"...ระบบการศึกษาของไทยที่ผ่านมาขาดประสิทธิภาพในหลากหลายด้านที่จะแปรสารตั้งต้นหรือสิ่งที่รับเข้า สู่ผลสำฤทธิ์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น จำนวนชั่วโมงเรียนของนักเรียนไทยที่เยอะ แต่ระบบไม่สามารถแปรจำนวนชั่วโมงเรียนหรือความขยันของนักเรียนมาเป็นทักษะที่แข่งขันกับนานาชาติได้..."
ระบบการศึกษา เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญก้าวหน้าและอยู่ร่วมกับสังคมได้ ที่ผ่านมาเรามีนโยาบายการเรียนฟรีในสังคมไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคมได้ แต่เมื่อดูรายละเอียดแล้วคุณภาพกลับไม่เสมอภาคและทั่วถึงกัน
นอกจากนี้ ระบบการศึกษาไทย ยังประสบปัญหาต่างๆ อีกมากมาย ไม่ว่าติดอยู่กับกรอบหรือขนบเดิมๆ มีครูเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ และถือครองอำนาจสูงสุดในห้องเรียน นอกจากนี้ ระบบการศึกษายังไม่เปิดโอกาสหรือเสรีภาพในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามความถนัดของแต่ละบุคคลอีกด้วย
ตลอดเวลาตั้งแต่ช่วยหาเสียง จนถึงหลังการเลือกตั้ง นโยบายทางการศึกษา นับว่าเป็นหนึ่งในนโยบายชูโรงของพรรคก้าวไกล
เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา 101 Public Policy Think Tank หรือ ‘101 PUB’ จัดเวที Policy Forum ชวนว่าที่รัฐบาลใหม่ตอบโจทย์ประเทศไทย ในหัวข้อ ‘การศึกษาเพื่อทุกคน'
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาที่ผ่านมา ไม่สำเร็จว่า เพราะขาด 2E คือ
Efficacy (ประสิทธิภาพ)
ระบบการศึกษาของไทยที่ผ่านมาขาดประสิทธิภาพในหลากหลายด้านที่จะแปรสารตั้งต้นหรือสิ่งที่รับเข้า สู่ผลสำฤทธิ์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น จำนวนชั่วโมงเรียนของนักเรียนไทยที่เยอะ แต่ระบบไม่สามารถแปรจำนวนชั่วโมงเรียนหรือความขยันของนักเรียนมาเป็นทักษะที่แข่งขันกับนานาชาติได้ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้รับงบประมาณสูงเป็นอันดับต้นๆ ทุกปี แต่ก็ไม่สามารถแปรงบประมาณเหล่านั้นออกมาเป็นการรับประกันสิทธิการเรียนฟรีของทุกคนได้จริงๆ
Empathy (การเห็นออกเห็นใจ)
ในปัจจุบัน คนในสังคมหลายคนมองการศึกษาที่ดี เป็นในลักษณะของอำนาจนิยม คือ การที่บอกเด็กว่า การศึกษาที่ดีคือจะต้องเป็นแบบนี้ โดยการนำไม้บรรทัดแบบเดียวไปวัดเด็กทุกคน ทั้งๆ ที่เด็กแต่ละคนมีความต้องการความถนัดที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงอยากเห็นการศึกษาที่เห็นอกเห็นใจ ถึงความชอบ ความถนัดที่แตกต่างหลากหลายของเด็กแต่ละคนเพิ่มเติมขึ้น รวมถึงการกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้การตัดสินใจไม่กระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง
นายพริษฐ์ กล่าวว่า สำหรับนโยบาย 300 ข้อของพรรคก้าวไกล สามารถสรุปสั้นๆ ได้ โดยแบ่งเป็น 6 เป้าหมาย ดังนี้
-
เป้าหมายที่ 1 การรับประกันสิทธิการเรียนฟรีจริง แม้จะเห็นว่ามีนโยบายการเรียนฟรีมาสักพักหนึ่งแล้ว แต่ว่าจะมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงทางการศึกษาที่ทำให้ การเรียนฟรีไม่ฟรีจริงประมาณ 2,600 บาท/คน/ปี
-
