ปปง.อายัดทรัพย์ 30 รายการ 4.7 ล. เครือข่ายฟอกเงินยาเสพติดฝั่งเมียนมา หลังขยายผลจับกุม ‘อภิชาติ หงษณานุรักษ์’ กับพวก ลอบขนทองคำแท่ง 18 กก.ออกด่านชายแดน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี อ้างเจ้าของร้าน ทองคํา อ.พญาตองอูว่าจ้าง ซื้อทองจากห้างดัง เยาวราช โอนเงินเข้าบัญชีแบงก์ ทำมา 2 ครั้ง ก่อนถูก จนท.รวบ
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2565 คณะกรรมการธุรกรรมสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) คําสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 21/2565เรื่อง ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวรายนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ กับพวก ซึ่งกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับ การลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ความผิดเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกอั้งยี่ตามประมวล กฎหมายอาญาหรือการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมที่มีกฎหมายกําหนดเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 และความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน ทรัพยสินที่ยึดและอายัด จำนวน 30 รายการ เป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1 แปลงในอ.สังขละ จ.กาญจนบุรี และ เงินในบัญีเงินฝาก 29 บัญชี รวมมูลค่าทั้งสิ้น 4,721,562.86 บาท (ดูรายละเอียดในเอกสาร)
คดีนี้ขยายผลมาจากการจับกุมนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ ขณะขับรถผ่าน จุดตรวจร่วมสะพานรันตี หมู่ที่ 1 อําเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมตรวจยึดของกลางเป็นวัตถุลักษณะ คล้ายทองคําห่อด้วยกระดาษสีแดง มัดหนังยาง ซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดํา จํานวน 18 แห่ง ๆ ละ 1 กิโลกรัม รวมน้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม และทรัพย์สินรายการอื่น ๆ รวม 5 รายการ นายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ ให้การว่า ได้รับจ้างซื้อทองคํามาจากนางมะโย (ไม่มีชื่อสกุล) ชาวเมียนมาซึ่งเปิดร้านขายทองคําอยู่ที่อําเภอพญาตองอู ประเทศเมียนมา โดยมีนายรักชาติ คล้ายแสง ซึ่งเป็นญาติของนายอภิชาติ ติดต่อประสานงานกับนางมะโย (ไม่มีชื่อสกุล) ว่าจ้างให้ไปซื้อทองคํา โดยนางมะโย (ไม่มีชื่อสกุล) จะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) เลขที่บัญชี 080-8-05837-5 ชื่อบัญชี นายอภิชาติ เพื่อจ่ายเงินค่าซื้อทองคํา จากนั้นจะเดินทางไปซื้อทองคําที่บริษัทฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช จํากัด สาขาเยาวราช ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกระทําในลักษณะนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมในการยึดและอายัดทรัพย์สิน นายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ กับพวก มีดังนี้
ด้วยสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากสถานีตํารวจภูธรสังขละบุรี ตามหนังสือที่ ตช 0022.3(14)/1265 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 รายงานการจับกุม รายนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ กับพวก ซึ่งกระทําความผิดฐานฟอกเงิน เพื่อให้สํานักงาน ปปง. พิจารณาดําเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์ แห่งการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับ การลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ความผิดเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกอั้งยี่ตามประมวล กฎหมายอาญาหรือการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมที่มีกฎหมายกําหนดเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 และความผิดฐาน ร่วมกันฟอกเงิน กล่าวคือ
เจ้าพนักงานตํารวจชุดจับกุม ได้รับรายงานจากสายลับว่าจะมีรถยนต์กระบะยี่ห้อโตโยต้า สีขาว หมายเลขทะเบียน บร 7774 กาญจนบุรี เป็นยานพาหนะนําสิ่งของมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ออกนอกราชอาณาจักร จึงได้เฝ้าติดตามและต่อมาจับกุมนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ ขณะขับรถผ่าน จุดตรวจร่วมสะพานรันตี หมู่ที่ 1 อําเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมตรวจยึดของกลางเป็นวัตถุลักษณะ คล้ายทองคําห่อด้วยกระดาษสีแดง มัดหนังยาง ซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดํา จํานวน 18 แห่ง ๆ ละ 1 กิโลกรัม รวมน้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม และทรัพย์สินรายการอื่น ๆ รวม 5 รายการ
ในชั้นจับกุมนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ ให้การว่าตนได้รับจ้างซื้อทองคํามาจากนางมะโย (ไม่มีชื่อสกุล) ชาวเมียนมาซึ่งเปิดร้าน ขายทองคําอยู่ที่อําเภอพญาตองอู ประเทศเมียนมา โดยมีนายรักชาติ คล้ายแสง ซึ่งเป็นญาติของนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ ติดต่อประสานงานกับนางมะโย (ไม่มีชื่อสกุล) ว่าจ้างให้ตนไปซื้อทองคํา โดยนางมะโย (ไม่มีชื่อสกุล) จะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) เลขที่บัญชี 080-8-05837-5 ชื่อบัญชี นายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ เพื่อจ่ายเงินค่าซื้อทองคํา จากนั้นจะเดินทางไปซื้อทองคําที่บริษัทฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช จํากัด สาขาเยาวราช ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกระทําในลักษณะนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3
คดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรสังขละบุรี รับคําร้องทุกข์ไว้เป็นคดีอาญาที่ 150/2564 เพื่อดําเนินคดี กับนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ และนายรักชาติ คล้ายแสง ในข้อหาพยายามร่วมกันนําของ (ทองคําแท่ง) ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม โดยกล่าวหาว่ากระทําความผิดฐานมีส่วนร่วม ในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 5 ฐานอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 และความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 5
