"...การลงทุนในทุนมนุษย์ให้เสมอภาคตั้งแต่ปฐมวัยถึงวัยแรงงานจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุ 2 เป้าหมายที่สําคัญที่พวกเรารอคอยมายาวกว่า 4 ทศวรรษ..."
หมายเหตุสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org): เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2567 มูลนิธิอิศรา อมันตกุล และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดการประกวดข่าวยอดเยี่ยมจากสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ ภาพข่าวยอดเยี่ยมจากสื่อออนไลน์ และข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รางวัลอิศรา อมันตกุล โดยมีปาฐกถาพิเศษ 'ทุนมนุษย์' ยุค 5.0 สร้างไทยยั่งยืน ขจัดความเหลื่อมล้ำ โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ดร.ประสาร กล่าวว่า ทุนมนุษย์ (human capital) มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางของเศรษฐกิจของประเทศและเป็นปัจจัยสําคัญต่อความสําเร็จของแต่ละปัจเจกบุคคล
ทุนมนุษย์ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงงานทักษะขั้นสูงซึ่งนําไปสู่นวัตกรรมที่เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ที่สำคัญบทบาทของทุนมนุษย์ยังสามารถเติบโตได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การลงทุนเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์จึ่งเป็นเรื่องลําคัญและจําเป็นต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวอย่างมาก
ดร.ประสาร กล่าวถึงสถานการณ์ทุนมนุษย์ในประเทศไทย ว่า มิติความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส จากข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปีการศึกษา 2586 โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมี จำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษราว 1.8 ล้านคน โดย กสส. นับสนุนทุนเสมอภาศให้ แก่นักเรียนยากจนพิเศษ หรือยากจนระดับรุนแรง (Extremely Poor) จำนวน 1.24 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่ตัวเลขยังไม่แตะหลักล้าน
ความยากจนในระดับรุนแรงนับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เด็กในกลุ่มนี้ไม่สามารถแบกรับภาระคำใช้จ่ายด้านการศึกษาได้และจำต้องอยกจากระบบการศึกษาไปในที่สุด
จากการติดตามข้อมูลเส้นทางการศึกษาของนักเรียนจากครัวเรือนยากจนและยากจนพิเศษ ตั้งแต่ปี 2562-2566 มีข้อค้นพบ ดังนี้
1. ยิ่งการศึกษาระดับสูงโอกาสที่เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะได้เรียนต่อก็ยิ่งลตลงเรื่อยๆ ซึ่งในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษเพียง 1 ใน 10 คนเท่านั้นที่สามารถศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้สำเร็จ
2. ช่วงชั้นรอยต่อทางการศึกษา ถือเป็นช่วงเวลาวิกฤตที่เต็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบมากที่สุด เพราะจำเป็นต้องย้ายสถานศึกษาในช่วงเปิดเทอมและต้องแบกรับภาระด่าใช้จ่ายจำนวนมาก เช่น คำธรรมเนียมการสมัครเรียน คำเดินทาง หรือค่าเตรียมความพร้อม ในการเรียนต่อ
"ด้วยเหตุนี้ เด็กนักเรียนจากครัวเรือนยากจนและยากจนพิเศษจึงต้องเผชิญกับอุปสรรคจำนวนมาก จนในที่สุดต้องตัดสินใจที่จะไม่ไปต่อในเส้นทางการศึกษาแม้จะมีความต้องการแต่ไหนก็ตาม" ดร.ประสาร กล่าว
ดร.ประสาร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ำดัานคุณภาพ เมื่อวันที่ 21 - 22 ก.พ.ที่ผ่านมา กสศ. ร่วมกับ ธนาคารโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดผยผลการวิจัยสำรวจ ทักษะความพร้อมของกลุ่มประชากรวัยแรงงานของประเทศโทย (Aduit Skills Assessment in Thailand: ASAT) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เยาวชนและประชากรวัยแรงงาน อายุระหว่าง 15 - 64 ปี กำลังเผชิญวิกฤตขาดแคลนทักษะทุนชีวิตอย่างรุนแรง กว่า 2 ใน 3 ของวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ไม่สามารถเข้าใจข้อความสั้น ๆ เพื่อแก้ปัญหาอย่างง่าย โดย 3 ใน 4 ของเยาวชนและวัยแรงงานมีความยากลำบากในการใช้เว็บไซต์เพื่อทำงานง่าย ๆ และกว่าร้อยละ 30 ขาดทักษะในการคิดริเริ่มเพื่อสังคมและความกระตือรือรัน โดยการขาดทักษะพื้นฐานดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 3.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 20 ของ GDP ประเทศไทยในปี 2565
ดร.ประสาร ได้เสนอข้อเสนอถึงการลงทุนในมนุษย์ในเชิงนโยบาย 4 ด้าน ดังนี้ 1. การลงทุนตั้งแต่ประถมวัย 2.ลงทุนให้ถูกกลุ่มเป้าหมายและด้วววิธีการที่ชาญฉลาด 3. ลงทุนอย่างเสมอภาค 4. ลงทุนด้วยนวัตกรรมทางกาาเงินกาาคลังดพื่อพัฒนาทุนมนุษย์
"การลงทุนในทุนมนุษย์ให้เสมอภาคตั้งแต่ปฐมวัยถึงวัยแรงงานจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุ 2 เป้าหมายที่สําคัญที่พวกเรารอคอยมายาวกว่า 4 ทศวรรษ ได้แก่เป้าหมายการออกจากกับดักรายได้ปานกลาง และเป้าหมายการยุติวงจรความยากจนข้ามรุ่นได้ในช่วงชีวิตของพวกเราทุกคน" ดร.ประสาร กล่าว