ป.ป.ช.สนธิกำลังจับสด นายก อบต.หนองม่วง คาเงินของกลาง 2 หมื่นบาท เผยพฤติการณ์เรียกรับเงิน เพื่อแลกกับการต่อสัญญาจ้างลูกจ้าง 17 ราย รายละ 17,000-25,000 บาท
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ได้ออกเอกสารข่าวแจกเนื้อหาข่าวเกี่ยวกับการจับกุมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองม่วง ด้วยความผิดว่ามีการเรียกรับผลประโยชน์แลกต่อสัญญาลูกจ้าง มีรายละเอียดเอกสารดังนี้
วันที่ 10 ตุลาคม 2566 สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประจําจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 และตํารวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม จับกุมตัวนายก อบต.หนองม่วง อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยของกลางธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท จํานวน 20 ฉบับ เป็นเงิน 20,000 บาท
โดยพฤติการณ์ในการจับกุม คือ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด มหาสารคาม ได้รับแจ้งเบาะแสจากผู้ร้อง ว่า นายก อบต. หนองม่วง มีพฤติการณ์ในการเรียกรับเงินเพื่อเป็น ค่าต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้างตามภารกิจของ อบต.หนองม่วง ที่หมดสัญญาในวันที่ 30 กันยายน 2566 จํานวนประมาณ 17 ราย โดยเรียกรับเงินค่าต่อสัญญารายละ 17,000 - 25,000 บาท ขึ้นอยู่กับตําแหน่ง และเงินเดือนของแต่ละราย โดยมีผู้เสียหายจํานวนหลายรายที่ประสงค์จะดําเนินคดีกับนายก อบต.หนองม่วง จึงได้มา กล่าวหาร้องเรียนต่อสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดมหาสารคาม จากนั้น สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด มหาสารคาม จึงได้ประสานไปยังสํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 เพื่อร่วมดําเนินการในกรณีดังกล่าว
จากนั้น ในวันที่ 9 ตุลาคม 2566 สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดมหาสารคาม และสํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 ได้ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติราชการกับตํารวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม เพื่อร่วมวางแผนการจับกุม ดังกล่าว โดยหลังจากสอบปากคําผู้ร้องจํานวนหลายรายแล้ว ปรากฏว่า มีเพียงผู้ร้องที่ 1 ที่มีเงินสดจํานวน เพียงพอที่จะจ่ายให้กับนายก อบต.หนองม่วง ตามที่นายก อบต.หนองม่วง ได้เรียกรับเงินเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการ ต่อสัญญาจ้างไว้ล่วงหน้า
จากนั้นช่วงเช้าวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เจ้าหน้าที่สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 ได้นําภาพถ่ายสีธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท จํานวน 20 ฉบับ รวมเป็นเงินจํานวน 20,000 บาท ซึ่งรับมอบจากผู้ร้อง ไปลงบันทึกประจําวันไว้ เป็นหลักฐานที่สถานีตํารวจภูธรเมืองมหาสารคาม หลังจากนั้น ในช่วงสายของวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เจ้าหน้าที่ ตํารวจชุดจับกุม สังกัดตํารวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม เจ้าหน้าที่สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดมหาสารคาม และเจ้าหน้าที่สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 ได้ร่วมวางแผนการจับกุม โดยให้ผู้ร้องนําธนบัตรที่ลงบันทึกประจําวันไว้ จํานวน 20,000 บาท นําไปมอบให้กับนายก อบต.หนองม่วง ตามที่ผู้ร้องกับนายก อบต.หนองม่วง ได้ตกลงกันไว้ โดยนัดหมายมอบเงินจํานวนดังกล่าวที่ห้องทํางานของนายก อบต.หนองม่วง ในเวลาก่อนเที่ยง แต่ปรากฏว่า ในเวลา ก่อนเที่ยง นายก อบต.หนองม่วง เดินทางไปปฏิบัติภารกิจนอกพื้นที่สํานักงาน อบต.หนองม่วง ผู้ร้องจึงได้รอมอบเงินจํานวนดังกล่าวในช่วงเวลาบ่าย
จากนั้น ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน (วันที่ 10 ตุลาคม 2566) นายก อบต.หนองม่วง ได้เดินทางกลับมา ที่สํานักงาน อบต.หนองม่วง และผู้ร้องได้นําเงินของกลางดังกล่าวไปมอบให้กับนายก อบต.หนองม่วง ที่ห้องทํางาน ของนายก อบต.หนองม่วง แล้วจึงได้แจ้งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมทราบ เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดจับกุม สังกัดตํารวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดมหาสารคาม และเจ้าหน้าที่ สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 จึงได้เข้าแสดงตัวและขอให้นายก อบต.หนองม่วง แสดงความบริสุทธิ์ใจโดยการเปิดลิ้นชัก โต๊ะทํางาน
ซึ่งนายก อบต.หนองม่วง ยินยอมเปิดลิ้นชักโต๊ะทํางานด้วยตนเอง ผลการตรวจสอบปรากฏว่า พบของ กลาง คือ ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท จํานวน 20 ฉบับ รวมจํานวน 20,000 บาท อยู่ในลิ้นชักโต๊ะทํางานของนายก อบต.หนองม่วง เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดจับกุม จึงได้นํามาตรวจสอบกับภาพถ่ายสีธนบัตรที่ได้ลงบันทึกประจําวันไว้ ปรากฏว่า ของกลาง คือ ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท จํานวน 20 ฉบับ รวมจํานวน 20,000 บาท เป็นธนบัตรที่มีเลข หมายเดียวกันกับที่ได้ลงบันทึกประจําวันไว้ครบถ้วนทั้ง 20 ฉบับ
เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดจับกุม จึงได้แสดงตัวและ ดําเนินการจับกุม และแจ้งให้นายก อบต.หนองม่วง ทราบว่า การกระทําดังกล่าว เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง ไม่ว่าการนั้น จะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พร้อมกับแจ้งสิทธิของผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา และนําตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยของกลาง มาดําเนินการจัดทําบันทึกการจับกุม และส่งตัวผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวน ดําเนินการรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนดําเนินการ รวบรวมพยานหลักฐานแล้วเสร็จ จะต้องดําเนินการส่งเรื่องให้สํานักงาน ป.ป.ช. ดําเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป