รัฐบาลทราบความเสี่ยงนี้ดีอยู่แล้ว เพราะข่าวระบุว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้เรียก ร.ฟ.ท. และหน่วยงานในสังกัด ทั้งการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร ฯลฯ มาร่วมประชุมหารือกันว่า ตรงไหนเป็นอุปสรรคก็ให้รีบไปดำเนินการแก้ไขเพื่อให้โครงการนี้เกิดได้
วันที่ 6 ตุลาคม 2562 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala ต่อกรณีสัญญาไฮสปีด 3 สนามบินที่มีปัญหาส่งมอบพื้นที่นั้น นอกจากการไล่ที่บุกรุกและการเวนคืนแล้ว ยังมีอุปสรรคต้องโยกย้ายอาคารและสิ่งของในกรรมสิทธิ์ขององค์กรต่างๆ อีกมากมาย
ช่วงต่อขยายจากพญาไท-ดอนเมือง เป็นพื้นที่แคบ จะต้องรื้อรางรถไฟสายตะวันออกที่ปัจจุบันยังใช้วิ่งอยู่ทั้ง 2 ราง ออกไป 1 ราง
จะต้องรื้อท่อส่งน้ำมันใต้ดินขนาด 14 นิ้ว เพื่อใช้ส่งน้ำมันไปในสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ของบริษัท Fuel Pipeline Transportation Limited : FPT แต่การขยับไปสร้างเป็นท่อส่งน้ำมันชั่วคราว จะมีอุปสรรคใหญ่ช่วงถนนพระรามที่ 6 ที่รถวิ่งไปมา จะไม่สามารถย้ายท่อชั่วคราวมาไว้เหนือพื้นดินได้ และการสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี กว่าจะได้ท่อ
จะต้องรื้อย้ายท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง และท่อระบายน้ำต่างๆ ของ กทม. อีก 3-4 แห่ง แต่ที่จะมีปัญหายากที่สุดก็คือ เรื่องของระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นท่อไซฟอน ใต้คลองบางซื่อเพื่อส่งเข้าโรงบำบัดที่ดินแดง
แต่ปัญหาด้วยสภาวะแรงดันของท่อไซฟอน จะทำให้วิ่งไปถึงโรงบำบัดน้ำเสียดินแดงได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ กทม. จะต้องเข้ามาตรวจสอบและแก้ปัญหา
จะต้องรื้อสายส่งไฟฟ้าแรงสูงอีก 16 จุดจากฉะเชิงเทราถึงพัทยา และปัญหาที่หนักใจมากคือ มีสายส่งไฟฟ้า 500 KV อยู่ 1 สายส่ง ถือเป็นโครงข่ายระดับชาติ (National Grid) ที่มีความสำคัญ เพราะถือเป็นระดับกระดูกสันหลัง (Backbone) ที่เชื่อมต่อกำลังผลิตไฟฟ้าในภาคตะวันออกทั้งหมดกับโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าภาคกลาง เพราะตรงนั้นคือพลังงานไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของระบบ
"ผมวิเคราะห์ว่า ข้อมูลแค่นี้ก็ประเมินได้แล้วว่า การรื้อถอนโยกย้ายสิ่งของเหล่านี้ จะมีค่าใช้จ่ายสูง จะต้องมีการวางแผนอุปกรณ์สำรองเพื่อมิให้บริการประชาชนติดขัด"
และไม่ปรากฏชัดว่า องค์กรใดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จะมีงบประมาณพร้อมเมื่อใด และจะมีการกำหนดปฏิทินงานกันอย่างใด
จึงประเมินด้วยสามัญสำนึกของวิญญูชนได้ชัดเจนว่า การส่งมอบพื้นที่มีความเสี่ยงจะล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาอย่างแน่นอน อันจะทำให้ ร.ฟ.ท. เสียเปรียบ เพราะเอกชนจะสามารถหากำไรจากที่มักกะสันไปพลางก่อน แต่รายได้จากรถไฟที่ ร.ฟ.ท. อ้างต่อบอร์ด อีอีซี นั้น มีความเสี่ยงจะถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแก้ปัญหาการส่งมอบได้ลุล่วง
รัฐบาลทราบความเสี่ยงนี้ดีอยู่แล้ว เพราะข่าวระบุว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้เรียก ร.ฟ.ท. และหน่วยงานในสังกัด ทั้งการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร ฯลฯ มาร่วมประชุมหารือกันว่า ตรงไหนเป็นอุปสรรคก็ให้รีบไปดำเนินการแก้ไขเพื่อให้โครงการนี้เกิดได้
ขั้นตอนที่ถูกต้องนั้น บอร์ด อีอีซี ควรกำหนดให้ ร.ฟ.ท. ทำงานด้านส่งมอบให้เรียบร้อยเสียก่อน กำชับให้มีการประสานงานระหว่างองค์กร จนมีปฏิทินกำหนดเวลาทำงานเป็นข้อยุติร่วมกันก่อน
แต่ทำไมกลับเร่งให้ทำสัญญา ทั้งที่ตระหนักดีอยู่แล้วว่า มีปัญหาอุปสรรคหลายหน่วยงาน ที่ยังไม่มีความชัดเจนด้านวิศวกรรม และด้านงบประมาณ มีลักษณะสุกเอาเผากิน ประมาทเลินเล่อ
จึงขอเตือนว่า อาจจะเข้าข่ายมีเจตนาทำให้ ร.ฟ.ท. เสียประโยชน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ระทึก! ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ซีพีจะถูกแบล็กลิสต์?
ผ่าปมร้อน รมต.ภูมิใจไทย เปิดหน้าไล่บี้ ซีพี ลงนามรถไฟความเร็วสูงสองแสนล. ใครได้-เสียปย.?
ครม.อนุมัติไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 149,650 ล้าน-คาดลงนามกลุ่มซีพี 15 มิ.ย.
'ศุภชัย เจียรวนนท์' ประกาศจุดยืนเครือซีพีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มุ่งประโยชน์เพื่อประเทศ
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/