"...ก่อนที่เราจะตัดสินใจเป็นเพื่อนสนิท เพื่อนคู่คิด หรือเป็นครอบครัวเดียวกันก่อนที่เราจะตัดสินใจเป็นเพื่อนสนิทก็ล้วนแล้วแต่จะต้องเริ่มจากการคบกันในฐานะคนแปลกหน้ามาก่อน มนุษย์เราไม่ได้อ่านง่ายอย่างที่คิด กรณีการมองคนพลาด เข้าใจคนผิด มีอยู่ทุกวัน คนที่เราคิดว่ารู้จักดีแล้ว บางครั้งก็เหมือนไม่รู้จัก จากเพื่อนกลายเป็นศัตรูกันก็มีให้เห็นทั่วไป..."
ช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2015 แซนดรา แบลนด์ (Sandra Bland) หญิงอเมริกันผิวดําวัย 28 ปี เพิ่งขับรถจากนครชิคาโกมาถึงบริเวณบ้านพักในมหาวิทยาลยแพรรี่ วิว เอแอนด์เอ็ม(Prairie View A&M) เมืองฮุสตัน เพื่อเข้าทํางานใหม่ที่ทางมหาวิทยาลัยเพิ่งตอบรับ พร้อมกับวางแผนที่จะเรียนปริญญาโทควบคู่ไป ถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ภายหลังที่เธอต้องเผชิญกับมรสุมชีวิตมานานนับ 10 ปี แซนดราพบว่าภายในห้องพักไม่มีของใช้ที่จําเป็น และอยากจะไปทานอาหารอร่อย ๆภายในเมืองหลังขับรถมาหลายสิบชั่วโมง จึงตัดสินใจขับรถออกไปอีกทั้ง ๆ ที่นั่งพักผ่อนอยู่ภายในบ้านพักเพียงไม่กี่นาที ด้วยความไม่ชํานาญเส้นทาง เธอขับรถวนอยู่พักหนึ่งกว่าจะหลุดจากถนนวงแหวนภายในมหาวิทยาลัย เพื่อออกสู่ถนนเส้นหลัก แต่เมื่อขับออกไปได้ไม่ถึง 1 กิโลเมตร แซนดราได้ยินเสียงไซเรนของรถตํารวจไล่ตามหลังมา เธอจึงขับรถจอดข้างทาง เพื่อให้รถตํารวจคันดังกล่าวขับผ่านไป เพราะคิดว่ามีอุบัติเหตุข้างหน้า แต่เรื่องกลับตาลปัตรเมื่อรถตํารวจดังกล่าวกลับมาจอดที่ท้ายรถของเธอ นาทีต่อมาไบรอัน เอ็นซีเนีย (Brian Encinia) ตํารวจผิวขาว อายุ 30 ปี ได้เดินเข้ามาประชิดที่บริเวณด้านที่แซนดรานั่งอยู่ ท่าทีและคําพูดของเขาเริ่มต้นอย่างสุภาพ พร้อมแจ้งเธอว่าเธอไม่เปิดไฟเลี้ยวตอนเปลี่ยนเลน ก่อนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมตามคู่มือปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ทําให้แซนดรามีสีหน้าหงุดหงิดอย่างเห็นได้ชัด และตอบคําถามแบบกวนไปกวนมา พร้อมกับจุดบุหรี่ขึ้นมาสูบ ไบรอันซึ่งปกติเป็นตํารวจที่มีความสุขุมเยือกเย็น เริ่มมีอารมณ์ขึ้นมาบ้าง มีเสียงที่ดุดันขึ้น สั่งให้เธอดับบุหรี่ แต่แซนดราขัดขืนคําสั่ง โดยแย้งว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล
จากนั้น การโต้คารมก็เริ่มประทุรุนแรงขึ้น ไบรอันออกคําสั่งให้แซนดราออกจากรถ ซึ่งภายหลังได้เห็นภาพวิดีโอหน้ารถ มีการฉุดกระชากลากถู จนในที่สุดไบรอันสามารถนําตัวแซนดราออกมาและใส่กุญแจมือเธอ พร้อมแจ้งข้อหาว่าขัดขืนคําสั่งเจ้าพนักงาน โดยมีรถตํารวจตามมาสนับสนุนอีกหลายคัน แซนดราถูกควบคุมตัวไปฝากขังภายในโรงพัก และเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้นเมื่อเธอตัดสินใจฆ่าตัวตายภายในห้องขัง 3 วันหลังจากนั้น
