"....สังคมไทยต้องเผชิญกับวิกฤติความขัดแย้งของคนในสังคมอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าวิกฤติจะคลี่คลายลง ทุกวันนี้ จำนวนการสื่อสารที่กระตุ้นความเกลียดชัง บิดเบือนความจริง และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เห็นต่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจากสื่อมวลชนกระแสหลักหรือสื่อภาคประชาชนฝ่ายใดก็ตาม ซึ่งหากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปและไม่เร่งหาทางแก้ไข อาจนำไปสู่วิกฤติความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงยิ่งในสังคม..."
.....................................
หมายเหตุ-เป็นแถลงการณ์ของนักวิชาการด้านสื่อจาก 24 สถาบันการศึกษา
แถลงการณ์นักวิชาการด้านสื่อ
เรื่อง การสื่อสารเพื่อคลี่คลายวิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทย
สังคมไทยต้องเผชิญกับวิกฤติความขัดแย้งของคนในสังคมอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าวิกฤติจะคลี่คลายลง ทุกวันนี้ จำนวนการสื่อสารที่กระตุ้นความเกลียดชัง บิดเบือนความจริง และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เห็นต่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจากสื่อมวลชนกระแสหลักหรือสื่อภาคประชาชนฝ่ายใดก็ตาม ซึ่งหากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปและไม่เร่งหาทางแก้ไข อาจนำไปสู่วิกฤติความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงยิ่งในสังคม
ในฐานะนักวิชาการที่สอนด้านสื่อและการสื่อสารทั้งหมด 62 คน (ตามรายนามแนบท้าย) รู้สึกห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมองว่าการสื่อสารเป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่การหาทางออกที่แท้จริงของวิกฤตการณ์ได้ จึงขอเสนอทางออกดังต่อไปนี้
1. ขอให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรงและการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชังต่อกันทั้งในการเผชิญหน้าและการสื่อสารผ่านสื่อทุกประเภท
2. ขอให้ภาครัฐจัดพื้นที่การสื่อสาร เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติดังกล่าวได้สื่อสารกัน รับฟังกัน และพูดคุยหาทางออกร่วมกันอย่างมีสติ
3. ขอให้ผู้บริหารองค์กรสื่อมวลชนและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในองค์กรสื่อมวลชนยึดมั่นในจรรยาบรรณสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคม นำเสนอข้อมูลข่าวสารของเหตุการณ์อย่างถูกต้อง รอบด้าน ไม่กระตุ้นความเกลียดชัง มุ่งสร้างสติและสันติให้คนในสังคม
4. ขอให้องค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อและการสื่อสาร ทั้งของภาครัฐและภาควิชาชีพ ปฏิบัติงานกำกับดูแลสื่อในเชิงรุกบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสื่อ ความรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รอบด้านของคนในสังคม
5. ขอให้สถาบันการศึกษาและนักวิชาการด้านสื่อและการสื่อสารตระหนักถึงพันธกิจสำคัญของตนในการร่วมแก้ปัญหาสังคมด้วยการสื่อสาร โดยช่วยกันสื่อสารเพื่อสร้างสติและสันติในสังคม รวมถึงเปิดพื้นที่ทางการสื่อสารให้แก่นิสิตนักศึกษา และคนในสังคม เพื่อร่วมกันหาทางออกของวิกฤตการณ์ครั้งนี้
6. ขอให้คนในสังคมร่วมกันตรวจสอบการทำงานของสื่อที่มุ่งสร้างความเกลียดชัง บิดเบือนความจริง และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งอาจนำไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพได้
7. ขอให้ผู้ใช้สื่อมีสติในการส่งสารและรับสาร เคารพในความเป็นมนุษย์ ไม่สื่อสารสร้างความเกลียดชัง เปิดรับข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือในการสร้างความเกลียดชังของฝ่ายใด
15 ตุลาคม 2563
1. มรรยาท อัครจันทโชติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ปรีดา อัครจันทโชติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ชเนตตี ทินนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. เมธา เสรีธนาวงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
6. ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
7. เจษฎา ศาลาทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. อรรณนพ ชินตะวัน มหาวิทยาลัยศิลปากร
9. ทิพยาพร ภาววิมล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. พิชัยวัฒน์ แสงประพาฬ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. มาโนช ชุ่มเมืองปัก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
12. พิณชาญ แดงกุลวานิช มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
13. อรุโณทัย วรรณถาวร นักวิชาการอิสระ
14. ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15. ประกายกาวิล ศรีจินดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
16. ดิฐพงศ์ ประเสริฐไพฑูรย์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
17. ธิติกานต์ เลิศประพฤติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. ผศ.กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
20. ผศ.นันทสิทธิ์ กิตติวรากูล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21. กัญญาวีร์ ญาณชโลทร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. อ.อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
23. มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24. ธัญพร เฮงวัฒนอาภา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25. ดร.พีรชัย เกิดสินธุ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
26. พรรณอร อ่อนศรี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
27. ผศ.ดร.เสริมศิริ นิลดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
28. ผศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. ผศ.ดร.ณรงค์ ขำวิจิตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
30. ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
31. มณฑลี รัตนสร้อย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
32. เอกพล เธียรถาวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33. อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
34. พักตร์พิไล คุปตะวาทิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
35. ยศพล ชุติปัญญะบุตร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
36. อาจารย์พิเชษฐ์ แตงอ่อน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
37. ดวิณ ศรีใจวัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
38. ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
39. จินต์สิรี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
40. ตวงทอง สรประเสริฐ มหาวิทยาลัยบูรพา
41. ภัทรกร เสนไกรกุล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
42. อาจารย์ ดร.รดี ธนารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
43. รินทร์ลภัส เกตุวีระพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
44. ดร.สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
45. กะรัตพลอย ถ้ำแก้ว ศิลปอุไร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
46. ดร.ชานนท์ ศิริธร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
47. อาชวิชญ์ กฤษณสุวรรณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
48. ยุทธนา สุวรรณรัตน์ มหาวิทยาลัยสยาม
49. จารุวรรณ กิตตินราภรณ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
50. สิริลักษณ์ พัฒนลีลาวงศ์
51. ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
52. พัชรี วังคำคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
53. วารี ฉัตรอุดมผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
54. ณัฐนัย เลิศปรีชาภักดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
55. ธนกาญจน์ ผลดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
56. สุภิญญา กลางณรงค์ อดีต กสทช.
57. ไศลทิพย์ จารุภูมิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
58. วรรณรัตน์ นาที มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
59. พิรงรอง รามสูต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
60. อ.ดร.อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
61. พระสมชาย ชวลิตเนตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
62. ธนพล เชาวน์วานิชย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย