ทำหลักฐานเท็จ เบิกเงินสด ยักยอก 47.5 ล. ! ปปง.อายัดที่ดิน จ.เชียงใหม่ 4 แปลง -คอนโดฯ 1 ห้อง 9.2 ล. พนักงานบัญชี บมจ.ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล ไม่มีการเบิกจ่ายจริง หลังศาลจำคุก 90 กระทง 270 ปี เกินกำหนดตามกฎหมาย คงเหลือ 20 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย.2 /2565 วันที่ 11 ม.ค. 2565 เรื่องยึดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว ราย นางจิรารัตน์ ต้นรัตนสิริกุล ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) ตําแหน่งพนักงานบัญชีการเงิน ประจําภูมิภาคเชียงใหม่ ทุจริตด้วยวิธีการแจ้งขอเบิกเงินสดเป็นจํานวนมากเกินกว่าที่ต้องใช้จ่าย ซึ่งไม่ใช่รายจ่ายจริง ไม่มีใบสําคัญจ่าย ไม่มีหลักฐานการเบิกจ่าย และได้บันทึกรายการค่าใช้จ่ายอันเป็นเท็จลงในระบบบัญชีของบริษัทฯ จํานวนหลายครั้ง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 47.5 ล้านบาท เหตุเกิดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2549 - มีนาคม 2557
ทรัพย์สินที่ถูกยึด ประกอบด้วย
(1) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 105067 เลขที่ดิน 79 หน้าสํารวจ 9687 ตําบลแม่เหียะ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 19.4 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน 1,300,000 บาท ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นายนพรุจ ตันรัตนสิริกุล
(2) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 109377 เลขที่ดิน 4623 หน้าสํารวจ 7311 ตําบลวัดเกต อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 20.7 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน 2,600,000 บาท ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นายนพรุจ ตันรัตนสิริกุล
(3) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 69249 เลขที่ดิน 19 หน้าสํารวจ 4918 ตําบลท่าศาลา อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 89.5 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน 1,793,250 บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นสามพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นางนงนุช ชัยพงศ์พิพัฒน์
(4) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 66973 เลขที่ดิน 3135 หน้าสํารวจ 7010 ตําบลท่าศาลา อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 89.5 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน 2,412,900 บาท ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นางนงนุช ชัยพงศ์พิพัฒน์
(5) ห้องชุดเลขที่ 406 ชั้นที่ 4 อาคารเลขที่ 229/137 ชื่ออาคารชุดปันนาเรสซิเดนซ์ 5 เนื้อที่ประมาณ 30,91 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 115244 ตําบลสุเทพ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ราคาประเมินประมาณ 1,184,625.75 บาท ณ วันที่ 30 มกราคม 2556 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นายนพรุจ ต้นรัตนสิริกุล
รวมราคาประเมินทั้งสิ้นประมาณ 9,290,775.75 บาท
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า คดีนี้ พนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องนางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล ในความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้างไปยังพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสั่งฟ้อง และต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคําพิพากษาว่านางจิรารัตน์ มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) วรรคแรก (เดิม) เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จําคุกกระทงละ 3 ปี รวม 90 กระทง เป็นจําคุก 270 ปี แต่ความผิดทุกกรรมมีอัตราโทษอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจําคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกําหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) คงจําคุก 20 ปี ให้คืนหรือชดใช้เงิน 47,593,091.60 บาท ให้แก่โจทก์ร่วม (บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) และศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมมีรายละเอียดดังนี้
ด้วยสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) ได้รับรายงาน จากตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ตามหนังสือที่ ตช 0020(ชม) พงส./3509 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เรื่อง ส่งแบบรายงานกรณีความผิดฐานฟอกเงินและเอกสารประกอบ ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ กล่าวคือ นางจิรารัตน์ ต้นรัตนสิริกุล ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) ตําแหน่งพนักงานบัญชีการเงิน ประจําภูมิภาคเชียงใหม่ ได้ทุจริตด้วยวิธีการแจ้งขอเบิกเงินสดเป็นจํานวนมากเกินกว่าที่ต้องใช้จ่าย ซึ่งไม่ใช่ รายจ่ายจริง ไม่มีใบสําคัญจ่าย ไม่มีหลักฐานการเบิกจ่าย และได้บันทึกรายการค่าใช้จ่ายอันเป็นเท็จลงในระบบ บัญชีของบริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) จํานวนหลายครั้ง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 47.5 ล้านบาท ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2557 ต่างกรรมต่างวาระกัน พนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องนางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล ในความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ไปยังพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสั่งฟ้อง และต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคําพิพากษาว่านางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) วรรคแรก (เดิม) เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จําคุกกระทงละ 3 ปี รวม 90 กระทง เป็นจําคุก 270 ปี แต่ความผิดทุกกรรมมีอัตราโทษอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจําคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกําหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) คงจําคุก 20 ปี ให้คืน หรือชดใช้เงิน 47,593,091.60 บาท ให้แก่โจทก์ร่วม (บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) ในคดีหมายเลขดําที่ อ 3077/2559 หมายเลขแดงที่ อ 5291/2561 และศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทําความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ประกอบกับคําสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 1/2564 ลงวันที่ 4 มกราคม 2564 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรม หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด รายนางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล กับพวก คําสั่งเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 386/2564 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด (เพิ่มเติม) รายนางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล กับพวก และคําสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 642/2564 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2564 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด (เพิ่มเติม) รายนางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ดําเนินการตรวจสอบรายงานการทําธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่านางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐาน ตามมาตรา 3 (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็น ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทําความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทําธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด รวมทั้งจากการรวบรวมพยานหลักฐาน ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด จํานวน 5 รายการ พร้อมดอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดในคดีนี้ประกอบด้วยอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่ดินตามโฉนดที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานในทางทะเบียน ในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองโดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครอง อาจดําเนินการทางนิติกรรมโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองในทางทะเบียนได้ หากมิได้มีการออกคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิ ในทรัพย์สินดําเนินการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมา ศาลได้มีคําสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สํานักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สิน ดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านางจิรารัตน์ ตันรัตนสิริกุล กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน ที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด และอาจมีการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบ การพิจารณาดําเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรม จึงมีคําสั่งยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดไว้ชั่วคราว จํานวน 5 รายการ พร้อมดอกผล ได้แก่
(1) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 105067 เลขที่ดิน 79 หน้าสํารวจ 9687 ตําบลแม่เหียะ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 19.4 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน) ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นายนพรุจ ตันรัตนสิริกุล
(2) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 109377 เลขที่ดิน 4623 หน้าสํารวจ 7311 ตําบลวัดเกต อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 20.7 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน
2,600,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นายนพรุจ ตันรัตนสิริกุล
(3) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 69249 เลขที่ดิน 19 หน้าสํารวจ 4918 ตําบลท่าศาลา อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 89.5 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน 1,793,250 บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นสามพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นางนงนุช ชัยพงศ์พิพัฒน์
(4) ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 66973 เลขที่ดิน 3135 หน้าสํารวจ 7010 ตําบลท่าศาลา อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 89.5 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมิน 2,412,900 บาท (สองล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นสองพันเก้าร้อยบาทถ้วน) ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นางนงนุช ชัยพงศ์พิพัฒน์
(5) ห้องชุดเลขที่ 406 ชั้นที่ 4 อาคารเลขที่ 229/137 ชื่ออาคารชุดปันนาเรสซิเดนซ์ 5 เนื้อที่ประมาณ 30,91 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 115244 ตําบลสุเทพ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ราคาประเมินประมาณ 1,184,625.75 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นสี่พัน หกร้อยยี่สิบห้าบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) ณ วันที่ 30 มกราคม 2556 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ นายนพรุจ ต้นรัตนสิริกุล
รวมราคาประเมินทั้งสิ้นประมาณ 9,290,775.75 บาท (เก้าล้านสองแสนเก้าหมื่นเจ็ดร้อย เจ็ดสิบห้าบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) มีกําหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2565
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจําหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวหรือสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวด้วย
ในกรณีผู้ซึ่งถูกยึดทรัพย์สินตามคําสั่งนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าว ประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคําสั่งยึดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ให้ยื่นคําขอเป็นหนังสือต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าเงินหรือทรัพย์สิน ที่ถูกยึดดังกล่าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง เป็นหนังสือ
อนึ่ง การยักย้าย ทําให้เสียหาย ทําลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทําให้สูญหายหรือทําให้ ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้หรือที่ตนรู้หรือควรรู้ว่าจะตกเป็นของแผ่นดิน อาจมี ความผิดทางอาญาและต้องระวางโทษตามนัยมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ. 2542