"...พัฒนาภารกิจของอัยการในการแสวงหาความจริงโดยสามารถที่จะทำการสืบสวนสอบสวนเมื่อพิจารณาว่ามีความจำเป็นหรือเป็นคดีสำคัญ หรือคดีที่เจ้าหน้าที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหรือละเลยล่าช้าจงใจไม่เริ่มดำเนินคดี โดยเมื่อเกิดเหตุคดีอาชญากรรมสำคัญในพื้นที่ อัยการจะสั่งให้ พนักงานสืบสวนสอบสวนสังกัดสานักงานอัยการสูงสุดทำการแสวงหาข้อเท็จจริงคู่ขนานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ต้องรออ่านแต่สำนวนที่ความจริงแห่งคดีและพยานหลักฐานอาจถูกบิดเบือนทำลายสร้างนิยายการสอบสวน โดยอัยการจะต้องมีเครื่องมือและบุคคลากรที่สามารถแสวงหาความจริงที่เจ้าหน้าที่ผู้ทุจริตต้องการปกปิดได้ด้วย จึงขอเสนอให้สานักงานอัยการสูงสุดจัดให้มีพนักงานสืบสวนสอบสวนสังกัดอัยการจังหวัด จังหวัดละ 8-10 คน (เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถภาคสนามพกอาวุธปืนได้ไม่ใช่งานนิติกร)..."
เมื่อวันที่ 25 ก.ย.2563 อัยการจังหวัด 111 คน ร่วมลงชื่อถึง นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด เพื่อเสนอเรื่อง การปฏิรูประบบงานสอบสวนและงานดำเนินคดีของอัยการ รายละเอียดดังนี้
ปัจจุบันประชาชนมีบทบาทในการเรียกร้องและคาดหวังต่อการอำนวยความยุติธรรมจากอัยการเป็นอย่างยิ่ง คณะอัยการรุ่น 8 ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มกันของอัยการจังหวัดทั่วประเทศ 111 ท่าน ทราบและตระหนักดีว่าท่านอัยการสูงสุดได้เสียสละทั้งกำลังกายและสติปัญญาเพื่อพัฒนาองค์กรอัยการให้มีความก้าวหน้าทันสมัยเพื่อตอบสนองในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ในการนี้ คณะอัยการรุ่น 8 ได้มีมติที่จะสนับสนุนภารกิจและให้ความร่วมมือกับท่านอัยการสูงสุดโดยการให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะที่มาจากประสบการณ์ตรงจากการทางานในปัจจุบัน สภาพปัญหาการดาเนินคดีอาญาที่ร้ายแรงที่สุดคือการปกปิด บิดเบือนหรือทำลายพยานหลักฐานและไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อให้เกิดอุปสรรคอย่างยิ่งในการอำนวยความยุติธรรมที่แท้จริงแก่ประชาชน ส่งผลให้ภารกิจของอัยการในฐานะ “อัยการแผ่นดิน” ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดตัวจริงมาลงโทษและที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือตกเป็นเครื่องมือเจ้าหน้าที่ผู้ทุจริตใช้เป็นเครื่องมือฟ้องและลงโทษคนบริสุทธิ์โดยไม่รู้ตัว สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์องค์กรอัยการและสร้างความเจ็บปวดชอกช้ำแก่ประชาชนทั้งผู้เสียหายและผู้ต้องหา ส่งผลเสียหายต่อปราบปรามอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมในที่สุด
สาเหตุแห่งปัญหาที่เกิดจากบทบาทหน้าที่ของอัยการไทยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและระเบียบการดาเนินคดีอาญาที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้อัยการไทยทั้งไม่ตระหนักในบทบาทหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงความจริงแห่งคดีและสานักงานอัยการต่างๆขาดบุคคลากรที่จะสนับสนุนการภารกิจในการแสวงหาข้อเท็จจริงแห่งคดีได้ด้วยตนเองตามมาตรฐานการทำงานของอัยการในระดับสากลในประเทศต่างๆทั่วโลก อัยการไทยจึงไม่สามารถเป็นที่พึงแก่ประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมอย่างแท้จริงให้สมศักดิ์ศรี “อัยการแผ่นดิน” ผลักไสประชาชนต้องไปร้องขอความช่วยเหลือนอกระบบกระบวนการยุติธรรมภาครัฐ เช่น ทนายความ สื่อมวลชน หรือ มูลนิธิต่างๆ เพื่อช่วยเรียกร้องความยุติธรรมอันเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า กระบวนการยุติธรรมไทย ล่าช้า ราคาแพง คนจนเข้าไม่ถึงความเป็นธรรม คนรวย คนมีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ผู้ทุจริตจึงหลุดรอดเงื้อมมือของกฎหมายและในที่สุดคุกจึงมีไว้ขังเฉพาะแต่คนจน
