"...จะสังเกตเห็นว่าเนื้อข่าวข้างต้นนี้ มิได้บอกว่ามีผู้พิพากษาศาลฎีกาไทยรับสินบน เพียงแต่บอกว่าให้ ตรวจสอบว่าคนที่บริษัทจ้างทำคดีอยู่นี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งในปัจจุบัน และในอดีตที่จะช่วยในรูปคดีหรือไม่ ถ้าหากทางบริษัทมีหลักฐานการให้และรับสินบนอยู่แต่ยังไม่ เปิดเผยในตอนนี้ ก็แล้วไป แต่ถ้าไม่มี การออกข่าว “ตีกิน” แบบนี้..."
....................................
การเสนอข่าวพร้อมๆกันทั่วโลกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการทุจริตในประเทศไทยของสำนักข่าวทาง เศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกอย่างเช่น Bloomberg, Reuters, Nikkei Asia, the Wall Street Journal, Nasdaq, the FCPA Blog รวมทั้ง Bangkok Post ของไทยเองด้วย เมื่อวันที่ 18 และ 19 มี.ค. 2021 ต้องถือว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะข่าวที่ว่านี้เป็นข่าวทีแถลงโดยบริษัท Toyota Motor Corporation บริษัทผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ว่าบริษัทได้แจ้งให้ คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา หรือ US Securities Exchange Commission (US SEC) ทราบตั้งแต่เมื่อเดือน เม.ย. ปีที่แล้ว ว่า เป็นไปได้ที่จะมีการกระทำผิดตาม กฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต โดยบริษัทสาขาของตนใประเทศไทย ในคำแถลงการณ์สั้นๆนี้ มิได้ระบุรายละเอียดว่าการกระทำผิดที่ว่านั้นคืออย่างไร หรือมีสาเหตุอันใดทางบริษัทจึงรอถึงเกือบปี เพื่อมาแถลงข่าวในตอนนี้
ต่อมาในวันที่ 29 มี.ค 2021 ในเว็ปไซด์ชื่อ Law360 นาย Frank G. Runyeon นักเขียนของหน่วยงานนี้ ก็ให้ข่าวเพิ่มเติมว่าการกระทำความผิดที่ว่านั้นคือการให้สินบนผู้ พิพากษาและเจ้าหน้าที่รัฐคนไทยในความพยายามที่จะให้กลับคำตัดสินเกี่ยวกับภาษีนำเข้ารถยนต์พรีอุสจำนวน 350 ล้านเหรียญอเมริกัน (“paid off Thai judges and government officials in an effort to overturn a $350 million import tax judgment related to its Prius cars) ซึ่งข้อมูลในข่าวนี้ได้ ถูกนำมาถ่ายทอดในเว็ปไซด์ของสำนักข่าวอิศราเมื่อวันที่ 31 มี.ค.และ 1 เม.ย. 2564 โดยให้รายละเอียด เพิ่มเติมว่าบริษัทโตโยต้าได้จ้างสำนักกฎหมายของไทย 8 แห่งและจ่ายเงินให้แก่คนไทย 12 คนเพื่อต่อสู้คดีภาษีนี้ในศาล และทางบริษัทต้องการทราบเพิ่มเติมว่า “ผู้ที่ได้รับเงินดังกล่าวนั้นมีอิทธิพลเชื่อมโยงกับ กลุ่มบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาหรืออดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะส่งผลต่อรูปคดีของ บริษัทพรีอุสหรือไม่ ( whether the recipients of any such payments had any connection to, influence over, or ex parte contact with sitting Thailand Supreme Court judges who might rule on Toyota's case)”
จะสังเกตเห็นว่าเนื้อข่าวข้างต้นนี้ มิได้บอกว่ามีผู้พิพากษาศาลฎีกาไทยรับสินบน เพียงแต่บอกว่าให้ ตรวจสอบว่าคนที่บริษัทจ้างทำคดีอยู่นี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งในปัจจุบัน และในอดีตที่จะช่วยในรูปคดีหรือไม่ ถ้าหากทางบริษัทมีหลักฐานการให้และรับสินบนอยู่แต่ยังไม่ เปิดเผยในตอนนี้ ก็แล้วไป แต่ถ้าไม่มี การออกข่าว “ตีกิน” แบบนี้ ต้องถือว่าสร้างความเสียหายแก ชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ขององคก์ารยตุธิรรมของไทยเป็นอย่างมาก และอาจเข้าข่ายหมิ่นศาลได้ จึงเป็น หน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรมของไทยต้องออกมาแถลงการณ์โดยทันทีเมี่อวันที่ 4 เม.ย. 2564 ว่าคดีนี้ทางศาลฎีกาเพิ่งมีมติให้รับไว้พิจารณาเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 ยังไม่ได้ทำการพิจารณาในรายละเอียด และตัดสินแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น การให้ข่าวทำนองนี้ต้องระมัดระวัง และทางสำนักงานศาลยุติธรรม ยังกล่าวด้วยว่าถ้ามีผู้พิพากษาทำผิดจริงก็จะต้องถูกลงโทษอย่างจริงจ้ง
ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว มองว่าเรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาในขณะนี้ 2 เรื่อง คือ 1. ทำไมบริษัทโตโยต้าจึงต้องออกมาแถลงข่าวว่าคนของบริษัทอาจมีการกระทำความผิดในประเทศไทยตามกฎหมายของ สหรัฐอเมริกาโดยอ้างความร่วมมือกับคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกระทรวง ยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา และ 2. เป็นไปได้แค่ไหนที่จะมีผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งในอดีตและปัจจุบันคน ไหนสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในทำนองนี้ในครั้งนี้ แล้วสามารถเอาตัวรอดได้
ในประการแรกนั้น ทางการสหรัฐอเมริกามีความเข้มงวดและเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมาย ต่อต้านการทุจริตข้ามชาติ หรือที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Foreign Corrupt Practices Act (FCPA) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี Jimmy Carter เมื่อปี ค ศ 1977 แต่มาบังคับ ใช้อย่างจริงจังในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เมื่อทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาการทุจริตโดย เจ้าหน้าที่ของรัฐมากขึ้น และสหประชาชาติเองก็ออกอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UN Convention Against Corruption หรือ UNCAC) มาให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติ แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า ถ้ามีการทุจริตในประเทศไทย ทำไมสหรัฐอเมริกาจะต้องเข้ามายุ่งด้วย? หรือจะเอากฎหมายของ สหรัฐอเมริดามาบังคับใช้กับความผิดในประเทศไทยได้อย่างไร?
ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ในกฎหมาย FCPA ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ระบุว่าบริษัทหรือคนของบริษ้ทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา กระทำการทุจริตตามกฎหมายนี้ ไม่ว่าจะทำที่ไหนก็ตาม จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาฉบับนี้ด้วย (แต่ตามกฎหมายนี้จะผิดฐานทุจริตเฉพาะผู้ให้สินบนเท่านั้น ไม่ใช่ผู้รับสินบน ซึ่งอาจผิดฐานอื่น เช่นฟอกเงิน) ถึงแม้โตโยต้าจะเป็นบริษัทญี่ปุ่นและการทำผิดเกิดขึ้นที่เมืองไทย แต่เนื่องจากโตโยต้ามีหุ้นซื้อขายอยู่ใน Wall Street บริษัทก็จะมีความผิดด้วยถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีกระทำความผิดจริงในประเทศไทย แต่ทางการสหรัฐ ก็มีเงื่อนไขวิธีปฏิบัติเพิ่มเติมว่าถ้ายอมสารภาพผิด เสียก่อน และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบและการป้องกันการกระทำความผิดอีก ทางการก็จะตกลง ไม่ฟ้องทางอาญา (Non Prosecution Agreement หรือ NPA) หรือการชะลอการฟ้องทางอาญาไว้ก่อน (Delayed Prosecution Agreement หรือ DPA) และจะใช้การปรับเป็นเงินหรือการชดใช้ความเสียหาย ด้วยวิธีอื่นแทน บริษัทส่วนใหญ่เมื่อรู้ว่าคนของบริษ้ททำผิด หรือพิสูจน์ไม่ได้ว่าไม่ได้ทำผิดก็ยอม สารภาพไว้ก่อนถึงแม้ค่าปรับจะสูงมากก็ตาม อย่างเช่นบริษัท Siemens ของเยอรมนีเคยถูกปรับถึง 800 ล้านเหรียญอเมริกัน หรือคิดเป็นเงินไทย่กว่า 25,000 ล้านบาทเพื่อแลกกับการที่ผู้บริหารของบริษัทไม่ ต้องถูกติดคุก บริษัทโตโยต้าคงคิดอย่างเดียวกัน
ในเมื่อบริษัทโตโยต้าออกมาให้ข่าวอย่างนี้ จะเชื่อได้หรือไม่ว่าทางบริษัทคงมีข้อมูลอยู่แล้วว่ามีการให้ และรับสินบนจริง มิเช่นนั้นคงไม่จำเป็นต้องออกมาพูดเช่นนี้ คำตอบคือไม่แน่เสมอไป แต่เนื่องจาก ทางการสหรัฐอเมริกามีความเข้มงวดกับการตีความเรื่องการทุจริตมาก เช่นการเชิญให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องนั้นๆไปดูงานของบริษ้ทในต่างประเทศก็อาจเข้าข่ายทุจริตแล้ว บริษ้ทยักษ์ใหญ่เหล่านี้จึงเห็นว่าได้ไม่คุ้มเสีย ยอมเสียค่าปรับดีกว่าติดคุก ทางการของไทยที่มีหน้าที่ ต่อต้านการทุจริตโดยตรงอย่างเช่นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็มักจะได้ประโยชน์จากเหตุการณ์เช่นนี้
