"...การระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง เพราะอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วในวงกว้างและสถานการณ์อาจยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าคาด โดยเฉพาะธุรกิจและการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยว และมีความเสี่ยงที่นักท่องเที่ยวจีนประเภทกลุ่มทัวร์อาจถูกห้ามเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวอาจต้องใช้เวลาแม้ควบคุมสถานการณ์การระบาดได้แล้ว..."
หมายเหตุ : ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่ รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563
@กรรมการที่เข้าร่วมประชุม
นายวิรไท สันติประภพ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นายคณิศ แสงสุพรรณ นายสุภัค ศิวะรักษ์ นายสมชัย จิตสุชน
@ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพขึ้น เศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตาม ภาคการผลิตที่ยังไม่เข้มแข็ง โดยสินค้าคงคลังของภาคธุรกิจปรับเพิ่มขึ้น การจ้างงานในภาคการผลิตมีทิศทางชะลอลง ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการและเครื่องชี้การบริโภคมีสัญญาณปรับดีขึ้นบ้าง
เศรษฐกิจจีนและเอเชียมีสัญญาณการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพโดยเฉพาะในภาคการผลิต สะท้อนจากสินค้าคงคลังที่มีแนวโน้มลดลง คำสั่งซื้อสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น วัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นตามกระแสการใช้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ตลอดจนความเชื่อมั่นของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นหลังสหรัฐฯและจีนลงนามในข้อตกลงทางการค้าระยะแรกได้
อย่างไรก็ดี การระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลให้ความเสี่ยงในระยะสั้นต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนและเอเชียปรับเพิ่มขึ้น โดยสถานการณ์ดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจยืดเยื้อจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
นโยบายการเงินของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มผ่อนคลายต่อเนื่องจากที่ได้ผ่อนคลายไปมากในปีก่อน โดยในเดือนมกราคม 2563 ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์(reserve requirement ratio: RRR) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบการเงินและธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีโอกาสขยายตัวต่่ากว่าที่ประเมินไว้จากหลายปัจจัย ได้แก่
(1) การระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจแพร่กระจายไปประเทศอื่นมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบในวงกว้างขึ้นจากการบริโภคและภาคการท่องเที่ยวไปยังภาคการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ
(2) การกีดกันทางการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยยังต้องติดตามการดำเนินการตามข้อตกลงระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน เพราะจะมีผลต่อการปรับโครงสร้างทางการค้าและการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีนในระยะต่อไป
(3) ความไม่แน่นอนของข้อตกลงทางการค้าภายหลังสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
และ (4) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจทวีความรุนแรงและยืดเยื้อ โดยเฉพาะการประท้วงในประเทศต่างๆ ที่เกิดบ่อยครั้งมากขึ้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมทั้งความเสี่ยงต่าง ๆ ข้างต้นเพื่อประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านความเชื่อมโยงในแต่ละช่องทางอย่างใกล้ชิด
@ภาวะตลาดการเงิน
ความกังวลในตลาดการเงินโลกปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนา หลังจากที่ปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงก่อนหน้าจากการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีนการระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ส่วนใหญ่ในตลาดการเงินโลกปรับลดลงและเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้น
สำหรับตลาดการเงินไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับลดลง ส่วนหนึ่งจากความต้องการถือครองพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับลดลงต่อเนื่องตามความกังวลในตลาดการเงินโลก รวมถึงความกังวลต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะหลังจาก พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 มีแนวโน้มล่าช้ามากขึ้น
ด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายของนักลงทุนต่างชาติไหลออกสุทธิจากตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น
ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทอ่อนค่าลงบ้างในช่วงที่ผ่านมา แต่อาจยังไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย เงินบาทอ่อนค่าลงเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. นับจากการประชุมครั้งก่อน รวมถึงอ่อนค่าลงเทียบกับสกุลเงินภูมิภาค สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (nominal effective exchange rate: NEER) ที่ปรับลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอดีต
การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากความกังวลของนักลงทุนต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยต่างประเทศกอปรกับ ธปท. ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออก นักลงทุนจึงเริ่มปรับมุมมองว่าเงินบาทอาจมีแนวโน้มอ่อนค่าลงหลังจากที่แข็งค่าไปมากในปีก่อน
ทั้งนี้ เงินบาทเริ่มเคลื่อนไหวสวนทางกับราคาทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (safe haven) ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาด สะท้อนสถานะ safe haven ของสินทรัพย์สกุลเงินบาทในมุมมองของนักลงทุนที่ลดลง
