อภิปรายไม่ไว้วางใจ 'เพื่อไทย' แฉ อนุพงษ์มีเอี่ยวบอร์ดการประปาเห็นชอบเอกชนรายเดิมเดินหน้าสัญญาขายน้ำประปาปทุมธานี-รังสิตโดยมิชอบ ข้องใจ ทำไม 'ฉัตรชัย' ลาออกบอร์ด ชี้ มีการเปลี่ยนกรรมการที่เป็นอัยการใน กก.ร่วมทุนรัฐ-เอกชนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2565 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวม 11 คน ตามที่ ส.ส.ฝ่ายค้านเสนอ ภายใต้ยุทธการณ์ ‘เด็ดหัว สอยนั่งร้าน’ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค.2565
โดยในช่วงเวลาประมาณ 18.48 น. นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทยได้อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในประเด็นเรื่องปัญหาการการทำสัญญากับเอกชนของการประปาส่วนภูมิภาค โดยนายเลิศศักดิ์ได้กล่าวว่าตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมปีพ.ศ 2545 และพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาคปี 2522 มาตรา 4 และมาตรา 46 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการกำกับทั่วไปการประปาส่วนภูมิภาคและมีหน้าที่ในการสั่งการให้การประปาส่วนภูมิภาคชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความเห็นหรือทำรายงานยับยั้งการกระทำของการประปาส่วนภูมิภาคที่ขัดต่อนโยบายรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรี
ส.ส.พรรคเพื่อไทยกล่าวต่อไปว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงการเอกชนร่วมลงทุนน้ำประปาปทุมธานีรังสิตซึ่งรัฐมีความเสี่ยงที่จะเสียหายกว่า 36,513 ล้านบาทโดยพฤติกรรมการกระทำความผิดของอนุพงษ์มีดังนี้
1 ในฐานะที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินมีความไม่ซื่อสัตย์สุจริตไม่รอบคอบไม่ระมัดระวังในการดำเนินกิจการต่างๆเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนอันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้บุคคลแวดล้อมและพวกพร้อมแสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนโดยละเว้นและเพิกเฉยต่อการทุจริตในภาครัฐเพื่อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องโดยไม่ใส่ใจที่จะป้องกันและปราบปรามครับประการที่
2 มีพฤติกรรมที่จงใจสมคบคิดเป็นตัวการในลักษณะของการแบ่งแยกหน้าที่การทำทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการในลักษณะช่วยเหลือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชนไม่ระงับยับยั้งการปฏิบัติราชการใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
โดยความเป็นมาของโครงการนี้นั้นเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน นั้น 31 ส.ค. 2538 สัญญาการผลิตน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค ดังกล่าวนี้มีชื่อว่า BOOT Build Own Operate Transfer หมายความว่าให้สิทธิ์เอกชนสิ้นสุดลงในสัญญา 31 ต.ค. 2566 สัญญาบอกว่าการประปาจะต้องซื้อน้ำประปา 2.8 แสนลูกบาศก์เมตร แปดพันลูกบาตรเมตรต่อวัน ในราคาเริ่มต้นที่ 7.89 บาทต่อลูกบาศก์เมตรราคาซื้อขายก็จะปรับขึ้นได้ทุกปีตามดัชนีราคาผู้บริโภคที่เรียกว่า CPI ครับและตลอดระยะเวลาสัญญามีการปรับการซื้อน้ำนี้ ปัจจุบันนี้ต้องซื้อน้ำจากเอกชนจำนวน 358,000 บาท ลูกบาศก์เมตรต่อวันและราคาซื้อก็ขยับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12.73 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูจากชาร์ตในเส้นสีน้ำเงินคือผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่รับสัญญาจะเห็นว่ามีกำไรต่อเนื่องทุกปีสม่ำเสมอแล้วก็เพิ่มขึ้นด้วยในขณะเดียวกันในเส้นสีส้มนั่นคือผลตอบแทนของการประปาส่วนภูมิภาคกำไรของการประปาส่วนภูมิภาคมีการปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดยังมีนัยยะสำคัญ ซึ่งราคาเริ่มต้นที่ 7.89 