คณะอัยการรุ่น 8 ขอกราบเรียนเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้
พัฒนาภารกิจของอัยการในการแสวงหาความจริงโดยสามารถที่จะทำการสืบสวนสอบสวนเมื่อพิจารณาว่ามีความจำเป็นหรือเป็นคดีสำคัญ หรือคดีที่เจ้าหน้าที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหรือละเลยล่าช้าจงใจไม่เริ่มดำเนินคดี โดยเมื่อเกิดเหตุคดีอาชญากรรมสำคัญในพื้นที่ อัยการจะสั่งให้ พนักงานสืบสวนสอบสวนสังกัดสานักงานอัยการสูงสุดทำการแสวงหาข้อเท็จจริงคู่ขนานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ต้องรออ่านแต่สำนวนที่ความจริงแห่งคดีและพยานหลักฐานอาจถูกบิดเบือนทำลายสร้างนิยายการสอบสวน โดยอัยการจะต้องมีเครื่องมือและบุคคลากรที่สามารถแสวงหาความจริงที่เจ้าหน้าที่ผู้ทุจริตต้องการปกปิดได้ด้วย จึงขอเสนอให้สานักงานอัยการสูงสุดจัดให้มีพนักงานสืบสวนสอบสวนสังกัดอัยการจังหวัด จังหวัดละ 8-10 คน (เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถภาคสนามพกอาวุธปืนได้ไม่ใช่งานนิติกร) โดยให้มีภารกิจดังต่อไปนี้
1 สืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม กรณีที่เจ้าหน้าที่จงใจล่าช้าไม่ให้ความร่วมมือหรือพยายามปกปิดความจริงโดยไม่ตัดอำนาจในการสั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้สอบสวนเพิ่มเติม
2 ไปร่วมตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรมสำคัญในทันทีหรือกรณีที่จำเป็น
3 เข้าเวรออกชันสูตรคดีวิสามัญฆาตกรรมพร้อมอัยการ
4 เริ่มสืบสวนสอบสวนคดีความผิดนอกราชอาณาจักรทันทีโดยไม่ต้องรอให้ตำรวจสอบสวนจนเสร็จ (อัยการสูงสุดอาจมอบหมายอัยการจังหวัดไว้ล่วงหน้า)
5 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัยการในการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือมีส่วนพัวพันการกระทำความผิดอาญาเพื่อป้องกันการสอบสวนทำลายหลักฐานเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พวกเดียวกัน
6 สืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดีที่ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรม
การบริหารงานคดีอาญาที่สำนักงานอัยการสามารถพัฒนาได้ทันที
1 จัดให้มีอัยการเข้าเวรรับสำนวน (Intake Prosecutor) เพื่อตรวจสอบการสอบสวนให้เสร็จสิ้นทั้งความเรียบร้อยและเนื้อหาพยานหลักฐานสำคัญแห่งคดีก่อนมีคาสั่งรับสำนวน โดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบต้องมาส่งสำนวนด้วยตัวเองเพื่อตอบคำถามต่างๆในทางคดี หากไม่เรียบร้อยก็ส่งคืนทันที (จัดเวรคราวละ 3 เดือนเหมือนชันสูตรเพื่ออัยการไม่นัดสืบพยาน)
2 เมื่อพบการกระทำความผิดทางอาญาของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจในสำนวนให้สอบพยานและรวบรวมเอกสารทำหนังสือถึงต้นสังกัดและ ป.ป.ช เพื่อตรวจสอบ
3 กรณีที่เกิดการกระทำความผิดแต่พยานหลักไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดเพื่อให้ได้มาซึ่งคำพิพากษาลงโทษ ให้แก้ระเบียบเรื่องการสั่งสอบสวนเพิ่มเติมจนกว่าจะได้พยานหลักฐานแน่นหนาเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดแทนการสั่งไม่ฟ้องคดี (ไม่จำเป็นต้องกำหนดประเด็นเพราะอัยการเองก็อาจจะไม่รู้ว่ามีพยานหลักฐานอะไรอีก)
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก https://www.ijrforum.org/content/4014/
คณะอัยการรุ่นที่ 8