เป้าหมายที่ 2ทำให้ทุกโรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัยไร้อำนาจนิยม ปลอดภัยทั้งร่างกาย ไร้อุบัติเหตุ มีอาหารที่สุขลักษณะอนามัย ปลอดภัยในเชิงของสภาพจิตใจ ปลอดภัยจากการถูกละเมิดสิทธิ แก้ไขปัญหาเรื่องอำนาจนิยม
-
เป้าหมายที่ 3 การยกระดับคุณภาพ ออกแบบหลักสูตรใหม่ โดยจะออกแบบหลักสูตรขั้นพื้นฐานใหม่ เน้นทักษะและสมทนะที่เท่าทันโลก
-
เป้าหมายที่ 4 คืนครูให้ห้องเรียน แม้ว่าจะมีหลักสูตรที่ดี แต่ถ้าครูผู้สอนไม่มีเวลาใช้กับนักเรียน ก็ไม่อาจสามารถยกระดับทักษะนักเรียนได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น มีเป้าหมายลดเวลาที่ครูเสียไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อคืนครูให้กับนักเรียน
-
เป้าหมายที่ 5 ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นในช่วงสมัยเรียน หรือการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
-
เป้าหมายที่ 6 การกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้นักเรียน ครู มีอำนาจในการออกแบบและตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษามากขึ้น
สำหรับเป้าหมายใน 100 วันแรก หลังจากที่พรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล นายพริษฐ์ ยืนยันว่า มีความพร้อมที่จะเริ่มทำตามนโยบายและเป้าหมายที่วางไว้โดยทันที่ ส่วนอะไรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมาย ก็มีเตรียมไว้แล้ว 45 ฉบับ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาเท่านั้น โดยพร้อมยื่นตั้งแต่วันแรกที่สภาเปิด และหนึ่งในนั้นคือ พ.ร.บ.การศึกษา ฉบับก้าวไกล นอกจากนี้ ในมุมของการใช้งบประมาณ ก็ได้มีการคำนวณแล้วว่าจะต้องใช้งบเท่าไหร่
นายพริษฐ์ กล่าวถึงนโยบายทางการศึกษาที่จะทำใน 100 วันแรก ใน 2 เรื่อง คือ
การแก้ไขปัญหาอำนาจนิยม และทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย
โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนทุกคน แต่ปัจจุบัน นักเรียนกลับเผชิญกับหลายปัจจัยในโรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยใน 3 มิติ ได้แก่:
-
ความปลอดภัยทางร่างกาย : ทั้งเรื่องอุบัติเหตุ (เช่น อาคารเรียนชำรุด ไฟดูด น้ำท่วม) และปัญหาสุขอนามัย (เช่น ห้องน้ำไม่สะอาด)
-
ความปลอดภัยทางสภาพจิตใจ : ทั้งในเรื่องของความเครียดจากภาระการเรียนที่หนัก และภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีส่วนทำให้การฆ่าตัวตายได้กลายมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสามของวัยรุ่นไทย
-
ความปลอดภัยจากอำนาจนิยม : ทั้งในเรื่องการถูกละเมิดสิทธิโดยบุคลากรในสถานศึกษา (เช่น การลงโทษด้วยวิธีรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ) รวมถึงการโดนกลั่นแกล้ง (bullying) จากทั้งครูและนักเรียนด้วยกัน
โดยจะมีการแก้ไขและวางข้อกำหนดซึ่งจะเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการว่า ‘กฎระเบียบของทุกโรงเรียนจะต้องไม่ขัดต่อสิทธินักเรียนหรือหลักสิทธิมนุษยชน’ เช่น เรื่องทรงผม โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศว่าไม่มีกฎระเบียบเรื่องทรงผมนักเรียน แต่ให้เป็นอำนาจการตัดสินใจของโรงเรียน ทั้งนี้ เมื่อฟังผิวเผิน ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่แท้จริงแล้วเป็นการกระจายอำนาจให้โรงเรียน โดยเปิดช่องในการออกกฎที่อาจจะละเมิดสิทธินักเรียนได้
