ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งปลด'สมชาย วงศ์สวัสดิ์' พ้นจากปลัดกระทรวงแรงงาน ด้วยข้อหาร่ำรวยผิดปกติ ชี้ กม. ป.ป.ช. แตกต่างจากกฎหมายระเบียบ ขรก.พลเรือน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าเมื่อวันที่ 14 ก.ย. ที่ ที่ศาลปกครอง ถนนเเจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เเละอดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ยื่นฟ้อง กระทรวงแรงงาน,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน,คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงแรงงาน ,คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-5
คดีนี้ผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ฟ้องว่า เดิมผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)รับราชการตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม และต่อมาได้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงานจนพ้นจากตำแหน่ง ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามมติผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีคำสั่งที่ 39/2552 ลงวันที่ 21 มกราคม 2552 ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ออกจากราชการ โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กรณีผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ในฐานะปลัดกระทรวงยุติธรรมพิจารณาสั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับ นายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี และนายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ที่ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม 70 ล้านบาท จากการขายทอดตลาดที่ดินของศาลจังหวัดธัญบุรี ทั้งที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าการคืนเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ทางราชการเสียหาย
ผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 พิจารณายกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)
ผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)เห็นว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยปลดผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ออกจากราชการและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้
1. เพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ 39/2552 ลงวันที่ 21 ม.ค. 52 ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1และที่ 2 ที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ออกจากราชการ
2. เพิกถอนมติการประชุม อ.ก.พ. กระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 51 ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
3.เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรื่องดำ 5210006 เรื่องแดงที่ 0012155 ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4
4. เพิกถอนมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ที่ลงมติว่าผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)กระทำผิด ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.)
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า มาตรา 250 ของมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งตั้งแต่ผู้อํานวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปร่ำรวยผิดปกติ กระทํา ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อ ตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
รวมทั้งดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับ ต่ำกว่าที่ร่วมกระทําความผิดกับผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวหรือกับผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทําความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดําเนินการด้วย
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต ประกอบกับมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจ หน้าที่ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทําความผิด ฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม
จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญดังกล่าวให้อํานาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) ไว้เช่นเดียวกัน ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อ ตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งเน้นการปฏิรูปการเมืองด้วยการกําหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) เป็นกลไก การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้โดยมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ เป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวไว้สอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างจากการดําเนินการทางวินัย ตามพระราชบัญญัติ
ซึ่งแตกต่างจากการดำเนินการทางวินัยตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลและการดำเนินการทางวินัยในกรณีอื่น ที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล วินัย และการรักษาวินัย อันเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ ขององค์กรต่าง ๆ ของรัฐที่จะดำเนินการในแต่ละกรณีที่ไม่ซ้ำซ้อนกันและเป็นการเกื้อหนุนกัน โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) ในส่วนที่จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย ข้าราชการเฉพาะกรณีที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้อำนาจไว้เท่านั้น
แม้ว่ามาตรา 41เเละ 92 เเห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ จะกำหนดให้กรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลความผิดทางวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงาน และเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อพิจารณาโทษทางวินัย โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก
แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 19 เเห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 250ของรัฐธรรมนูญ จึงเห็นได้ว่า อำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 5 เป็นกรณีกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ การกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นมูลความผิดทางวินัย
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.)ใช้อำนาจ ชี้มูลว่าผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)กระทำ ความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง จึงไม่มีอำนาจกระทำได้ ส่วนที่ อ้างว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นั้น เป็นคนละกรณีกับมติของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) ในคดีนี้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีของผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย) ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) จึงไม่อาจรับฟังได้ เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) ไม่มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงและ ชี้มูลความผิดผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย) ในความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง ดังนั้น มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ต.ค.51 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีจึงไม่มีผลผูกพันผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็น ผู้บังคับบัญชาของผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ที่จะถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.)มาเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย หากแต่จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) มีมติว่า กระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เพื่อให้ผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ซึ่งเป็น ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและได้มีโอกาสชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามขั้นตอน และวิธีการที่กำหนดไว้ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีคำสั่งกระทรวงแรงงานลงโทษปลดผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ออกจากราชการ ตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ป.ป.ช.) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่ได้วินิจฉัยไว้ ในข้างต้น โดยมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)และมิได้แจ้ง ข้อกล่าวหาในความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง แก่ผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย) คำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมิได้ดำเนินการตาม ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการลงโทษทางวินัย ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับ กฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ
พิพากษาเพิกถอนคําสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 39/2552 ลงวันที่ 21 มกราคม 2552 ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย)ออกจากราชการ และคําวินิจฉัยเรื่องดํา ที่ 5210006 เรื่องแดงที่ 0012155 ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี (นายสมชาย) โดยให้มีผล ย้อนหลังนับแต่วันที่คําสั่งและคําวินิจฉัยดังกล่าวมีผลบังคับ คําขออื่นนอกจากนี้ให้ยก