เผือก เด็กสลัมที่เลือกเกิดมามีค่าเท่าคนอื่นไม่ได้จนต้องยอมนิ่งยอมเป็นเหยื่อให้คนอื่นรังแกมาตลอดเพื่อให้ ตัวเองได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม...จนกระทั่งวินาทีที่เขาตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ในชีวิตเพื่อรักษาศักดิ์ศรีแม่ที่ เลี้ยงดูเขามาตามลำพังตั้งแต่เด็กด้วยการขายยา เมื่อถูกส่งตัวมายังคุก เผือกจึงได้รู้ว่าโลกหลังกำแพงใบนั้นไม่ต่างจากกองขยะรวมเดนคนที่ถูกทิ้ง จากสังคม มันมืดมนและโหดร้ายกว่าโลกแห่งความจริงที่เขาเพิ่งจากมาโดยสิ้นเชิง
หลังจากความสำเร็จใน 4 King ภาคแรก ของ ผู้กำกับ พุฒิพงษ์ นาคทอง ที่ตัวหนังอาจจะมีปัญหาบ้างแต่ก็กวาดรายได้ไปถึง 170 ล้านบาท แต่มาในภาค 2 ผู้กำกับได้ทำการกลบข้อเสียของผลงานที่แล้วเป็นอย่างมากทำให้ได้รับคำวิจารณ์อย่างล้นหลาม รวมถึง รายได้ถึง 235.9 ล้านบาท พร้อมความคาดหวังกับโปรเจคใหม่อย่าง วัยหนุ่ม 2544
สิ่งที่น่าชื่นชมมากๆคือ แม้ว่า ผู้กำกับจะได้รับคำวารณ์ยังไง เค้าก็จะกลับนำเอาไปแก้ไขให้หนังเรื่องใหม่ของเค้าเสมอ ถึงแม้ว่าผมจะชอบ 4 King 2 มากกว่า แต่ต้องยอมรับว่าในด้านงานสร้าง วัยหนุ่ม ชนะขาดทุกเรื่องที่ผ่านมา การเล่าเรื่องผ่านมุมกล้องของ วัยหนุ่ม สามารถเล่าเรื่องผ่านภาพได้อย่างชาญฉลาด ตั้งแต่ฉากเปิดเรื่องที่เป็น Long Take เปิดตัวละครเอก ที่พาชมสภาพสังคมที่เข้าอยู่ ให้เข้าใจได้ไม่ยาก หรือฉากซีนเพลง พ่อ-แม่-ลูก ของ ซิลลี่ฟูล ก็ถูกเล่าออกมาอย่างดี มากกว่าฉากแบบเดียวกันใน 4 King ทั้ง 2 ภาค
อีกจุดเด่นของ วัยหนุ่มคือ งานแสดงของเหล่านักแสดงหลักและหลายๆคนในเรื่อง ทั้ง คุณ ณัฏฐ์ กิจจริต ผู้รับบท เผือกตัวเอกของเรื่อง ที่ได้โชว์ทักษะการแสดงออกมาได้ น่าจะเรียกได้ว่ามากที่สุดมนผลงานที่ผ่านมาของเค้า ทางด้าน คุณ เป้ อารักษ์ เองก็ได้นำเสนอรูปแบบการแสดงที่ไม่เคยเห็นเค้าเล่นมาก่อน กับการแสดงเป็นบทตัวละครที่ออกมาร้ายซะจนไม่เหลือภาพพระเอกหล่อๆแบบที่คุ้นเคย
แต่ถ้าถามถึงว่าการแสดงของใครที่น่าชื่นชมที่สุด ผมคงต้องยกให้ คุณ เอม ภูมิภัทร ที่ไม่เคยทำให้ผมผิดหวังกับการแสดงของเค้าซักเรื่องเดียว มาในเรื่องนี้ ก็ถือว่าเป็นบทบาทที่ท้าทายมากสำหรับเค้า ด้วยการเล่นเป็น กระเทยในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่ท้าทาย แต่เค้ายังมอบรูปแบบการแสดงที่ดูเป็นธรรมชาติและยังมีความเป็นคนที่สุดในเรื่อง จนแอบน่าเสียดายที่เป็นเพียงแค่ตัวละครรองด้วย
ถ้าจะพูดถึงข้อเสียของหนัง เรื่อง วัยหนุ่ม คือข้อความที่ผู้สร้างส่งมานั้น มีเพียงแค่ความรุนแรงเท่านั้น จริงอยู่ที่ตัวหนังพยายามเล่าเรื่องจนทำให้คนรู้สึกไม่อยากเข้าคุก แต่คงจะคล้ายกับคำว่า “ความรุนแรงไม่อาจยุติได้ด้วยความรุนแรง” เพราะในหนังมีแค่ด้านของความรุนแรง แต่ขาดการเล่าเรื่องที่ดูเป็นนัยยะ น้อยเกินไปหน่อย หากเล่าเรื่องให้ดูธรรมชาติกว่านี้น่าจะออกมาดีกว่านี้
ในแง่ของสิ่งที่ผู้สร้างต้องการสื่อที่ผมชอบมากๆ คือ เรื่องของ ความฝัน หนังติดคุกหลายๆเรื่องมักชอบพูดถึงเรื่องของ หลักจากออกจากคุกแล้วจะออกไปทำอะไร แต่หนังเรื่องนี้เสนอในอีกมุมที่น่าคิด คือ ไม่รู้ว่าออกจากคุกแล้วจะไปทำอะไร เพราะด้วยสถานการณ์การอยู่ในคุก มันไม่ได้ช่วยให้พวกเค้าได้มีเวลาแม้แต่มานั่งสำนึกถึงสิ่งที่ทำลงไปด้วยซ้ำ มีแต่เพียงการเอาตัวรอดไปวันๆ จากผู้มีอำนาจในคุก เหมือนกับในช่วงท้ายของตัวละครที่หาเหตุผลในการ ฆ่าคนในคุกอีกครั้ง ด้วยคำตอบที่ว่า “ผมก็ไม่รู้ครับ”
*ขอบคุณภาพจาก เนรมิตรหนัง ฟิล์ม