"...ในสถานการณ์วิกฤตโควิดที่ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ ตั้งต้องเตรียมมาตรการป้องกัน แต่ที่ลืมไม่ได้คือ "ภัยเงียบ" อุบัติเหตุทางถนน ที่อาจจะลดลง (1/3) เพราะคนลดการเดินทาง แต่ไม่ได้หายไปกับวิกฤตโควิด แต่ในหลายพื้นที่ ถนนยิ่งโล่งรถยิ่งขับเร็ว และพฤติกรรมขับขี่เดิม ๆ ที่มิได้มีการปรับเปลี่ยน เช่น ขับเร็ว ขับจี้คันหน้า คันหน้าชะลอก็แซงซ้ายไหล่ทาง จึงพบความอุบัติเหตุที่ส่งผลให้มีการบาดเจ็บเสียชีวิตอยู่ทุก ๆ วัน (เฉลี่ยเสียชีวิต 30 คน/วัน)..."
ในวิกฤตโควิด ที่ส่งผลให้มีการเลิกจ้างงานและหลายพื้นที่มีการ lock down ส่งผลให้มีประชาชนประสบความลำบากในการหารายได้และขาดแคลนอาหาร ทำให้ทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐ/เอกชนหรือประชาชนที่มีความประสงค์จะแจกจ่ายอาหารให้ กับผู้ประสบวิกฤตโควิด
ความห่วงใยสำคัญที่ ศบค. กังวลคือการที่ทำ ปชช. จำนวนมาต้องมาอยู่ร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ จึงกำหนดแนวทางจัดระเบียบ ทั้งเรื่อง ทุกคนใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างและมีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น เจลล้างมือ
แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงอีกประการที่รุนแรงและส่งผลโดยตรงกับผู้ที่มารับแจกอาหารของใช้ใน บริเวณริมถนน เพราะช่วงนี้ถนนโล่งขึ้นทำให้รถขับเร็ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะรุนแรง อย่างกรณีที่กับจุดแจกของหน้าซอยชัยพรวิถี 27 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ทีมีรถเก๋งสียหลักพุ่งชนชาวบ้านที่กำลังเข้าคิวต่อแถวรอรับของแจกจากผลกระทบโควิด 19 จนทำให้รถจักรยานยนต์ที่จอดริมทางได้รับความเสียหายจำนวน 6 คัน และทำให้มีผู้รับบาดเจ็บทั้งหมด 7 ราย https://www.naewna.com/local/489095
อีกเหตุการณ์ กรณี สส. ที่ขี่บิ๊กไบค์ไปเกิดอุบัติเหตุขณะแจกของกิน โดยคนขับปิกอัพ ให้การว่า ขณะเกิดเหตุได้ขับรถนำอาหารมาส่งให้ลูกค้า ระหว่างกำลังเลี้ยวซ้ายเข้าโชว์รูมรถ ไม่ทันมองว่า มีรถของคู่กรณีวิ่งขนาบข้างอยู่ จึงเลี้ยวรถตัดหน้ากะทันหัน จนพุ่งชน ทำให้ได้รับบาดเจ็บ https://www.thairath.co.th/news/local/east/1830186
นอกจากระมัดระวังเรื่องการแพร่เชื้อจากกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ที่ต้องเตรียมควบคู่กัน คือ การตั้งจุดมอบ/แจกของ บริเวณริมถนนที่เสี่ยง "อันตราย" จะต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัย ควบคู่ไปด้วย
(1) เลือกจุดที่มีเขตทางกว้างห่างจากไหลทาง ไม่น้อยกว่า 5-10 เมตร (ถ้าเป็นถนนหลายช่องทาง รถวิ่งเร็วก็ควรย้ายจุดที่มีคนรอออกไปไม่ตำกว่า 10 เมตร)
(2) ถ้าจำเป็นต้องอยู่ริมทาง ..
2.1 มีมาตรการชะลอความเร็ว ก่อนถึงจุดรับแจก เช่น ป้ายเตือน ฯลฯ
2.2 มีการวางอุปกรณ์แจ้งเตือน เช่น ไฟวาปวาบ กรวยสะท้อนแสง หรือมีรถจอดป้องกันไว้ ฯ ไม่น้อยกว่า 100-150 เมตร เพื่อให้รถผ่านไปมาทราบว่ามีกิจกรรมข้างทาง
ในสถานการณ์วิกฤตโควิดที่ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ ตั้งต้องเตรียมมาตรการป้องกัน แต่ที่ลืมไม่ได้คือ "ภัยเงียบ" อุบัติเหตุทางถนน ที่อาจจะลดลง (1/3) เพราะคนลดการเดินทาง แต่ไม่ได้หายไปกับวิกฤตโควิด แต่ในหลายพื้นที่ ถนนยิ่งโล่งรถยิ่งขับเร็ว และพฤติกรรมขับขี่เดิม ๆ ที่มิได้มีการปรับเปลี่ยน เช่น ขับเร็ว ขับจี้คันหน้า คันหน้าชะลอก็แซงซ้ายไหล่ทาง จึงพบความอุบัติเหตุที่ส่งผลให้มีการบาดเจ็บเสียชีวิตอยู่ทุก ๆ วัน (เฉลี่ยเสียชีวิต 30 คน/วัน)
โดยสรุป .. ระหว่างที่เราช่วยการเปลี่ยนแปลงสร้าง #new normal กับพฤติกรรมเพื่อลดโควิด และสร้างความร่วมมือสังคมเพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรมเหล่านี้ระดับชุมชน ก็ต้องสร้าง new normal กับพฤติกรรมปลอดภัยทางถนนควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น ขับตามกฎหมาย ไม่ขับจี้ ไม่แซงไหล่ทาง ตัดหน้ากระชั้นชิด จยย.ใส่หมวกนิรภัย ฯลฯ สร้างความร่วมมือ่ของคนในชุมชน/สังคมร่วมเฝ้าระวัง รวมทั้งการมีมาตรการทางกายภาพที่สร้างความปลอดภัย ทั้งป้ายความเร็ว ป้าย/อุปกรณ์แจ้งเตือน และอื่น ๆ เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้รถใช้ถนนและมาตรการบังคับใช้กฎหมายถ้าฝ่าฝืน