"...การแก้ปัญหาวิกฤตกลายเป็นวิกฤตหนักขึ้น ภาคการผลิตการเกษตรที่ควรได้รับการส่งเสริมไม่มีงบประมาณสนับสนุน ภาคบริการสาธารณะของรัฐไม่มีงบประมาณสนับสนุน (งบการศึกษา งบสร้างความเข้มแข็งชุมชน งบพัฒนาท้องถิ่น) วิกฤตต่อจากนี้ คือ การกู้เงินของรัฐบาลที่เต็มเพดานในครั้งนี้ จะทำอย่างไร..."
วันนี้ รัฐบาลไม่ได้มีมาตรการการทำงานแบบเชิงรุกจริง ๆ การเปิดกิจการต่าง ๆ ในวันที่ 3 พ.ค. เป็นเพียงการยอมที่จะให้ธุรกิจได้กลับมาเปิดขึ้นอีกครั้ง แต่มาตรการที่รัฐบาลทำ คือ ความกลัวการระบาดซ้ำ แต่ปรากฎการณ์ที่เห็น คือ การตายสนิทจากการไม่มีอะไรกิน เป็นการกินทุนเก่า และรอแบมือ 5,000 บาท จากรัฐบาล
ข้อเสนอที่ควรทำ ณ ตอนนี้ ถ้ารัฐบาลยังปิดเมืองต่อไปอีก 1 เดือน คือ
1. การขนคนจากจังหวัดต่าง ๆ กลับบ้าน และให้ไปกักตัว 14 วัน ซึ่งคนที่กลับบ้านจะได้อยู่พร้อมคนในครอบครัว พร้อมกับยังมีอาหารได้กิน ภาคการเกษตรของชุมชนไทยยังแข็งแรง ภาคการเกษตรไทยผลิตอาหารได้อย่างไม่ขาดแคลน ราคาอาหารในท้องถิ่นไม่ได้สูงกว่าช่วงเวลาปกติ วิกฤตครั้งนี้ ถ้านำแนวคิดบางอย่างจากปี 40 มาใช้ รัฐบาลอาจจะไม่ได้กู้เงินมาแจกคนละ 5,000 บาทค่อเดือน ด้วยซ้ำ เวลาเริ่มต้นผ่านไปแล้ว ตอนนี้แก้ปัญหาให้คนมีกินโดยไม่ต้องใช้เงินมากดีกว่า
2. การพัฒนา application ติดตามตัวคนเดินทางกลับบ้าน วันนี้ app ติดตามตัวไม่มี เมื่อวันที่ผมเดินทางกลับจาก UK ปลายเดือนมีนาคม หน่วยงานบอกให้ load app และกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเดินทางและการกักตัว ผมทดลองทุกวันช่วงกักตัวเอง ผลปรากฎว่า app ที่ใช้ ไม่ได้แจ้งการติดตามหรือการบ่งบอกการที่จะแจ้งการกักตัวเอง ดังนั้น ถ้ามี app ที่ติดตามตัวจริง ๆ กระทรวง DE น่าจะทำได้ดี แต่วันนี้ ไม่มี ที่สำคัญ จะช่วยการเดินทางของคนที่อยากกลับไปอยู่บ้าน
3. เศรษฐกิจยุคใหม่หลังวิกฤต covid-19 รูปแบบการจ้างงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สิ่งที่น่าสนใจ คือ ระยะสั้น การลดการจ้างงาน และเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานแบบงานประจำเป็นแบบรายวัน งานเป็นชิ้น งานตามสัญญา งานเหมา งานตามระยะเวลา งานตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น งานประจำที่จ่ายเป็นเงินเดือน มีประกันสังคมที่องค์กธุรกิจจ่าย ผู้ประกันตนจ่าย จะกลายเป็นการผลักภาระให้คนทำงานต้องประกันตนเอง จ่ายเอง รักษา-รับผิดชอบตนเอง
4. เศรษฐกิจนอกระบบจะเติบโตขึ้นอย่างมาก บริษัทธุรกิจขนาดเล็กมาก เล็ก และกลาง ติดลบมากว่า 3 เดือน รัฐบาลไม่มีมาตรการสนับสนุนอะไรก่อนหน้า นอกจากการให้กู้เงิน ช่วงที่ผ่านมาการแบกรับภาระต้นทุนในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีใครเสนอว่าจะให้ทำอย่างไร