คณะกรรมการฯ เห็นว่าตลาดการเงินในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงจากหลายปัจจัย อาทิ สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา ความเสี่ยงที่การกีดกันทางการค้าอาจกลับมารุนแรงหรือขยายวงกว้างขึ้น ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งอาจกดดันให้ราคาสินทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนของไทยผันผวนได ้คณะกรรมการฯ จึงให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด
@ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและเสถียรภาพระบบการเงิน
เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่่ากว่าประมาณการเดิมและต่่ากว่าระดับศักยภาพมากขึ้นมาก จากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี และภัยแล้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก โดยการส่งออกภาคบริการมีแนวโน้มลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิมมากตามจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงมาก โดยเฉพาะเป็นผลจากรัฐบาลจีนประกาศห้ามนักท่องเที่ยวจีนประเภทกลุ่มทัวร์เดินทางออกนอกประเทศหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา
การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มลดลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคจากการหยุดการผลิตชั่วคราวในจีน อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่าช้ามากขึ้น และยังมีความไม่แน่นอนสูง
การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ตามรายได้ของครัวเรือนที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นทั้งในภาคบริการ เกษตร และอุตสาหกรรม จากการระบาดของไวรัสโคโรนา การส่งออกที่มีแนวโน้มลดลง และภัยแล้งที่รุนแรงกว่าคาด
ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลง โดยความเชื่อมั่นของธุรกิจได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อธุรกิจมากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว
คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงปัจจัยเสี่ยงส่าคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย รวมถึงประเมินผลกระทบของความเสี่ยงในแต่ละกรณี(scenario) ผ่านความเชื่อมโยงในช่องทางต่าง ๆ โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่
(1) การระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง เพราะอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วในวงกว้างและสถานการณ์อาจยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าคาด โดยเฉพาะธุรกิจและการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยว และมีความเสี่ยงที่นักท่องเที่ยวจีนประเภทกลุ่มทัวร์อาจถูกห้ามเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวอาจต้องใช้เวลาแม้ควบคุมสถานการณ์การระบาดได้แล้ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางสำคัญของการคมนาคมขนส่งและภาคการผลิตหลายอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การปิดโรงงานในเมืองอู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียงตั้งแต่วันหยุดตรุษจีนอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิต (supply chain disruption) และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังการฟื้นตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์และภาคการส่งออกของไทยได้
(2) พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจ่าปีที่จะประกาศใช้ได้ล่าช้ากว่าที่ประเมินไว้ ทำให้การดำเนินงานและสภาพคล่องของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะธุรกิจก่อสร้าง
และ (3) ภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าคาดซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนในภาคเกษตร คณะกรรมการฯ จึงให้ติดตามพัฒนาการของปัจจัยเสี่ยงข้างต้นที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง พร้อมประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในแต่ละช่องทางอย่างใกล้ชิด
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 และ 2564 มีแนวโน้มต่่ากว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลงจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ
นอกจากนี้ ราคาพลังงานมีแนวโน้มต่ำกว่าคาดจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้ราคาอาหารสดจะปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากภัยแล้ง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังมีความเสี่ยงด้านต่่าสอดคล้องกับความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ
ระบบการเงินโดยรวมมีความเปราะบางมากขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ (income shock) ของทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ความเสี่ยงในระยะข้างหน้าปรับสูงขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของการใช้จ่ายภาครัฐ และภัยแล้งที่รุนแรงขึ้น เมื่อพิจารณาความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่
(1) ความสามารถในการช่าระหนี้พบว่ากลุ่มธุรกิจ SMEs ขนาดกลางเริ่มมีคุณภาพสินเชื่อด้อยลงมากขึ้น นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจ SMEs ขนาดเล็ก ซึ่งมีความเปราะบางสูงจากปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ต้องติดตามผลกระทบต่อธุรกิจที่พึ่งพาอุปสงค์จากจีนและภาคการท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด
สำหรับภาคครัวเรือนพบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยภาคครัวเรือนใช้สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อเสริมสภาพคล่องมากขึ้น
(2) พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ที่น่าไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่่ากว่าที่ควร (underpricing of risks) ยังมีต่อเนื่องในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่่าลงเป็นเวลานานขึ้น (lower for longer) กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หันมาออกตราสารหนี้แทนการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) มากขึ้น ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและ ธพ. ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งทั้งกลุ่มธุรกิจและนักลงทุนอาจประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร
ด้านสหกรณ์ออมทรัพย์ พบว่าสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เป็นตัวกลาง รับฝากและให้กู้ยืมเงินขยายตัวสูงขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่า ธพ. และถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้น
(3) ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับลดลง แต่ยังต้องติดตามภาวะอุปทานคงค้าง แนวโน้มการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับลดลง สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐานรัดกุมขึ้น ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวโดยชะลอการเปิดโครงการใหม่ แต่บางส่วนยังเปิดขายโครงการใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้อุปทานคงค้างและระยะเวลาขายหมด (time-to-go) เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ผู้ประกอบการบางรายมีโครงสร้างการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้เป็นหลักและมีวงเงินสินเชื่อเหลือกับ ธพ.ไม่มาก จึงต้องติดตามความเสี่ยงจากตราสารหนี้เดิมครบกำหนดอายุ (rollover risk) โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ (noninvestment grade) หรือไม่ได้รับการจัดอันดับ (unrated)
ทั้งนี้ มาตรการทางการเงินการคลังที่ภาครัฐได้ดำเนินการไป จะมีส่วนช่วยลดอุปทานคงค้างได้บ้าง ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท โครงการบ้านดีมีดาวน์ รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของ ธปท.
คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ด่าเนินการไปในช่วงก่อนหน้าช่วยลดความเปราะบางในระบบการเงินได้ในระดับหนึ่ง โดยคณะกรรมการฯ ให้ติดตามและประเมินผลของมาตรการ LTV ต่อภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงติดตามการระดมทุนของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร และติดตามความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เป็นตัวกลางรับฝากและให้กู้ยืมเงิน
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าหนี้ครัวเรือนเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขและดำเนินการในหลายมิติ อีกทั้งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อลดการก่อหนี้ควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้เดิม โดยต้องคำนึงความสามารถในการชำระหนี้และเงินคงเหลือที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพของลูกหนี้ให้มากขึ้น รวมทั้งเห็นควรให้ศึกษาข้อมูลภาระผ่อนชำระหนี้เทียบกับรายได้ (DSR) เพื่อศึกษาผลกระทบของความเสี่ยงข้างต้นและศึกษาแนวทางการดูแลหนี้ครัวเรือนแบบบูรณาการ
@การดำเนินนโยบายการเงิน
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่่ากว่าประมาณการเดิมและต่่ากว่าระดับศักยภาพมากขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่่ากว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ในสถานการณ์เช่นนี้จ่าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานมาตรการทั้งทางการเงินและการคลัง
คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลชัดเจนขึ้น คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีจากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี
ทั้งนี้ กรรมการบางส่วนเห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษมีความเหมาะสมเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาวะปัจจุบันและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมายท่ามกลางความเสี่ยงด้านลบและความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นจากทั้งปัจจัยต่างประเทศและปัจจัยในประเทศ แต่หากพัฒนาการเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่องชัดเจน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเคลื่อนไหวสอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย ความจำเป็นในการพึ่งพานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษจะเริ่มทยอยลดลงในระยะต่อไป
ในการตัดสินนโยบายครั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาดำเนินโยบายการเงิน ดังนี้
1ใเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่่ากว่าที่ประมาณการไว้เดิมและต่่ากว่าระดับศักยภาพมากขึ้นมากจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจ่าปีและภัยแล้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องจ่านวนมาก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิมมาก
การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มลดลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาค สำหรับด้านอุปสงค์ในประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลงจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่าช้าและยังมีความไม่แน่นอนสูง
นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังได้รับแรงกดดันจากรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นทั้งครัวเรือนในภาคบริการ เกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ความสามารถของครัวเรือนไทยในการรองรับผลกระทบจากปัจจัยลบลดน้อยลงจากในอดีตที่แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายจากภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นที่เข้มแข็งกว่าได้ หรือสามารถกู้ยืมเพื่อเสริมสภาพคล่องได้
คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งจากปัจจัยต่างประเทศและปัจจัยในประเทศ ได้แก่
(1) การระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจฟื้นตัวช้าลง
(2) การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งมีนัยต่อแนวโน้มเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทย
