เลขาฯ สปสช. แจงหลักเกณฑ์จัดตั้งฮอสพิเทลรักษาโควิดต้องมีใบอนุญาต 1 รพ. สามารถมีโรงแรมคู่สัญญาได้หลายแห่ง หากผ่านเกณฑ์ สบส. สามารถยื่นเบิกค่าใช้จ่ายได้ ยันมีการตรวจสอบต้องให้บริการจริง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานความคืบหน้าการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณค่าใช้จนการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในส่วนของฮอลพิเทล (Hospitel) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในช่วงปี 2564-2565 ที่ผ่านมา
ล่าสุด นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา ถึงหลักเกณฑ์การจัดตั้งฮอลพิเทล และตรวจสอบการเบิกจ่าย ว่า โรงพยาบาล 1 แห่ง สามารถมีคู่สัญญาจัดตั้งโรงแรม เป็นฮอลพิเทลได้หลายแห่ง ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกจะขึ้นอยู่กับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เมื่อเข้าหรือผ่านเกณฑ์แล้ว ก็จะสามารถมายื่นเบิกค่าใช้จ่ายจาก สปสช.ได้
ส่วนแนวทางการตรวจสอบ นพ.จเด็จ กล่าวว่า หลักการเบิกจ่าย อย่างแรกคือ จะต้องมีบริการเกิดขึ้นจริง ฉะนั้นเวลามีการเบิก สปสช.จะต้องขอให้มีการพิสูจน์หรือแสดงหลักฐานยืนยันว่า มีผู้ป่วยเข้ารับบริการจริง ซึ่งโรงพยบาลเอกชน สปสช.จะขอตรวจทุกครั้ง เพราะสิ่งที่เราระแวงที่สุดคือ การไม่ให้บริการแล้วมาเบิก
ทั้งนี้ สำนักข่าวอิศรา ได้สืบค้นข้อมูลถึงหลักเกณฑ์การจัดตั้งฮอลพิเทล พบว่า ส่วนขั้นตอนการดำเนินงานจัดตั้งฮอสพิเทล โรงพยาบาลจะต้องมีการประเมินเตรียมสถานที่ โดยวางแผนดำเนินงาน กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายต่างๆ ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ
โดยมีประเด็นพิจารณาที่สำคัญ คือ
-
ความเร่งด่วน ความต้องการเตียงสำหรับกลุ่ม Asymptomatic/mild COVID
-
การเจรจากับฝ่ายโรงแรม ราคาห้องพักค่าใช้จ่ายรายวัน (ยอดการันตี) และรายละเอียดสัญญาเช่า (การบอกยกเลิกสัญญา)
-
ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง (ค่าจ้างเวรบุคลากร/ PPE/ การส่งตรวจ/อุปกรณ์สำหรับดูแลคนไข้ เช่น ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด เป็นต้น)
-
การเบิกคืนค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิ (นอกจากตาม DRG หรือการเหมาจ่ายรายวัน: ครอบคลุมค่าห้องรายวัน/ ยาและเวชภัณฑ์/ PPEต่อวัน/ค่าตรวจวินิจฉัย)
สำหรับแนวทางการเปลี่ยนโรงแรมเป็นโรงพยาบาลสนาม (Hospitel) ซึ่งกำหนดโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข มีรายละเอียด ดังนี้
ข้อกำหนดโรงแรมที่จะเข้าร่วม
-
โรงแรมต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมาย รวมถึงกรณีดัดแปลง
-
ขนาดโรงแรมเริ่มต้นที่จำนวน 30 ห้องเหมาะสำหรับ
-
-
ผู้ป่วย Mild case ที่ไม่มีอาการหลังนอนโรงพยาบาล 7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 14 วัน
-
ผู้ป่วย Mild case ที่มีอาการ แต่ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอนโรงพยาบาล 7 วัน เมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อจนครบ 14 วัน
-
หลักเกณฑ์การนำโรงแรมมาเป็นโรงพยาบาลสนาม ประกอบด้วย 5 หมวด ดังนี้
