ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา 2 คดี 'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้น itv ขัดคุณสมบัติเป็นสส.?-หาเสียงแก้ ม.112 ล้มล้างการปกครองหรือไม่' ต่อ ในวันที่ 22 พ.ย. 2566
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีพิจารณา 2 คดี
1. กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล หาเสียงด้วยนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่
2. กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จึงสิ้นสุดความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญมีผลการพิจารณาทั้ง 2 คดี ว่า ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปราย และกำหนดนัดพิจารณาคดีต่อในวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 นาฬิกา
ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์มีใจความว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมปรึกษาคดีที่น่าสนใจ กรณี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 19/2566)
นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิงฉัยตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 49 ว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2) ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประบวลฎหมายอาญา (ฉบับที่ ) พ.ศ. ... เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่
ผลการพิจารณา
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปราย และกำหนดนัดพิจารณาคดีต่อในวันพุธที่ 22
พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 นาฬิกา
นอกจากนี้ยังมีกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 23/2566)
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ถูกร้อง) เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนใด ๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (9) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องว่างลงนับแต่
วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจอัยให้แก่คู่กรณีฟังตามรัฐธรมนูญ มาตรา 105 วรรคหนึ่ง (2) และศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยและสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ต่อมาผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา พร้อมบัญชีระบุพยานเอกสาร พยานบุคคล และพยานวัตถุ ฉบับลงวันที่ 2 ตุลาคม 2566 และบัญชีระบุพยานบุคคลเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ฉบับลงวันที่ 18 ตุลาคม 2566
ผลการพิจารณา
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปราย และกำหนดนัดพิจารณาคดีต่อในวันพุธที่ 22
พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 นาฬิกา