ด้วยเหตุนี้องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้หลักประกันแก่ประชาชนว่าจะสามารถใช้สิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างอิสระและปลอดภัย ตลอดจนจะต้องงดเว้นไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการขัดขวางหรือตอบโต้การใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าว
หมายเหตุ: สำนักข่าวอิศรา (https://isranews.org/article/) รายงานวันที่ วันที่ 14 สิงหาคม 2563 กรณีคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์ 23 คน และ คณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ 17 คน ออกแถลงการณ์ ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุม (ดูเอกสารที่ท้ายบทความ)
แถลงการณ์คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุม
สังคมไทยได้พัฒนาเป็นสังคมการเมืองพหุนิยมที่มีการแข่งขันกันในทางความคิดเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมในแนวทางที่แต่ละฝ่ายต้องการอยู่เสมอ การต่อสู้กันในทางความคิดระหว่างกลุ่มที่ต้องการนำสังคมไปตามฐานคติเสรีประชาธิปไตย และกลุ่มที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับจารีตในทางสังคม วัฒนธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้มีแนวโน้มที่จะพัฒนากลายเป็นความขัดแย้งอย่างรุนแรง คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ดังมีรายนามท้ายแถลงการณ์นี้เห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมไทยควรพยายามอย่างถึงที่สุดในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และร่วมกันหาทางออกสำหรับปัญหาความแตกต่างและความขัดแย้งทางความคิด และร่วมกันป้องกันการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาในทุกรูปแบบ
คณาจารย์คณะนิติศาสตร์เห็นว่า ในสังคมการเมืองเสรีประชาธิปไตย ทุกภาคส่วนของของสังคมมีหน้าที่ต้องยืนยันและยอมรับว่าการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธและการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีภายใต้กรอบของกฎหมายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมหรือการแสดงความคิดเห็นนั้นก็ตาม
ทั้งนี้เพราะการยืนยันร่วมกันในลักษณะดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นการส่งเสริมการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชน แต่ยังเป็นการสร้าง “ฉันทามติพื้นฐาน” หรือ “คุณค่าพื้นฐาน” ร่วมกันของสังคมว่าจะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในทางความคิดและอุดมการณ์ได้อย่างสันติ
ด้วยเหตุนี้องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้หลักประกันแก่ประชาชนว่าจะสามารถใช้สิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างอิสระและปลอดภัย ตลอดจนจะต้องงดเว้นไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการขัดขวางหรือตอบโต้การใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าว
คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ยังมีความเห็นอีกด้วยว่า ในสังคมการเมืองพหุนิยมซึ่งมีความคิดและอุดมการณ์แตกต่างหลากหลาย ทุกภาคส่วนของสังคมควรยอมรับว่าไม่มีคุณค่าใดเป็นคุณค่าสูงสุดเด็ดขาด แต่ควรเปิดโอกาสให้คุณค่าทั้งหลายที่ขัดแย้งกันอยู่นั้นได้มี “พื้นที่ในสังคมการเมือง” และมีโอกาสในการพัฒนาตนเองหรือพัฒนาการอุดมการณ์แห่งคุณค่านั้นด้วย แม้ว่าการเคลื่อนไหวหรือการแสดงออกของผู้ชุมนุมเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นบั่นทอนคุณค่าที่คนกลุ่มอื่นของสังคมยึดถือจนพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรง
การประสานคุณค่าและความต้องการที่แตกต่างหลากหลายจะเป็นหลักประกันของการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมเสรีประชาธิปไตยและช่วยเปิดทางสู่การมีพื้นที่ร่วมเพื่อพัฒนาสังคมไปในทางที่ดีขึ้นดังที่ผู้ใช้สิทธิเสรีภาพพึงประสงค์
คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14 สิงหาคม 2563
1. รองศาสตราจารย์ ดร.มุนินทร์ พงศาปาน
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์
3. อาจารย์เมษปิติ พูลสวัสดิ์
4. อาจารย์อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ
5. อาจารย์เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์
7. อาจารย์ปวีร์ เจนวีระนนท์
8. อาจารย์ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล เดชสมบูรณ์รัตน์
10. อาจารย์มาติกา วินิจสร
11. อาจารย์อภินพ อติพิบูลย์สิน
12. รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์
13. ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง
15. รองศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตามพงศ์ ชอบอิสระ
17. อาจารย์ปทิตตา ไชยปาน
18. อาจารย์ปรีญาภรณ์ อุบลสวัสดิ์
19. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอฤมต
20. อาจารย์เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์
21. อาจารย์กรกนก บัววิเชียร
22. อาจารย์พัชราภรณ์ ตฤณวุฒิพงษ์
23. อาจารย์ภัทรพงษ์ แสงไกร
แถลงการณ์คณาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตามที่ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีประกาศไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563
1. เพื่อความรอบคอบ และเป็นไปภายใต้กรอบของกฎหมาย การจัดการพื้นที่ และการดูแลความปลอดภัย
2. ลดความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิด และขยายวงความขัดแย้งจนอาจนำไปสู่ความรุนแรง
3. เพื่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของนิสิตตลอดจนประชาคมจุฬาฯ
จุฬาฯ มีจุดยืนสนับสนุนการทำกิจกรรมนิสิตเสมอ โดยต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รักษาไว้ ซึ่งความสงบเรียร้อย และศีลธรรมอันดี และเป็นกิจกรรมที่ได้รับอนุญาต
****************************************************************
ข้าพเจ้าคณาจารย์ คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังรายนามต่อไปนี้ เห็นว่า
1. นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองและเสรีภาพใการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 34 และมาตรา 44
2. ในกรณีที่การชุมนุมความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายดังที่กล่าวอ้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน ฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พึงต้องส่งเสริมให้มีการใช้ เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม มิใช่ปิดกั้นการจัดชุมนุมหรือจำกัดการแสดงออกเป็นการล่วงหน้า(prior restaint) ดังเช่นการไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมเช่นนี้ หากต่อมา แม้มีการกระทำความผิดจริง ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่จะบังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินคดีในภายหลัง (subsequent punishment)
3. เพื่อการดูแลความปลอดภัย สวัสดิภาพของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพึงต้องชส่งเสริมให้มีการใช้เสรีภาพ พร้อม ๆ กับการเลือกใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ชุมนุม นิสิต บุคลากร และประชาคมจุฬาฯ เช่น การจัดให้มีการรักษาความปลอดภัย โดย รปภ. มหาวิทยาลัย และอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนี้ เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างการ ส่งเสริมการใช้เสรีภาพและการรักษาสวัสดิภาพความปลอดภัยให้ได้อย่างสมดุล
4. พื้นที่ที่นิสิตจะจัดกิจกรมการมนุมและการแสดงออกทางการเมือง คือ ลานพระบรมรูปสองรัชกาล แม้เป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแม้เป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ถือเป็นพื้นที่ของหน่วยงานของรัฐ และที่สำคัญ พื้นที่ดังกล่าวเคยเปิดให้มีการชุมนุมสาธารณะบ่อยครั้ง อาทิ การชุมนุมของกลุ่มจุฬาฯ รักชาติ เมื่อเดือนมีนาคม 2557
มหาวิทยาลัยควรเป็นฟื้นที่เสรี สนับสนุนการแสดงออกทางความคิดและการถกแถลง อันเป็นรากฐานแห่งความก้าวหน้าของศาสตร์วิทยาการต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มข้าพเจ้าจึงคัดค้าน การไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมดังกล่าว
คณาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต
3. อาจารย์ ดร. ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
5. อาจารย์วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
7. อาจารย์ ดร. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
8. รองศาสตราจารย์ ดร.เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล
9. ศาสตราจารย์ ทัชชมัย ฤกษะสุต
10. อาจารย์ณัฏฐพร รอดเจริญ
11. อาจารย์ฐิตินันท์ เต็งอำนวย
12. อาจารย์ฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช
13. อาจารย์ ดร. รวินท์ ลีละพัฒนะ
14. อาจารย์ ดร.พัชร นิยมศิลป์
15. อาจารย์ ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์
16. อาจารย์ ดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์
17. อาจารย์ปภาวดี ธโนดมเดช