'สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา'จี้ถอดถอนคณบดีรัฐศาสตร์-นิติศาสตร์ ถูก ปปป.ตั้งข้อหาทุจริตโครงการวิชาการ ชี้ปล่อยให้ปฏิบัติหน้าที่ต่ออาจเปิดช่องข่มขู่พยานได้
สืบเนื่องจากที่ปรากฎเป็นข่าวว่าทางมหาวิทยาลัยบูรพาพร้อมที่จะดำเนินการตรวจสอบกรณี พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ผบก.ปปป.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.ณัฐณวิทย์ สิทธาภิรมย์ พ.ต.อ.ศราวุธ ศรีสุขศิริพันธ์ รอง ผบก.รฟ. ช่วยราชการ บก.ปปป., พ.ต.อ.เกรียงไกร ขวัญไตรรัตน์ ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ปปป. พ.ต.อ.พิทักษ์ วาฤทธิ์ ผกก.2 บก.ปปป. นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปปป. สนธิกำลังร่วมกับ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เดินทางมายังมหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมืองจ.ชลบุรี เพื่อทำการแจ้งข้อกล่าวหา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงษ์ บัวหล้า อายุ 48 ปี คณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ นางศญาพัฒน์ กิตติสารวัณโณ อายุ 46 ปี รักษาการหัวหน้าสำนักงานคณบดี ในความผิดฐาน “เป็นผู้รักษาทรัพย์แต่กลับร่วมกันเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต , เป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ , เป็นพนักงานรักษาทรัพย์แต่กลับร่วมกันใช้อํานาจในหน้าที่โดยหารทุจริต,เป็นพนักงาน มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ ร่วมกันจ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่าย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น และ เป็นพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” ในกรณีการจัดทำโครงการวิชาการเป็นการจัดทำในลักษณะต้องสงสัยว่าจะมีความไม่ชอบมาพากล หรือ มีการหาผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ล่าสุดมีรายงานว่าทางสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หรือ STUDENT CLUB OF POLITICAL SCIENCE AND LAW FACULTY BURAPHA UNIVERSITY ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีดังกล่าว มีใจความว่า
โดยที่การทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานของรัฐ มีผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ สังคมและเป็นอันตรายต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบกับปัญหาในด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหาร มหาวิทยาลัย ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ความว่า เจ้าหน้าที่ตํารวจได้สนธิ กําลังเข้าแจ้งข้อกล่าวหาและตรวจค้นหาพยานหลักฐานจากผู้บริหารในมหาวิทยาลัย รวมถึง ผู้บริหารคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ในข้อหาความผิดตาม พรบ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
ท่ามกลางการทะลักให้เห็นความฉ้อฉล ถ้าพิจารณาโดยผิวเผินตามคํากล่าวเจตจํานงของผู้บริหารใน มหาวิทยาลัย ก็น่าจะเข้าใจว่า ผู้บริหารเป็นคนที่มีธรรมาภิบาล แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวมีมลทินที่ เกี่ยวข้องกับการประพฤติทุจริตมิชอบ และพฤติกรรมการใช้อํานาจบริหารเชิงอํานาจนิยมต่อนิสิต คณาจารย์ และ พนักงานมหาวิทยาลัยจึงเป็นผลทําให้เกิดความขัดแย้งอย่างร้ายแรงภายในคณะ อีกทั้ง มหาวิทยาลัยบูรพานั้น ได้เข้า ร่วมโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยภาครัฐ ของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเป็นการปฏิบัติแนวทางการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และส่งเสริม ค่านิยมด้านการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยบูรพาให้มีความใสสะอาด ปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไป ในทางทุจริต
โดยสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ประชาคมศิษย์เก่าและพนักงานมหาวิทยาลัย เห็นว่า การให้คณะเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหายังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอาจจะเกิดความเสียหายให้แก่ทางราชการ และอาจ ใช้อํานาจข่มขู่พยานได้ จึงเรียกร้องขอให้อธิการบดีและกรรมการสภามหาวิทยาลัยบูรพาถอดถอนบุคคลดังกล่าวออก จากตําแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นตามมาตรา 19 แห่ง พรบ.การอุดมศึกษา พ.ศ.2562 กําหนดให้ สถาบันอุดมศึกษา และบุคลากรต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาล และขอเรียกร้องให้คณะผู้บริหารคณะได้พิจารณาลาออกจาก ตําแหน่งทางบริหารเพื่อแสดงจุดยืนถึงความกล้าหาญทางจริยธรรม
หากข้อเรียกร้องข้างต้น มหาวิทยาลัยเลือกที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่เพื่ออํานวยความยุติธรรมได้ ในการนี้จึง ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณาใช้อํานาจตามมาตรา 51) แห่งพรบ. การอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 วินิจฉัยชี้ขาด สั่งให้กระทําการ ยับยั้ง หรือยุติ การดําเนินการของสถาบันอุดมศึกษา ดังกล่าวได้ รวมถึงแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยบูรพาอีกครั้งเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาใน ระยะเวลาชั่วคราว
ในการนี้ สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์จึงมีแถลงการณ์ฉบับนี้ เพื่อขอเรียกร้องให้มวล นิสิต ศิษย์เก่า ร่วมลงชื่อ เรียกร้องให้คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ดังรายชื่อตามแนบท้ายแถลงการณ์นี้ ร่วมกันทําหนังสือถึงสภามหาวิทยาลัย เพื่อขอให้ถอดถอนกลุ่มผู้ต้องหาข้างต้นออกจากตําแหน่งเพื่อแสดงถึงความกล้า หาญทางจริยธรรมของพวกตนตามที่ได้สอนสั่งลูกศิษย์เสมอมา จักขอบคุณยิ่ง