5. ต้นทุนของรัฐบาลต่อการจัดการการระบาดแพงมาก หนี้เพิ่มขึ้น 2 ล้าน ๆ ทั้ง ๆ ที่ คนในสังคมโดยรวมได้ประมาณ 4-6 แสนล้านบาท อีก 1.5 ล้านล้านบาท กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้ทั้งหมด กองทุนหมุนเวียนหุ้นกู้ กองทุนให้ SMEs กู้ การกู้เงินชดเชยงบประมาณประจำปีของรัฐบาล กระโดดอุ้มธุรกิจของรัฐ (กระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา)
6. การแก้ปัญหาวิกฤตกลายเป็นวิกฤตหนักขึ้น ภาคการผลิตการเกษตรที่ควรได้รับการส่งเสริมไม่มีงบประมาณสนับสนุน ภาคบริการสาธารณะของรัฐไม่มีงบประมาณสนับสนุน (งบการศึกษา งบสร้างความเข้มแข็งชุมชน งบพัฒนาท้องถิ่น) วิกฤตต่อจากนี้ คือ การกู้เงินของรัฐบาลที่เต็มเพดานในครั้งนี้ จะทำอย่างไร
7. นักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจเสนอทางออกของวิกฤตแต่ภาพรวม macroeconomic ภาคการผลิตของครัวเรือน-ชุมชน-ท้องถิ่น ไม่มีใครพูดถึงเลยว่าจะพัฒนาอย่างไร เศรษฐกิจฐานของครัวเรือน คือ การผลิตในชุมชนและท้องถิ่น แรงงานจำนวนมากที่กลับไปอยู่บ้านหนี้วิกฤตการระบาดกลับไปอยู่บ้าน ถ้าได้รับและต่อยอดการพัฒนาการผลิตในพื้นที่จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของครัวเรือนลดปัญหาได้มาก ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือน-ชุมชน-ท้องถิ่น ไว้ จึงทำให้ไม่มีนโยบายอะไรมาส่งเสริมเลย
8. การชะลอของเศรษฐกิจมหภาคของทั่วโลกจะชะงักประมาณ 4-5 ปี ที่จะรอให้การระบาดของเชื้อโรคหายไป การท่องเที่ยว-อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่จะไม่ได้รุ่งเหมือนที่ตั้งเป้าไว้ ต้องปรับตัวกันมาก จะทำอย่างไรดี
9. สื่อกลางที่เรียกว่าเงินในระบบเศรษฐกิจ ที่เห็นเป็นธนบัติและเหรียญ กำลังถูกแทนที่ด้วยเงินลอยลม มีตัวเลขเห็นเป็นเงิน แต่ไม่ได้จับหรือสัมผัสจริง ทุกอย่างมีตัวเลข ความร่ำรวยที่ชี้วัดจากตัวเลขที่สะท้อนตัวเงิน อาจจะหมดความศักดิ์สิทธิ เพราะอาจจะแจงนับได้ยากมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเห็นการไหลเวียนของเงิน แต่เงินลอยลมไม่มีอยู่จริง ตัวเลขที่เห็นเป็นตัวสมมติขึ้น ทุกคนต้องมีตัวตนจริงถึงจะเห็นเงิน รัฐบาลจะกลายเป็นเพียงกลไกสมมติที่ไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย
ณ วันนี้ บทความของนักวิชาการต่างประเทศ ได้เสนอกรอบการพัฒนาที่เปลี่ยนไปจากก่อนหน้านี้ คือ Global Economy โดยเฉพาะการย้อนกลับไปสู่เศรษฐกิจชุมชน Community Economy นักธุรกิจเสนอ Local Economy ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม-ตลาดนิยม กำลังเสื่อมถอยลง สังคมไทยจะเตรียมเดินต่ออย่างไร เศรษฐกิจการผลิตจริงที่กินได้จะเติบโตมากกว่าเศรษฐกิจตลาดที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก thaigov , ไทยรัฐ , สยามรัฐ , signal2forex