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ราคาซื้อขายก็จะปรับขึ้นได้ทุกปีตามดัชนีผู้บริโภคที่เรียกว่า CPI ครับและตลอดระยะเวลาสัญญามีการปรับการซื้อน้ำปัจจุบันนี้ต้องซื้อน้ำจากเอกชนจำนวน 358,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันและราคาซื้อก็ขยับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12.73 บาทต่อลูกบาศก์เมตรหมายความว่าการประปาส่วนภูมิภาคนำเงินส่งเข้ารัฐลดลงทุกปีในขณะเดียวกันกำไรสุทธิของบริษัทเอกชนแค่ 3 ปีนี้รวมกันถึง 2,900 ล้านบาทนั่นหมายความว่ากำไรหรือรายได้ที่รัฐควรจะได้เนี่ยครับมันตกไปอยู่ในมือของเอกชนเพียงรายเดียวเฉพาะขายน้ำประปาในพื้นที่เดียว
ยิ่งไปกว่านั้นคือเมื่อสิ้นสุดสัญญาครับในวันที่ 14 ตุลาคม 2566 ปี เอกชนจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดคืนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนปี 2562 ในมาตรา 49 ระบุไว้ชัดเจนในเรื่องของวิธีปฏิบัติและขั้นตอนภายหลังจากโครงการหรือสัญญาร่วมทุนสิ้นสุดลง ระบุว่าให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการร่วมลงทุนภายหลังสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดโดยเปรียบเทียบกรณีที่หน่วยงานของรัฐดำเนินการเองและกรณีให้เอกชนร่วมลงทุนเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดอย่างน้อย 5 ปีก่อนสัญญาร่วมทุนจะสิ้นสุดลงโดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐความต่อเนื่องในการให้บริการสาธารณะและผลประโยชน์ต่อประชาชน หรือก็คือเมื่อสัญญาร่วมทุนสิ้นสุดลงให้การประปาส่วนพระดำเนินการได้อยู่ 2 อย่าง ประการแรกเลยก็คือการประปาส่วนภูมิภาคเข้าไปดำเนินการบริหารจัดการเอง ประการที่ 2 คือเปิดประมูล
โดยผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา 49 นี้ครบถ้วนก่อนหมดสัญญา 5 ปี ซึ่งก็คือการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาชื่อบริษัททีมคอนซัลติเอ็นจิเนียริ่งจำกัดเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและเขาศึกษาอยู่ 3 อย่าง ประการแรกเลยเข้าศึกษาว่าถ้าให้การประปาส่วนภูมิภาคเข้าไปดำเนินการเองจะเป็นอย่างไรประการที่ 2 ให้เอกชนรายเดิมจะดีไหมและประการที่ 3 ครับให้เอกชนรายใหม่ดำเนินการบอร์ของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งเขาก็ได้เห็นชอบเลือกแนวทางที่ 1 การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการเองโดยให้เหตุผลว่าเป็นวิธีการที่คุ้มค่าทางการเงินมากที่สุด
และบอร์ดชุดนั้น มีนายฉัตรชัย พรหมเลิศเป็นประธานบอร์ด ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้นถูกระบุในหนังสือว่าเป็นผู้ที่พิจารณาแล้วและเห็นชอบแนวทางการดำเนินกิจการตามที่การประปาส่วนภูมิภาคเสนอแล้ว หมายความว่า พล.อ.อนุพงษ์เห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการเองภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาแต่ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมปี 2563 จู่ๆ นายฉัตรชัยก็ลาออกจากตำแหน่งทำให้องค์ประกอบของบอร์ดไม่ครบไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ ซึ่งตรงนี้ตนก็สงสัยว่ามีใบสั่งอะไรมาหรือไม่ แต่เมื่อมีมีการลาออกท่านก็เป็นคนตั้งบอร์ดชุดใหม่เสนอครมตั้งบอร์ดชุดใหม่ครับแล้วให้นายธนาคม จงจิระ เป็นประธานบอร์ดชุดใหม่และบอร์ดชุดใหม่ที่ว่านี้ก็ออกมติอัปยศปล้นการประปาส่วนภูมิภาค ก็คือการต่อสัญญาซื้อน้ำประปาจากเอกชนรายเดิมไปอีก 20 ปี โดยแก้ไขสัญญาทำตามขั้นตอนในมาตรา 46 47 48 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน ไม่ทำตามบอร์ดชุดเดิมที่เลือกให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการเองเปลี่ยนไปต่อสัญญาให้กับเอกชนรายเดิม
