สหพันธ์สิทธิฯ ยูเอ็น ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลใหม่ไทย เปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับเมียนมา ต้องยอมรับรัฐบาลเอกภาพ ยุติการทำธุรกิจทั้งหมดกับเผด็จการทหาร-จี้ประชาคมอาเซียนเรียกร้องปล่อยนักโทษการเมืองกว่า 19,000 ราย- เผยยอดผู้เสียชีวิต ปชช.เหตุโจมตีทางอากาศในเมียนมาสูงกว่าที่ยูเครนแล้วเป็นสองเท่า
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าข่าวว่าเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา สหพันธ์สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหรือ FDHI ได้มีการออกแถลงการณ์ในการประชุมครั้งที่ 53 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็น ในการสนทนาเชิงโต้ตอบเกี่ยวกับรายงานความคืบหน้าด้วยวาจาโดยผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในเมียนมา
แถลงการณ์มีใจความระบุว่า
ถึงรองประธาน
FIDH และองค์กรสมาชิกได้แก่ ALTSEAN-Burma และ Women's Peace Network รู้สึกเสียใจกับการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนเพิ่มขึ้นจากสงครามของรัฐบาลทหารที่มีต่อประชาชนของเมียนมา
จนถึงปีนี้พบว่าการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนในเมียนมาจากการโจมตีทางอากาศนั้นมีจำนวนเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ที่ยูเครน
ประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมา ควรจะมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อจะสร้างความมั่นใจว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนและวิกฤติทางด้านมมนุษยธรรมจะไม่กลายเป็นภายร้ายแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคนี้
โดยประเทศไทย รัฐบาลที่เข้ามาใหม่หลังจากนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำดังต่อไปนี้
1.ดำเนินนโยบายต่างประเทศในรูปแบบใหม่ และควรมีความกล้าหาญ ควรจะยอมรับต่อสถานภาพของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของเมียนมา
2. รัฐบาลใหม่ของไทยควรจะดำเนินการระงับความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจที่มีทั้งหมดต่อรัฐบาลทหารที่ผิดกฎหมาย
3.รัฐบาลใหม่ของไทยควรจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พลัดถิ่น และผู้ลี้ภัยที่หลบหนีจากการโจมตีของรัฐบาลทหารเมียนมา โดยไม่คุกคามผู้ลี้ภัยเหล่านี้ด้วยการส่งกลับประเทศ
ส่วนในบังกลาเทศ มีความจําเป็นยิ่งที่จะต้องหยุดความพยายามทั้งหมดที่จะส่งผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากลับไปยังค่ายหรือกลับไปตั้งถิ่นฐานในรัฐอาระกัน จะต้องไม่มีการส่งกลับที่ไร้ปลอดภัย ไร้ความสมัครใจ และไร้ศักดิ์ศรี ไม่ว่าจะเป็นทั้งกับสัญชาติโรฮิงญาและจะต้องไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ทั้งหมดโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
รัฐบาลจีนและอินเดียก็ควรที่จะหยุดให้การสนับสนุนทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารแก่รัฐบาลทหารโดยทันที และหยุดโครงการ โครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนที่วางแผนไว้ทั้งหมดในเมียนมา
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาคมอาเซียนจะได้ดำเนินการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองในเมียนมาทั้งหมดกว่า 19,000 คน โดยทันที
เรียบเรียงจาก:https://www.fidh.org/en/region/asia/myanmar/myanmar-oral-statement-at-the-un-human-rights-council