (ดูคำสั่งและรายการทรัพย์สินที่ยึดอายัด ในลิงก์แนบ)