“การกระจายอำนาจให้กับโรงเรียนจะต้องไม่เปิดช่องการละเมิดสิทธินักเรียน ซึ่งถ้าเกี่ยวข้องกับสิทธินักเรียน กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นส่วนกลาง จะต้องมีบทบาทเชิงรุก และจะต้องปิดช่องไม่ให้เกิดการลงโทษเกินขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย หรือทางวาจา และเมื่อพบครูละเมิดสิทธินักเรียนจริง จะต้องมีการพักใบประกอบวิชาชีพ ไม่ใช่ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบในอดีต เช่น ย้ายคุณครูจากอีกแห่งไปอีกแห่ง นั่นคือการย้ายความไม่ปลอดภัยจากโรงเรียนอีกแห่งไปสู่อีกแห่งหนึ่งโดยในเรื่องนี้จะเห็นผลได้ใน 100 วันเพราะอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษธิการ” นายพริษฐ์ ระบุ
คืนเวลาให้กับคุณครู คือคุณครูให้กับห้องเรียน
ในปัจจุบันมีกิจกรรมหลายอย่างที่เป็นภาระหน้าที่ของครูที่สามารถยกเลิก เช่น การนอนเวร ซึ่งสามารถใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการยกเลิกการนอนเวรของครู และหาวิธีอื่นเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับโรงเรียนได้ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มภาระให้กับครู หรืองานเอกสาร ธุรการ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภาระที่ครูต้องรับผิดชอบนอกเหนือจากากรสอน โดยข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ทำการศึกษาเอาไว้ว่า ใน 1 ปี มีวันเปิดเรียน 200 วัน แต่ครูต้องใช้เวลา 84 วัน หรือ 42% ไปกับงานนอกห้องเรียน
“อะไรที่ไม่จำเป็น ก็ตัดออกเลย อะไรที่จำเป็นก็อาจจะต้องจ้างพนักงานธุรการมาช่วยเพิ่มเติม นอกจากกนี้ ต้องลด-ยกเลิกการประเมินครู หรือพิธีการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน” นายพริษฐ์ กล่าว
นายพริษฐ์ กล่าวถึงเรื่องการแต่งกายใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียนว่า พรรคก้าวไกล มีข้อเสนอในเรื่องแต่งกายว่า ไม่บังคับเรื่องเครื่องแต่งกาย สามารถแต่งชุดตามที่คิดว่าเหมาะสมได้ โดยจะเปลี่ยนงบประมาณรายหัวในหมวดเครื่องแบบนักเรียน ให้กลายเป็นงบอุดหนุนเทคโนโลยีการศึกษา หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแทน
“ตอนนี้มีงบรายหัวของนักเรียนในเรื่องเครื่องแต่งกาย ที่ผู้ปกครองกังวลว่า ถ้ายกเลิกการใส่ชุดนักเรียน เงินอุดหนุดในส่วนนีไม่หายไป แต่ในสิ่งที่ก้าวไกลได้วางนโยบาบไว้ คือ งบในส่วนนี้จะไม่หายไป แต่จะเปลี่ยนไปให้ใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่นได้ ซึ่งเชื่อมโนยงกับนโยบายการกระจายงบรายหัว แต่เดิมจะถูกจำกัดกรอบแบ่งตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายของก้าวไกล คือการทะลายกำแพงตรงนี้ กระจายอำนาจให้โรงเรียน ให้โรงเรียนสามารถจัดสรรงบประมาณตามความเหมาะสมได้ แต่อันนี้มีช่วงเปลี่ยนผ่านสักเล็กน้อย” นายพริษฐ์ กล่าว