ภาพวิดีโอในช่วงเกิดเหตุถูกเผยแพร่ไปทั่วสหรัฐฯ สร้างความไม่พอใจกับคนอเมริกันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะคนผิวดํา เพราะคิดว่าเป็นเรื่องการเหยียดิว และตํารวจได้กระทํารุนแรงเกินเหตุ จนเกิดการประท้วงจลาจลวุ่นวายไปทั่วประเทศ เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ปลุกกระแสการพิทักษ์สิทธิพลเมืองอย่าง Black Lives Matter ที่มีการเคลื่อนไหวมาจนถึงทุกวันนี้1/
เหตุการณ์ดังกล่าว ทําให้มัลคอล์ม แกลดเวลล์ (Malcolm Gladwell) นักเขียนชื่อดังด้านปรัชญาชีวิต เขียนหนังสือมีข้อคิดดี ๆ หลายเล่ม เช่น The Outliners (เคยนํามาเขียนใน weeklymail มาแล้ว) รู้สึกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เริ่มต้นจากการทําผิดกฎจราจรเพียงไม่เปิดไฟเลี้ยวมาเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น บทสรุปจึงไม่น่าสรุปง่ายเกินไปว่า เป็นเรื่องการเหยียดผิวและการใช้อํานาจเกินเหตุ จนเป็นที่มาในการเขียนหนังสือชื่อ Talking to Strangers (ศิลปะแห่งการอ่านคน) ที่ผู้อ่านนึกคิดว่าเป็นเรื่องศิลปะการพูดกับคนแปลกหน้า แต่เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือขายดีตีพิมพ์กว่า 500,000 เล่มในสหรัฐอเมริกา เป็นการตั้งคําถาม 2 ข้อ คือ 1. ทําไมเราถึงรู้ไม่เท่าทันเมื่อคนแปลกหน้าโกหกต่อหน้าต่อตา และ 2. ทําไมเราถึงรู้จักคนแปลกหน้าได้ไม่ดีเท่ากับการที่ไม่ได้เจอะเจอกับคน ๆ นั้น 2/
มัลคอล์มกล่าวว่า ก่อนที่เราจะตัดสินใจเป็นเพื่อนสนิท เพื่อนคู่คิด หรือเป็นครอบครัวเดียวกันก็ล้วนแล้วแต่จะต้องเริ่มจากการคบกันในฐานะคนแปลกหน้ามาก่อน มนุษย์เราไม่ได้อ่านง่ายอย่างที่คิด กรณีการมองคนพลาด เข้าใจคนผิด มีอยู่ทุกวัน คนที่เราคิดว่ารู้จักดีแล้ว บางครั้งก็เหมือนไม่รู้จัก จากเพื่อนกลายเป็นศัตรูกันก็มีให้เห็นทั่วไป มัลคอล์มได้นําเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นจริงมาให้เราได้คิดตามและตอบคําถามทั้งสองข้างต้นไปพร้อม ๆ กัน ทั้งในเรื่องสายลับ ที่มีซีไอเอที่ทํางานให้กับสหรัฐฯ มาร่วม 30 ปี กลับกลายเป็นสายลับสองหน้า จารกรรมข้อมูลจากฝั่งสหรัฐฯ ไปให้กับคิวบาจนหมดไส้หมดพุง เรียกได้ว่าระดับยอดฝีมือของซีไอเอยังหลงเข้าใจผิดเต็ม ๆ แล้วคนทั่วไปอย่างเราจะพลาดไปกี่หนแล้ว จึงไม่แปลกที่หากเราเพิ่งทําความรู้จักกับใครสักคนแล้วมีเรื่องใหสงสัย ไม่เข้าใจ และคําถามที่ต้องการคําตอบว่า ทําไมเราถึงจับไม่ได้เมื่อโดนคนที่ไม่รู้จักโกหกต่อหน้าต่อตา
