ผู้บริการบริษัทไบออนเท็ค หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเท็ค คาดกลางปีหน้าต้องมีวัคซีนตัวใหม่ใช้รับมือโควิดกลายพันธุ์ ชี้นี่คือจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการของไวรัส
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19หรือโคโรน่าไวรัสว่าผู้บริหารของบริษัทไบออนเท็คซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์และไบออนเท็ตได้ออกมากล่าวว่าวัคซีนโควิดสูตรใหญ่นั้นอาจจะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในช่วงกลางปี 2565 เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่เกิดการกลายพันธุ์
โดยนายอูคูร์ ซาฮิน ผู้บริหารบริษัทไบออนเท็คได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์ว่าเมื่อเวลาที่ผ่านพ้นไป การกลายพันธุ์ที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้จะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้วัคซีนที่มีอยู่ในปีนี้นั้นจะไม่เป็นที่ต้องการโดยสิ้นเชิง แต่ว่าในช่วงกลางปีหน้า สถาการณ์ก็อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป
นายซาฮินกล่าวต่อไปด้วยว่าไวรัสโควิด-19 นั้นกำลังเกิดการไหลเวียนในสายพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ที่ทำให้เกิดโรคติดต่อกันมากขึ้น แต่ว่าไวรัสนั้นยังไม่มีการกลายพันธุ์มากพอที่จะทำลายประสิทธิภาพของวัคซีนในปัจจุบัน ซึ่งการฉีดเข็มบูสเตอร์นั้นยังคงดูเหมือนว่าจะสามารถสกัดไวรัสสายพันธ์หลักได้ แต่ทว่าไวรัสในท้ายที่สุดแล้วจะพัฒนาการกลายพันธุ์ไปจนถึงจดที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันที่ถูกเสริมสร้างโดยวัคซีนได้ ซึ่งนี่จะนำไปสู่ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับแต่งเพื่อรับมือกับสายพันธุ์ใหม่โดยเฉพาะ
“ไวรัสนี้จะอยู่และจะปรับตัวเองเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก เราไม่มีเหตุผลให้ต้องอนุมานว่าไวรัสรุ่นต่อไปจะสามารถถูกจัดการได้ง่ายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของเราเมื่อเทียบกับไวรัสรุ่นนี้ นี่คือการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และการวิวัฒนาการเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น”นายซาฮินกล่าว
ผู้บริหารบริษัทไบออนเท็คยังคาดการณ์ด้วยว่าในปีหน้านั้นจะมีโครงการฉีดวัคซีนหลักแค่ 2 โครงการเท่านั้นคือการฉีดบูสเตอร์สำหรับคนที่ฉีดวัคซีนแล้วและการเดินหน้าผลักดันผู้ยังไม่ถึงการฉีดวัคซีนซึ่งมีจำนวนน้อยให้เข้ารับการฉีดวัคซีน
อนึ่งบริษัทไฟเซอร์และบริษัทไอออนเท็ค ณ เวลานี้นั้นกำลังถูกกดดันเป็นอย่างยิ่งจากประเทศที่กำลังพัฒนาและกลุ่มช่วยเหลือต่างๆ เพื่อที่จะให้ทั้ง 2 บริษัทนั้นแบ่งปันสิทธิบัตรด้านวัคซีน เพื่อที่จะนำไปสู่การผลิตวัคซีนให้ได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น แต่ทว่าทั้ง 2 บริษัทก็ได้ปฏิเสธคำขอ โดยทางด้านของนายซาฮินกล่าวว่าไม่อยากจะให้มีความเสี่ยงในประเด็นเรื่องของคุณภาพวัคซีน ขณะที่นายอัลเบิร์ต โบวล่าร์ ผู้บริหารบริษัทไฟเซอร์ก็ได้แย้งเช่นกันว่ามันจะสร้างแรงจูงใจทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา
เรียบเรียงจาก:https://www.ft.com/content/d88457da-6bbc-4f07-82a6-4738aa845492
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage