"...ฮอร์โมนความเครียด cortisol และ norepinephrine จะกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก ประสาทอัตโนมัตินี้ จะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว เตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ ชีพจรต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออกมาก ... เมื่อร่างกายจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อการต่อสู้ จะมี กระแสประสาทซิมพาเทติกสูงขึ้น นั่นคือ เมื่อมีความเครียด ประสาทซิมพาเทติก จะทำงานมากขึ้น (บางคนเวลาเครียด ถึงรู้สึกใจสั่น) ... ดังนั้น เมื่อมีความเครียด ประสาทซิมพาเทติก ทำงานมากขึ้น จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดสี ที่โคนผม น้อยลง ... ผมที่งอกใหม่จะมีปริมาณสีน้อยลงด้วย ผมจึงหงอกครับ..."
การทดลองในหนู โดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่เลี้ยงตามปกติ และ กลุ่มที่ถูกทำให้เครียดมาก (ด้วยการขังในกรงขนาดเท่าตัวหนู ไม่ให้ขยับ นานวันละ 4 ชั่วโมง) เมื่อผ่านไป 5 วัน นำหนูมา ตรวจสภาพของเส้นขน พบว่า ขนหงอกในกลุ่มที่มีความเครียด เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม และ ขณะเดียวกัน ค่าเลือด ฮอร์โมนความเครียด cortisol และ norepinephrine ในกลุ่มที่มีความเครียดก็ยืนยันว่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมมาก ...เป็นการยืนยันว่า ความเครียดทำให้ขนหนูเปลี่ยนจากสีดำ เป็นสีขาว (ไม่มีสี) จริง ... เทียบกับในคน ก็คือ ผมหงอก
สีของขน หรือ เส้นผม เกิดจาก การผลิตสีจาก เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดสี (melanocyte stem cell) ที่อยู่ที่โคนผม หรือ โคนขน โดยเส้นผมที่งอกยาวขึ้นมาใหม่ จะได้รับเม็ดสี จากเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งจะมีปริมาณที่เพียงพอ แต่จะมีจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดสีลดน้อยลงไปตามวัย ... หากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดสีมีน้อย จะมี สีในเส้นผมน้อย (เห็นเป็นสีเทา หรือ สีขาว) ... ปัจจัยที่มีผล ในการควบคุมปริมาณ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดสีที่โคนผม ที่มีการพิสูจน์แล้วคือ ระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่ง เป็นระบบประสาทอัตโนมัติ มีส่วนหนึ่งอยู่ที่โคนเส้นผม หรือ ขน (เวลาตกใจหรือตื่นเต้นมากถึง มีอาการขนลุก).... โดยพบว่าถ้ามีสัญญาณจากประสาทซิมพาเทติก มากขึ้น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดสีที่โคนผม จะลดลง...
ฮอร์โมนความเครียด cortisol และ norepinephrine จะกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก ประสาทอัตโนมัตินี้ จะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว เตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ ชีพจรต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออกมาก ... เมื่อร่างกายจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อการต่อสู้ จะมี กระแสประสาทซิมพาเทติกสูงขึ้น นั่นคือ เมื่อมีความเครียด ประสาทซิมพาเทติก จะทำงานมากขึ้น (บางคนเวลาเครียด ถึงรู้สึกใจสั่น) ... ดังนั้น เมื่อมีความเครียด ประสาทซิมพาเทติก ทำงานมากขึ้น จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดสี ที่โคนผม น้อยลง ... ผมที่งอกใหม่จะมีปริมาณสีน้อยลงด้วย ผมจึงหงอกครับ
เครียดทำให้ผมหงอก เป็นเรื่องจริงนะครับ มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
อ้างอิง : Nature. 2020 January ; 577(7792): 676–681. doi:10.1038/s41586-020-1935-3.
บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune
ที่มา : https://www.facebook.com/102927826723871/posts/1287751468241495/?extid=0&d=n