ปริศนาข้อที่สองคือ ทําไมบางครั้งการได้พบปะคนแปลกหนาปริศนาข้อที่สองคือ ทําไมบางครั้งการได้พบปะคนแปลกหน้าจึง กลับทําให้เราเข้าใจบุคคลนั้นได้ยากกว่าการไม่ได้พบ มัลคอล์มได้นําเหตุการณ์ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะปะทุขึ้น เมื่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เนวิล เชมเบอร์เลน (Naville Chamberlain) ได้ตัดสินใจเดินทางไปพบกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(Adolf Hitler) เพื่อหาทางเลี่ยงสงคราม ซึ่งฮิตเลอร์ยินดีให้พบ ท่ามกลางความประหลาดใจของผู้นําทั่วโลกแต่คนอังกฤษต่างพากันชื่นชมในความคิดของเชมเบอร์เลน
เชมเบอร์เลนออกเดินทางจากเกาะอังกฤษตอนเช้าตรู่ของวันที่ 15 กันยายน 1938 โดยที่เขาไม่เคยเดินทางโดยเครื่องบินมาก่อน พร้อมกับต้องนั่งรถไฟต่อไปยังเมืองแบร์ซเทิสกา บ้านพักตากอากาศของฮิตเลอร์ ที่กว่าจะถึงก็พลบคํ่า เมื่อมาถึง ฮิตเลอร์ออกมาต้อนรับด้วยสีหน้าอย่างเป็นมิตรพร้อมจับมือทักทายอย่างเป็นกันเองก่อนเชิญขึ้นไปสนทนากันในห้องทํางาน โดยมีล่ามติดตามไปด้วยเพียงคนเดียว ในบทสนทนาที่ถูกบันทึกไว้ ฮิตเลอร์บอกกับเชมเบอร์เลนว่า เขาพร้อมที่จะเผชิญสงครามโลก เพราะสิ่งที่ต้องการคือการยึดซูเดเทินลันท์ ดินแดนของเชโกสโลวาเกีย ที่ชาวเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเยอรมัน เชมเบอร์เลนถามฮิตเลอร์ว่าต้องการแค่นั้นใช่ไหม ฮิตเลอร์ตอบว่า 'ใช่'
เชมเบอร์เลนบินกลับไปพบฮิตเลอร์อีกสองครั้ง จนทําให้เชมเบอร์เลนเหมือนโดนฮิตเลอรสะกดจิตและเชื่อว่าสามารถไว้วางใจฮิตเลอร์ได้ ทั้งนี้ เชมเบอร์เลนได้เขียนจดหมาย ถึงน้องสาวเล่าความในใจว่า
'พี่สร้างความเชื่อมั่นอย่างหนึ่งได้ตามที่มุ่งหมายไว้ ส่วนตัวพี่เองนั้น แม้ว่าจะคิดว่าแลเห็นแววหยาบกระด้างโหดเหี้ยมอยู่ในสีหน้าเขา ก็รู้สึกว่าผู้ชายคนนี้เมื่อลั่นวาจาแล้วเชื่อถือได้'
ในวันที่ 1 กันยายน 1939 ฮิตเลอร์บุกโปแลนด์ จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ท่ามกลางความตกตะลึงของเชมเบอร์เลนที่คิดว่ารู้จักฮิตเลอร์ได้ดีกว่าทุกคน และการพบปะพูดคุยเปนการส่วนตัวนั้นมีค่าเป็นพิเศษ3/
หนังสือ Talking to Strangers ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่มัลคอล์มหยิบยกขึ้นมา เพื่อให้เราได้ปะติดปะต่อตัวจิ๊กซอว์ ซึ่งใน Weekly Mail สัปดาห์หน้า ผมจะนํามาต่อให้เห็นภาพรวมเพื่อไขปริศนาศิลปะแห่งการอ่านคน
แหล่งที่มา:
1/ มัลคอล์ม แกลดเวลล์, Talking to Strangers (ศิลปะแห่งการอ่านคน) นุชนาฎ เนตรประเสริฐศรี แปลพิมพ์ครั้งที่ 6 อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง พิมพ์ครั้งที่ 6 มกราคม 2566 หน้า 1-5
2/ ดูคนให้ออก มองคนให้เป็น วิธีทําความรู้จักคนที่ไม่รู้จัก, Readery, THE STANDARD EP.99https://www.youtube.com/watch?v=UopXmatgGZQ
3/ ศิลปะแหง่ การอ่านคน นุชนาฎ เนตรประเสริฐศรี แปล หน้า 29-45