หมวด 1 โครงสร้างอาคาร และวิศวกรรม
-
โครงสร้างสมบูรณ์ ไม่แตกร้าว มีสภาพอาคารพร้อมใช้งาน
-
ระบบความปลอดภัยในอาคารพร้อมใช้งาน เช่น ระบบดับเพลิง ทางหนีไฟ
-
ห้องพักไม่ควรมีระเบียง
-
ห้องพักต้องไม่เป็นพื้นพรม
-
ห้องพักผู้ป่วยต้องเป็นห้องปรับอากาศแยกส่วนไม่เป็นระบบท่อส่งลมร่วมกัน
-
หากระบบระบายอากาศในห้องน้ าเป็นระบบรวม ต้องปิดระบบระบายอากาศ
-
ท่อระบายน้ำทิ้ง และสุขาภิบาลต้องไม่รั่วซึม
-
มีระบบโทรศัพท์ สื่อสาร และ CCTV
หมวด 2 บุคลากร (กรณีผู้ป่วยประมาณ 30 คน) ของโรงแรม และได้รับการอบรม
-
เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนผู้ป่วย/เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ 1 คน
-
เจ้าหน้าที่ส่งอาหาร 2 คน
-
เจ้าหน้าที่ทำความสะอาด 2 คน
-
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 2 คน
-
เจ้าหน้าที่เก็บขยะ 1 คน
-
ช่างไฟฟ้า 1 คน
-
ช่างประปา 1 คน
หมวด 3 เครื่องมือทางการแพทย์ วัสดุ อุปกรณ์ส านักงาน และอื่นๆ
-
ไฟฉาย 1 อัน
-
รถถังขยะติดเชื้อ 1 คัน
-
ถังขยะมูลฝอย 1 ถัง/ห้อง
-
คอมพิวเตอร์ หรือ notebook 1 เครื่อง
-
สมุดทะเบียนผู้ป่วย 1 เล่ม
-
กระดาษชำระ 2 ม้วน/ห้อง/สัปดาห์
-
Free wifi ทุกห้องผู้ป่วย และมีระบบ conference ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ
-
รถเข็นขนย้ายสิ่งของผู้ป่วย 1 คัน
-
ถุงขยะติดเชื้อ 1 ถุง/ห้อง/วัน
-
กาต้มน้ าร้อน 1 เครื่อง
-
แก้วพลาสติก และแก้วกระดาษ 2 ชุด/วัน
-
ผ้าเช็ดตัว และผ้าเช็ดผม 2 ชุด/สัปดาห์
-
ชุดผ้าปูที่นอน 1 ชุด/สัปดาห์
-
น้ำดื่ม 500 ml. 5 ขวด/ห้อง/วัน
หมวด 4 ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
-
แอลกอฮอล์ขวดใหญ่ 450 ml. 5 ขวด
-
สำลีห่อใหญ่ 5 ห่อ
-
แอลกอฮอล์เจล สบู่ 10 ขวด
-
หมวกคลุมผม 3 กล่อง
-
ถุงมือชนิด disposable 2 กล่อง
-
ถุงมือสำหรับเก็บขยะ 10 คู่
-
รองเท้าบูท 3 คู่
-
ถุงพลาสติกหุ้มรองเท้า 5 กล่อง
หมวด 5 การจัดการสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรกับชุมชน
-
มีระบบการจัดการขยะติดเชื้อ รวมถึงการกำจัดภาชนะบรรจุอาหารติดเชื้อ
-
มีระบบการบำบัดน้ำเสียและควรเป็นระบบปิดรวมถึงมีการเติมคลอรีนก่อนปล่อยสู่สาธารณะ (ตามมาตรฐาน)
-
มีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูล (ส้วม) และมีระบบท่อน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐาน
-
มีการป้องกันพาหะนำโรคโดยแมลง
-
มีระบบการจัดการซักล้างผ้าติดเชื้อ
-
มีแนวทางสร้างความเข้าใจและการยอมรับจากชุมชนโดยรอบ
นอกจากนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกหลักเกณฑ์สำหรับการดูแลรักษา ผู้ป่วยโควิด-19 ในฮอสพิเทล ดังนี้
-
การดูแล 24 ชม. โดยการบริหารจัดการผ่าน Nurse station ภายใต้หลัก Less contact & 2P Safety โดยใช้การสื่อสารระบบ IT (รายงานผลค่าอุณหภูมิ ค่าออกซิเจน ชีพจรและอาการทั่วไป เวรละ 1 ครั้ง)
-
ส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ สร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ และการดูแลตนเองของคนไข้
-
คนไข้มีความเป็นส่วนตัว สะดวกสบายและมั่นใจ มีการเตรียมการก่อนจำหน่าย
-
การจัดการทั่วไปโดยเจ้าหน้าที่โรงแรม