นายเลิศศักดิ์กล่าวต่อไปว่าที่น่าสังเกตคือคณะกรรมการบอร์ดการประปาส่วนภาคชุดใหม่ที่ต่อสัญญาเขามีมติโดยอ้างอิงเพียงแค่ผลการเจรจากับเอกชนแค่นั้นเอง โดยเอกชนเขาเสนอมาใหม่บอกว่าจะลดค่าน้ำประปาให้ 2 บาทและจะเพิ่มกำลังผลิตให้อีก 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันจ่ายเงินให้ 1,500 ล้านบาทตลอดอายุสัญญา 20 ปี มีข่าวด้วยว่าเอกชนเขายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวที่ผมว่าไปแล้ว ต่อ พล.อ.อนุพงษ์ นั่นหมายความว่าทุกกระบวนการทั้งหมดนี้มันมาสู่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
“กระบวนการนี้เนี่ยมันลุกลี้ลุกลนมันเร่งรัดเร่งรีบแชทให้เวลาเพียงแค่ 3 เดือนนับตั้งแต่เอกชนยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมให้กับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยปรากฏว่าบอร์ดก็เห็นชอบทันทีโดยใช้มาตรา 46 47 48 เหมือนกับว่าเร่งรีบก่อนที่สัญญาจะหมดลงในเร็วๆนี้” นายเลิศศักดิ์กล่าว
ส.ส.พรรคเพื่อไทยกล่าวต่อไปว่าเมื่อบอร์ดชุดใหม่เสนอให้เป็นการแก้ไขสัญญาให้เอกชนรายเดิมดำเนินการต่อ หน้าที่ พล.อ.อนุพงษ์ควรจะต้องสั่งให้ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาคได้นำเสนอผลการศึกษาก่อนที่จะดำเนินการต่อครับแต่ พล.อ.อนุพงษ์กลับไม่ทำอะไรเลย และนอกจากนี้ยังพบด้วยว่ามีการสั่งย้ายนายมงคล กัลยกฤต ข้าราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กรของการประปาส่วนภูมิภาคให้ไปช่วยราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ไปเป็นผู้ช่วยนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายมงคลนั้นเป็นผู้ที่ทำบันทึกเพื่อที่จะคัดค้านผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาคและบอร์ดของการประปาส่วนภูมิภาคเรื่องการนำเอาส่วนลดค่าน้ำประปาและการเพิ่มกำลังการผลิตมาเป็นเงื่อนไขในการต่อสัญญาซึ่งเขาบอกว่าไม่เป็นไปตามที่มหาดไทยได้สั่งการไว้แล้วและไม่เป็นไปตามกฎหมายหากการประปาส่วนภูมิภาค หรือก็คือหมายความว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ก่อให้เกิดการผูกขาดโดยเจตนาและเลี่ยงไม่ให้เกิดการประมูลราคาตามหมวด 4 ส่วนที่ 2 เรื่องการคัดเลือกเอกชนตามมาตรา 32 ถึง 42 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนปี 2562
“เห็นไหมครับเขาคัดค้านมาก็ย้ายเข้าออกจากตำแหน่งไปไม่ให้มาขวางทางอีกและที่สำคัญครับยังมีการเปลี่ยนตัวคณะกรรมการบางคนในกรรมการที่ชื่อว่าคณะกรรมการกำกับและดูแลโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการนี้แหละครับ สำนักงานอัยการสูงสุดครับได้มีการเปลี่ยนตัวอีกแล้วเปลี่ยนจากนายศักดา ช่วงรังสีซึ่งมีตำแหน่งเป็นอธิบดีอัยการในตำแหน่งคณะกรรมการของกรรมการติดกำกับและติดตามโครงการนี้เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติมาเป็นอีกชื่อนายรมศักย์ ธรรมชัยเดชา ตำแหน่งอัยการพิเศษสำนักงานอัยการสูงสุด แค่ตำแหน่งเนี่ยก็ห่างชั้นกันแล้วคนนึงที่ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐเป็นอธิบดีอัยการแต่เปลี่ยนเอาอัยการพิเศษมานั่งทำหน้าที่แทนและที่สำคัญเปลี่ยนมาปั๊บบอร์ดคณะกรรมการกำกับและติดตามอนุมัติเห็นชอบตามที่บอร์ดการประปาส่วนมากเสนอโดยให้ต่อสัญญากับเอกชนทันทีเลยซึ่งผมจะต้องเรียกร้องต่อสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป” นายเลิศศักดิ์กล่าว
ขณะที่ทางด้านของ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่าแค่ว่าเรื่องนี้นั้นยืนยันว่าไม่มีการปล่อยปละละเลยแน่นอน ทุกอย่างนั้นเป็นไปตามบอร์ด ส่วนกรณีการลาออกของนายฉัตรชัยนั้นต้องขอเรียนว่านายฉัตรชัยได้เข้าไปเป็นประธานอร์ดไฟฟ้า ก็เลยต้องลาออกจากตรงนี้ไม่ใช่จะมีใครไปเปลี่ยนตัวได้ ส่วนกรณีการเปลี่ยนตัวอัยการที่เป็นคณะกรรมการนั้นก็เป็นของหน่วยงานของเขาตามตำแหน่ง