(3) ความไม่แน่นอนของการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งอาจทำให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ รวมถึงความคืบหน้าของโครงการร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและผลต่อเนื่องไปยังการลงทุนภาคเอกชน
(4) ความเสี่ยงของภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าคาดส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและรายได้ภาคเกษตร รวมถึงต้นทุนการบริหารจัดการน้ำของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นในบางพื้นที่
และ(5) การบริโภคภาคเอกชนที่อาจชะลอตัวกว่าคาดจากการจ้างงานและรายได้ที่ลดลง
คณะกรรมการฯ ยังกังวลว่าค่าเงินบาทอาจยังไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยจากการแข็งค่าต่อเนื่องในปีก่อนหน้าและยังมีแนวโน้มผันผวนสูง แม้เงินบาทอ่อนค่าลงบ้างเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่งในช่วงที่ผ่านมา
คณะกรรมการฯ จึงให้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิดท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศที่มีอยู่สูง และให้ติดตามประสิทธิผลของการผ่อนคลายกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออก ซึ่ง ธปท. และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการไป อาทิ ผู้ส่งออกสามารถพักเงินไว้ในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น นักลงทุนรายย่อยสามารถออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้โดยตรง บริษัทประกันชีวิตสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น รวมถึงให้ ธปท.พิจารณาดำเนินมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไป ควบคู่กับการผลักดันให้มีการลงทุนและการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูง
2.อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 2563 และปี 2564 มีแนวโน้มต่่ากว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ จากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่มีแนวโน้มชะลอลงตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ าสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ รวมถึงราคาพลังงานที่ต่ำกว่าคาดตามความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดจะปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากภัยแล้ง
คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อยังมีความไม่แน่นอนจากความผันผวนของราคาน้ ามันและสภาพอากาศ ทั้งนี้ การปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่เป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 ไม่ได้กระทบการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ต่อปี
3.ความเสี่ยงในระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วนด้วยมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ด่าเนินการไป อาทิ ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับดีขึ้นจากมาตรการ LTV สะท้อนจากการเก็งกำไรที่ชะลอลงและการปรับตัวของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ดี ระบบการเงินโดยรวมมีความเปราะบางมากขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยเฉพาะความสามารถในการช่าระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs รวมถึงความเสี่ยงในจุดอื่นๆ ยังไม่ปรับดีขึ้นและเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม อาทิ
(1) หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างจากทั้งพฤติกรรมการก่อหนี้ของครัวเรือนและแนวทางการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน
(2) พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และสหกรณ์ออมทรัพย์
และ (3) ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์จากอุปทานคงค้างในบางพื้นที่ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินควรใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กับการใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) ร่วมกันในจังหวะที่เหมาะสม
คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงความจ่าเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี โดยเห็นว่าความเสี่ยงจากทั้งปัจจัยต่างประเทศและในประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยส่าคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเสถียรภาพระบบการเงินในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความสามารถในการช่าระหนี้ของครัวเรือนและธุรกิจ
กอปรกับความเสี่ยงต่างๆ ข้างต้นเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้เหมาะสมและทันการณ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอประเมินผลกระทบหลังจากความเสี่ยงชัดเจนขึ้น เพราะหากเกิดผลกระทบรุนแรงจะแก้ไขสถานการณ์ได้ยาก
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้อาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นมากนัก แต่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้และสนับสนุนการเพิ่มสภาพคล่อง การผ่อนคลายนโยบายการเงินจะต้องผสมผสานกับมาตรการทางการเงินและการคลังอื่นๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผลและต้องเร่งด่าเนินการให้เห็นผลชัดเจนโดยเร็ว ได้แก่
(1) มาตรการเพิ่มสภาพคล่อง อาทิ การให้สถาบันการเงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา เช่น พักชำระเงินต้น ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม และ (2) มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถผ่อนชำระหนี้และดำเนินกิจการต่อไปได้ (pre-emptive debt restructuring) รวมถึงโครงการคลินิกแก้หนี้ระยะที่ 3
ในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของข้อมูล (data-dependent) ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี และภัยแล้ง เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯเห็นถึงความจ่าเป็นในการประสานเชิงนโยบายและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนการฟื้นตัวและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบกับความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/