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลการรายงานการทําธุรกรรมโดยใช้แบบสืออิเล็กทรอนิกส์ของการโอนเงิน และระบบการรับรายงานข้อมูลการทําธุรกรรม (AERS/ERS) พบว่า ธนาคารรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยและรายงานการทําธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงจํานวนหลายรายการของนายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ และนายรักชาติ คล้ายแสง นายสมชาย จันทร์อิม นางมิตาล อุดมใจพุทธ (ภรรยาของนายรักชาติ คล้ายแสง) และนางสาวนนทชนก กองแก้ว (ภรรยาของนายรักชาติ คล้ายแสง) ซึ่งไม่สอดคล้องกับอาชีพรายได้ที่เคยแจ้งไว้กับธนาคาร
และยังพบว่านายสมชาย จันทร์อิ่ม เป็นผู้ถูกตรวจสอบการทําธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับ การทําธุรกรรม ตามคําสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ ต.23/2559 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 เรื่อง ตรวจสอบรายงานการทําธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรรมเบื้องต้น รายคดีนายสุเมธ อิศดุลย์ และนายอาทิตย์ ทิพย์วาศรี กับพวก ซึ่งกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจากการตรวจสอบพบว่าบัญชีธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ชื่อบัญชี นายสมชาย จันทร์อิ่ม มีการโอน เงินให้กับนายอภิชาติ หงษณาณุรักษ์ และนายรักชาติ คล้ายแสง เพื่อนําไปซื้อทองคํา จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เงินที่นําไปซื้อทองคํานั้น อาจได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเข้าลักษณะเป็นความผิด มูลฐานตามมาตรา 3(1) (7) และ (10) และมีพฤติการณ์กระทําความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 และกรณีมีเหตุอันควร เชื่อได้ว่านายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมมีมติมอบหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคําสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 374/2564 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2564 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทํา ความผิด รายนายอภิชาติ หงษณาณุรักษ์ กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดําเนินการตรวจสอบรายงานการทํา ธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่านายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทําอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (1) (7) และ (10) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทําความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทําธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด รวมทั้งจากการ รวบรวมพยานหลักฐาน ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด จํานวน 30 รายการ พร้อมดอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดในคดีนี้ประกอบด้วย อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินตามโฉนดที่ดิน อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานในทางทะเบียนในการ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจดําเนินการทางนิติกรรม โอน เปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนได้ และสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร อันเป็นทรัพย์สิน ที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย หากมิได้มีการออกคําสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าว ไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดําเนินการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคําสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าว ตกเป็นของแผ่นดิน สํานักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นายอภิชาติ หงษณานุรักษ์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดและอาจมีการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบ การพิจารณาดําเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคําสั่ง ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดไว้ชั่วคราว จํานวน 30 รายการ พร้อมดอกผล กล่าวคือ มีคําสั่งให้ยึดทรัพย์สิน จํานวน 1 รายการ คือ รายการที่ 1 และมีคําสั่งให้อายัดทรัพย์สิน จํานวน 29 รายการ ได้แก่ รายการที่ 2 ถึงรายการที่ 30 มีกําหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2565 โดยมีรายการทรัพย์สิน ที่ยึดและอายัดปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจําหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สิน ดังกล่าวหรือสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวด้วย
ในกรณีผู้ซึ่งถูกยึดและอายัดทรัพย์สินตามคําสั่งนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าว ประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคําสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ให้ยื่นคําขอเป็นหนังสือต่อเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าเงินหรือทรัพย์สิน ที่ถูกยึดและอายัดดังกล่าวนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง คําสั่งเป็นหนังสือ
อนึ่ง การยักย้าย ทําให้เสียหาย ทําลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทําให้สูญหายหรือทําให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้หรือที่ตนรู้หรือควรรู้ว่าจะตกเป็นของแผ่นดินอาจมีความผิดทางอาญา และต้องระวางโทษตามนัยมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542