ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รามาฯ เผยทั่วโลกจับตาโอไมครอนลูกผสม 'XBB.1.5' สายพันธุ์ที่น่ากังวล-แพร่เชื้อไวสุด ด้านผู้เชี่ยวชาญโลกหวั่นโควิดดื้อยาต้านไวรัส
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ว่า โควิด-19 สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ “น่ากังวลมากสุด” ในปัจจุบันคือโอไมครอนลูกผสม “XBB.1.5”
นิวยอร์กกำลังกลายเป็น ‘ฮอตสปอตใหม่’ ของโควิดตระกูล XBB ที่พบแพร่ระบาดใหญ่ในสิงคโปร์เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่นิวยอร์กรายวันตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมจนถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- 5.5%
- 5.7%
- 5.7%
- 5.3%
- 9.0%
- 13.8%
- 12.6%
- 13.7%
- 16.5%
- 18.6%
เมื่อเทียบกับโควิดสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในนิวยอร์ก
โดยมีระบาดเข้ามาแทนที่โอไมครอน BQ.1 อย่างรวดเร็วโดยพบ
-
มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ที่นิวยอร์กสูงกว่า BQ.1 ถึง 144%
-
มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า BQ.1 ทั่วสหรัฐ 122%
-
มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงกว่า BQ.1 ทั่วโลกประมาณ 94%
จากฐานข้อมูลเก็บรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบแล้วทั้งสิ้น 288 ตัวอย่าง ยังตรวจไม่พบในประเทศไทย
คาดว่า XBB.1.5 ได้กลายพันธุ์มาจาก XBB* ที่นิวยอร์ก โดยมีอัตราการเพิ่มจำนวนประมาณถึง 100% ในแต่ละสัปดาห์
โดยอาศัยเทคโนโลยีด้าน “ชีวสารสนเทศ” ที่ก้าวหน้าไปอย่างมากมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมโควิดทั้งจีโนม (whole SARS-CoV-2 genome sequencing) ตลอด 3 ปี จำนวนกว่า “14.2 ล้านตัวอย่าง” ช่วยให้เราสามารถทำนายรูปลักษณ์ของโปรตีนหนามที่แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ของโควิด-19 เพื่อบ่งชี้
-
ความสามารถของ “โปรตีนหนาม” ในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน(immune escape) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์
-
ความสามารถของโปรตีนหนามในการยึดจับตัวรับ “ACE-2” บนผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อ เพื่อแทรกเข้าไปภายในเซลล์ (ACE-2 binding score) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์
โดยพบว่า XBB.1.5 เป็นโควิด-19 ที่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงที่สุด และมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการเข้ากับผิวเซลล์ เพื่อทะลุผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ดีที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ อันเป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกำลังจับตามองด้วยความกังวล
โอไมครอนรุ่นหลาน CH.1.1 จ่อเข้ามาแทนที่ในไทย
โดยก่อนหน้านี้ ศูนย์จีโนมฯ ได้เปิดเผยข้อมูลถึงการป้องกันและรักษาโควิด-19 ตระกูลโอไมครอนที่ระบาดในประเทศไทย โดยระบุว่า
ตระกูลโอมิครอน BA.5 จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมโควิดโลก “GISAID” พบสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.5 ในประเทศไทยประมาณ 46.2 % และเริ่มลดจำนวนลงโดยมี BA.5 รุ่นเหลน เช่น BQ.1, BQ.1.1 และ BA.2.75 รุ่นหลาน เช่น CH.1.1 เพิ่มจำนวนเข้ามาแทนที่อย่างช้าๆ
ตระกูลโอมิครอน BA.2 สายพันธุ์ดั้งเดิม BA.2 ไม่พบแล้ว พบรุ่นลูกที่กลายพันธุ์มาคือ BA.2.75 จากฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”พบ BA.2.75* ในประเทศไทยประมาณ 46.2 % และเริ่มลดจำนวนลงโดยมีรุ่นหลาน เช่น CH.1.1 เพิ่มจำนวนมาแทนที่
ตระกูลโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม XBB* พบในประเทศไทยไม่มาก เป็นจำนวนตัวเลขหลักสิบ
-
ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ของโอมิครอนสายพันธุ์สำคัญในประเทศไทย
โอมิครอนตระกูล BA.5* มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในประเทศไทยเพียง 1%
โอมิครอนตระกูล BA.2.75* มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในประเทศไทยถึง 58% ดังนั้นคาดว่าจะระบาดมาแทนที่ตระกูล BA.5* ในไม่ช้า
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ BQ.1.1 อันเป็นเหลนของ BA.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในประเทศประมาณ 45% จึงอาจไม่สามารถระบาดมาแทนที่โอมิครอนตระกูล BA.2.75* เช่น CH.1.1 ซึ่งมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่าถึง 51%
-
การใช้วัคซีนต่อต้านโอมิครอนสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย
จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าวัคซีนรุ่นแรก และรุ่นที่สองที่ใช้ไวรัสสองสายพันธุ์ (bivalent booster vaccine) เป็นตัวกระตุ้นภูมิต่อสู้กับ BA.2.75 ได้ในระดับหนึ่ง ในขณะที่วัคซีนมีประสิทธิภาพในการยับยั้งไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ (BQ.1.1, XBB.1) ไม่ดีนัก
-
ยาฉีดแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม (Long Acting Antibodies /LAAB) ที่มีชื่อว่า "อีวูชีลด์" (Evusheld) ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการพบว่าสามารถเข้าจับและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ BA.5/BA.2.75 ในเซลล์ได้ดี แต่เข้าจับและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ เช่น XBB* และ BQ.1*ในเซลล์ได้ไม่ดี
-
ยาเม็ดต้านไวรัส” เช่น ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir), ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid: nirmatrelvir/ritonavir), ยา(ฉีด)เรมเดซิเวียร์ (remdesivir) ขณะนี้ยังใช้รักษาการติดเชื้อโควิดได้ดี มีขอบเขตในการออกฤทธิ์กว้างครอบคลุมเชื้อได้ทุกสายพันธุ์ (board-spectrum anti-SARS-CoV-2) ยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ใดทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ใหม่ดื้อต่อยาต้านไวรัสเหล่านี้ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกังวลว่าจะเกิดเชื้อดื้อยาในไม่ช้าเมื่อมีการใช้ยาต้านไวรัสโควิด-19 กันมากขึ้น เพราะลักษณะการใช้ยาในปัจจุบันต่อโควิด-19 ยังเป็นการใช้ยาตัวเดียวในการรักษา (monotherapy)