เมื่อหลานกับอาม่าที่อายุห่างกันกว่า 50 ปี ต้องมาอยู่ร่วมกัน การต่อปากต่อคําจึงเกิดขึ้นในทุกโมเมนต์ แต่มันกลับ เป็นช่วงเวลาที่ทําให้อาม่าลืมเหงา
รางวัลออสการ์ในสาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม (Best International Feature Film) เป็นหนึ่งในรางวัลออสการ์ ที่มอบให้ทุกปีโดย สถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ โดยจะมอบให้กับภาพยนตร์ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งสร้างโดยผู้กำกับจากประเทศต่าง ๆ ปกติแล้วจะมีการเสนอชื่อภาพยนตร์จากหลายประเทศ และมีการคัดเลือกอย่างเข้มข้นเพื่อหาภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในปีนั้น ทั้ง Drive My Car ของ ริวสุเกะ ฮามากุจิ หรือ All Quiet on the Western Front ของ เอ็ดเวิร์ด เบอร์เกอร์
( ภาพโปสเตอร์ Drive My CarและAll Quiet on the Western Front )
ไม่ใช่เพียงแค่ชาติอื่นๆแต่ประเทศไทย เคยส่งภาพยนตร์หลายเรื่องมาตั้งแต่ปี 1984 ทั้งเรื่อง น้ำพุ ของ ยุทธนา มุกดาสนิท ที่ว่าด้วยเรื่องของ น้ำพุ เด็กชายที่มีปัญหา เสพยาเกินขนาดจนตัวตาย เพราะครอบครัวมีปัญหา หรือปีที่แล้ว อย่าง เพื่อน(ไม่)สนิท ภาพยนตร์แรวดราม่า ผสม คอมเมดี้ ของ อัตตา เหมวดี ที่เล่าถึง เป้ ที่ต้องสร้างทำหนังสั้น ระลึกถึงเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ถึงแม้จะส่งประเทศไทย หนังเข้าชิงไปมากมายแต่กลับไม่ผ่านการเสนอชื่อ แม้แต่ครั้งเดียว
( ภาพโปสเตอร์ น้ำพุ และเพื่อน(ไม่)สนิท )
ปี 2024 ประเทศไทยเลือกที่จะส่ง หลานม่า ของ พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ว่าที่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 33 ที่กวาดรายได้ทั่วโลกทะลุ 1,900 ล้านบาทไปแล้ว ตัวหนังใช้เวลาทำมากกว่า 3 ปี เพราะ ผู้กำกับคิดว่า อยากให้หนังออกมาดูธรรมชาติและลงตัวมากที่สุด วันนี้ผมขอเลยถือโอกาสมาพูดถึงสิ่งที่ทำให้หลานม่า อาจกลายเป็นหนังที่อาจจะกลายเป็นหนังที่ผ่านการเสนอชื่อก็เป็นได้
เล่าเรื่องง่ายๆแต่กินใจ
ถ้าจะเปรียบหลานม่า ก็คงจะไม่ต่างจาก การกินอาหารตามสั่งปกติ แต่รสชาติเหมือนกินภัตตาคาร ด้วยการเล่าเรื่องง่ายๆ ที่แน่นอนว่าใครที่ดูตัวอย่างก็คงจะเดาปลายทางได้อย่างแน่นอน แต่หลานม่าให้เวลาคนดูได้เปิดใจกับตัวละคร อาม่า ที่ตอนแรก เราอาจไม่ได้ชอบมาก แต่ด้วยบทสนทนาที่ดูเป็นธรรมชาติและดูติดดิน ทำให้คนดูเริ่มเปลี่ยนจากความรู้สึกไม่ชอบเป็นน่าสงสารแทน หลายๆฉากแม้เป็นเพียงแต่การดูฉากชีวิตประจำวันของ อาม่าและหลานของเค้า แต่กลับเป็นการรอจังหวะคนดูเผลอ ปล่อยการ์ด แล้วชกเข้าที่หน้าจนดูจังๆในช่วงท้ายของเรื่อง
ความรู้สึกร่วมของคนดู
ตัวหนังใช้ความรู้สึกร่วมของผู้ชมที่อาจเคยมีประสบการณ์เช่นเดียวกับในเรื่อง จนเราสามารถเอาตัวละครในเรื่องมาแทนคนในครอบครัวเราได้หมดเลย ทั้งลูกชายที่เก่งที่สุดในบ้านมีเงินทองแต่ไม่มีเวลา ลูกสาวคนเล็กที่ไม่มีเงินแต่มีเวลา ลูกคนกลางที่ไม่มีอะไรเลยแต่กลับได้ความรักมากที่สุด ผมเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อสายจีน ก็สามารถเข้าใจบริบทของตัวละครได้ในทันที
ตัวละครเอกที่น่าสนใจ
ในเรื่องทั้งหมด เล่าเรื่องผ่านสายตาของตัวละครเอกอย่าง “เอ็ม”ที่เข้ามาเพราะต้องการมา สมบัติของอาม่า กับตัวละคร อาม่า ที่เหมือนกับคนแก่ที่ดูแข็งกระด้าง ทั้งสองต่างเป็นตัวละครที่ดูแตกต่างกันอบ่างสิ้นเชิง ทั้งด้านอายุและความคิด แต่เพราะข้อดีเดียวของ เอ็มที่ลูกหลานคนอื่นไม่มี อย่าง “เวลา” กลับทำให้ เอ็ม ได้พบกับด้านที่อ่อนแออย่างเหลือเชื่อของอาม่า ทำให้แต่ละครั้งที่ตัวละครทั้งสองได้ต่อปากต่อคำกัน กลายเป็นโมเม้นที่ดูสนุกแบบไม่ต้องมีอะไรมาก จนคนดูพร้อมจะหลงรักสองตัวละครนี้แบบไม่มีข้อกังขา และยังทำให้เราได้พบแง่มุมต่างๆของตัวละครรอบๆ ที่มีต่อตัวอาม่า
แต่ว่าในปีนี้อาจจะไม่ง่าย ที่ หลานม่า จะสามารถผ่านการพิจารณาได้ อาจต้อสู้กับคู่แข่งที่ค่อนข้างเก่งพอมากอย่าง The Girl with the Needle ของผู้กำกับชาวสวีเดน Magnus von Horn ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง รางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ หรือ I'm Still Here ของจากบราซิล Walter Salles ผู้กำกับสายรางวัล ที่ชนะมาหลายเวทีแล้ว
\
( ภาพโปสเตอร์ The Girl with the Needle และI'm Still Here )
ก็คงต้องรอลุ้นกันต่อ ว่าหลานม่าจะสามารถทำลายคำสาปหนังไทยที่ไม่สามารถผ่านการพิจารณาได้หรือไม่ ส่วนผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้กับ หลานม่า ได้เข้าไปในเวทีระดับโลกครับ สำหรับใครที่ยังไม่ได้รับชมความยอดเยี่ยมของหลานม่า ก็แนะนำให้ไปหารับชมได้ในช่องทางถูกลิขสิทธิ์บน Netflix ครับ