เพราะเราจะได้ข้อมูลเริ่มต้นจากคดีเหล่านี้ อาทิ คดีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คดีเครื่องตรวจจับ วัตถุระเบิด CTX9000 คดีโรงงานยาสูบ หริอคดีเครื่องยนต์ Rolls Royce เป็นต้น ผู้เขียนแน่ใจว่า คดีของบริษ้ทโตโยต้านี้ก็จะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของ ป.ป.ช. ในที่สุดเช่นเดียวกัน
ในประการที่สอง เมื่อมีการระบุอย่างชัดเจนว่าอาจมีผู้พิพากษาทั้งในอดีตและปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการ ทุจริตในเรี่องนี้ ความเดือดร้อนก็ไปตกกับหน่วยงานที่รับผิดชอบกับการบริหารองค์การยุติธรรมของไทย คือสำนักงานศาลยุติธรรมซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) สำนักงานศาลยุติธรรมไม่อาจปฏิเสธได้อย่างเต็มปากเต็มคำก่อนจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ละเอียดว่าไม่มีการทุจริตในรูปแบบนี้อยู่ คงได้แต่กล่าวว่า “พฤติการณ์ของการแอบอ้างหรือกล่าวหาว่า อาจมีการจ่ายสินบนให้ผู้พิพากษา นั้น เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งอาจไม่มีมูลความจริงอยู่เลย” และกล่าวต่อว่า “หากศาลยุติธรรมได้รับข้อมูลหรือสามารถตรวจสอบได้อย่างแน่ชัดว่าผู้พิพากษาท่านใดกระทำการอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการรับสินบนหรือไม่ ศาลยุติธรรมโดยคณะกรรมการตุลา การศาลยุติธรรมก็จะดำเนินการตรวจสอบและลงโทษอย่างเด็ดขาดกับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสื่อม เสียต่อเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา ทำลายความเป็นกลางของศาลและทำให้สังคมไม่เชื่อมั่นใน กระบวนการยุติธรรมของไทย”
ในฐานะที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์เป็นกรรมการ ก.ต. คนนอกอยู่สองปีระหว่าง 2557 ถึง 2559 ไม่แต่ เพียงจะยืนยันว่าระบบการบริหารจัดการหรือการทำงานขององคการตุลาการศาลยุติธรรมของไทยจะเข้มงวดและเด็ดขาดกับการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของผู้พิพากษกทุกระดับชั้นจริงเท่านั้น แต่ ยังจะยืนยันต่อไปด้วยว่าโครงสร้างและวิธีการตรวจสอบและควบคุมการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ของผู้พิพากษาไทยนั้นไม่เป็นสองรองใครหรือประเทศใดในโลก แต่ที่สำคัญกว่านี้คือจริยธรรม วัฒนธรรมและแนวทางการปฏิบัติตนของตุลาการศาลยุติธรรมของไทยที่ยึดความถูกต้อง เป็นกลาง และ มีความมีอิสระเต็มที่ในการทำงานจะเป็นเหตุผลสำคัญที่จะปิดกั้นโอกาสการประพฤติตนนอกลู่นอกทาง ของผู้พิพากษาไม่ว่าในระดับใด และหากจะมี “บุคคลนอกแถว” กระทำความผิดขึ้น ระบบการตรวจสอบ ที่มีอยู่ก็จะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจว่าคนทำผิดจะถูกจับได้และจะถูกลงโทษอย่างเฉียบขาด แต่จะเป็น การลงโทษที่กระทำอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ทำให้ภาพลักษณ์ของกระบวนการศาลยุติธรรมไทย ยังคงความน่าเชื่อถืออยู่ได้
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้พวกเราประชาชนโดยทั่วไปกคงทำอะไรมากไม่ได้นอกจากรอให้ผู้ทีมีหน้าที่ เกี่ยวข้องได้ท างานของแต่ละคนไป โดยเราจะเฝ้าติดตามอย่างใจจดใจจ่อ
โดย ศาสตราจารย์ ดร เมธี ครองแก้ว คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า
Canberra, Australia
6 เม.ย. 2564
อ่านประกอบ :
พลิกปูม! คดีภาษีพรีอุสหมื่นล. ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับโตโยต้าแพ้-ยื่นฎีกาต่อแล้ว
ศาลยุติธรรม แจงคดีสินบนโตโยต้า หากมีผู้พิพากษาทุจริตจริงจะลงโทษอย่างเด็ดขาด!
เปิดข้อมูลลับโตโยต้า! สอบสวน บ.ลูกไทย จ่ายสินบน พ.ศาลฎีกาพลิกคดีภาษีหมื่นล.