เราในฐานะเพื่อน ในฐานะครอบครัว ก็ต้องพยายามที่จะอำนวยความสะดวกในกระบวนการสันติภาพ เราพยายามที่จะดำเนินการเรื่องเหล่านี้แล้วในทางที่จับต้องได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเด็นเรื่องของความแตกต่างของชาติพันธ์ุย่อย ความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดความไว้เนื่อเชื่อใจ ซึ่งนี่กลายเป็นประเด็นที่ทางกรุงเทพกังวลเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่ามีทั้งความไม่สงบ ปฏิบัติการณ์การใช้กำลังต่างๆเกิดขึ้นตลอดมา
หมายเหตุ:เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน ตั้งแต่เวลา 10.00 น.นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน Business Meeting ในหัวข้อ The Future of ASEAN ซึ่งในงานดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมได้แก่ผู้นำจากภาคอุตสาหกรรมทั้งจากฝ่ายไทยและมาเลเซียกว่า 100 ราย
โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เรียบเรียงรายละเอียดส่วนหนึ่งของปาฐกถาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาชายแดนภาคใต้และปัญหาเมียนมา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ผมมักระลึกเสมอว่าการพบปะหารือทางการทูตในระดับประเทศนั้น มันเป็นเรื่องของความมีมนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ดังนั้นการที่เราพูดถึงอาเซียนและอนาคตของอาเซียน มันก็หมายถึงประชานนับพันล้านคน ไม่ใช่แค่หมายถึงนายกรับมนตรี หรือประธานาธิบดีแต่อย่างใด การหารือนั้นหมายถึงว่าเราจะสร้างวาระใหม่ร่วมกันอย่างไรสำหรับอนาคต ซึ่งวาระใหม่ที่ว่านี้ ผู้อื่นสามารถที่จะร่วมประเมินผลได้ด้วย ซึ่งรวมไปถึงแม้แต่กับคนที่ยากจน พื้นที่การปกครองที่ยากจน ที่ร่วมกันทำให้อาเซียนนั้นได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก
ประเด็นที่น่าห่วง และเป็นคำถามอย่างหนึ่งก็คือว่าแม้ประเทศไทยและมาเลเซียจะมีความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีที่ดี แต่ความสัมพันธ์ที่ดีดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์จนนำสู่ความร่วมมือในระดับทั้งการค้า การลงทุนร่วมกันแต่อย่างใด ทั้งๆประเทศไทยกับมาเลเซีย ในพื้นที่ระดับจังหวัด ในบริเวณชายแดนนั้น พบว่ามีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงการท่องเที่ยวด้วย
เมื่อวานนี้ (9 ก.พ.) ผมได้มีการไปพบปะกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ,นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี รวมไปถึงคนอื่นๆ ก็ได้เห็นว่าพวกเขานั้นมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งในการที่จะดำเนินการอย่างกระตือรือร้นเพื่อให้ได้มาซึ่งการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น พวกเขานั้นเป็นมิตรที่ดีเป็นอย่างยิ่ง และยังมีความชัดเจนว่ามีความกังวลเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุย การเดินหน้าเพื่อให้เกิดสันติภาพในภาคใต้
โดยผมก็ได้บอกไปแล้วชัดเจนว่าจุดยืนของผมนั้นจะไม่ทน และจะไม่ประนีประนอมต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ซึ่งเราจะได้แสวงหาความร่วมมือจากเพื่อนของเรา กลุ่มชาวมุสลิมในภาคใต้ สถาบันหลักของที่นี่โดยเฉพาะกองทัพ เพื่อที่จะนำไปสุ่แก้ไขปัญหา ทั้งนี้เรื่องปัญหาภาคใต้นั้นถือว่าเป็นเรื่องภายในที่กระทบต่อประเทศไทยอย่างชัดเจน
แต่ว่าเราในฐานะเพื่อน ในฐานะครอบครัว ก็ต้องพยายามที่จะอำนวยความสะดวกในกระบวนการสันติภาพ เราพยายามที่จะดำเนินการเรื่องเหล่านี้แล้วในทางที่จับต้องได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเด็นเรื่องของความแตกต่างของชาติพันธ์ุย่อย ความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดความไว้เนื่อเชื่อใจ ซึ่งนี่กลายเป็นประเด็นที่ทางกรุงเทพกังวลเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่ามีทั้งความไม่สงบ ปฏิบัติการณ์การใช้กำลังต่างๆเกิดขึ้นตลอดมา
ทั้งนี้ต้องบอกว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาที่หนักถึงในระดับที่มีการถกเถียงว่าไม่สามารถแก้ไขได้แต่อย่างใด เพราะผมเห็นว่าเหล่าบรรดาผู้นำที่อยู่ที่นี่ต่างก็มีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา สิ่งที่เราต้องทำก็คือการที่จะไปโน้มน้าวให้เพื่อนของเราที่อยู่ที่ใต้ซึ่งบางคน ผมก็รู้จักเป็นการส่วนตัวได้รับรู้และเข้าใจว่าพวกเขานั้นเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไทย และส่วนหนึ่งของประเทศไทย ที่พวกเขานั้นยังสามารถสงวนความเป็นตัวเองได้ทั้งในแง่ของวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา
เรื่องเหล่านี้เป็นปรัชญาทางการเมืองของผมที่ผมได้พยายามจะนำเสนอให้กับมาเลเซียตลอดมา มาเลเซียนั้นเป็นประเทศที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ หลากหลายศาสนา และผมก็ได้พยายามนำเสนอแนวคิดใหม่นี้ให้กับมาเลเซียว่า พลเมืองทุกคนนั้นจะได้รับการเคารพในเรื่องของความเชื่อ และระลึกว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย
เช่นเดียวกับกรณีของอาเซียน สิ่งที่เราต้องระลึกก็คือว่าพวกเรานั้นเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน สิ่งที่คนรุ่นเรารวมไปถึงรุ่นถัดไปหลังจากนี้ควรจะดำเนินการให้เกิดขึ้นก็คือการทำให้เกิดการตระหนักและรับรู้ในข้อนี้ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้นำในอาเซียนให้มากขึ้นไปอีก
แต่ก็เป็นเรื่องที่โชคร้ายที่ตอนนี้เราต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบในเมียนมา ซึ่งตรงนี้ผมก็ได้บอกกับ พล.อ.ประยุทธ์ไปแล้วว่า ทางตัว พล.อ.ประยุทธ์นั้นต้องเผชิญกับปัญหาบริเวณชายแดนที่ใหญ่หลวงอันสืบเนื่องจากปัญหาในเมียนมา เช่นเดียวกับมาเลเซียที่ต้องเผชิญกับปัญหาผู้ลี้ภัยที่มีจำนวนเกือบ 250,000 คนเข้าไปแล้ว ซึ่งผู้ลี้ภัยที่ว่านั้นก็รวมถึงมุสลิมโรฮิงญา และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆจากเมียนมา
ที่ผ่านมามาเลเซียนั้นต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้มาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี แต่ก็ต้องยอมรับว่าแค่ประเทศหนึ่งนั้นก็มีขีดจำกัดพอสมควรในการจะทำอะไรบางอย่าง แต่ผมก็เชื่อและเคยพูดคุยกับผู้นำประเทศอื่นๆว่า เราจะต้องร่วมมือกันเพื่อจะเดินหน้าแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้
แน่นอนว่าเราไม่อยากให้คนนอกมายุ่งเรื่องของเรา เราไม่อยากให้สหรัฐอเมริกา ไม่อยากให้ยุโรปมาบอกว่าเราต้องทำแบบนั้น แบบนี้ แต่เราก็ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่จะแก้ปัญหา เราต้องเป็นตัวของเราในการแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้
ปัญหาของเมียนมานั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในอย่างแท้จริง ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่าเราไม่ควรเข้าไปยุ่งถึงภายในประเทศ ถึงขั้นจะไปรบรากับเขา แต่ปัญหานี้มันก็กระทบประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง ในแง่ผู้ลี้ภัย กระทบต่อประเทศบังกลาเทศที่พยายามยกระดับเศรษฐกิจของตัวเอง และกระทบมาเลเซียที่มีสัดส่วนผู้ลี้ภัยจากเมียนมามากที่สุด
สำหรับผมต้องยอมรับว่ายังอ่อนประสบการณ์ในการเมืองระหว่างผู้นำอาเซียน แต่ผมก็หวังว่าจะมีการใช้หาทางแห่งสถิปัญญญาในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ปัญหานี้นั้นเป็นสัญญาณของความเสื่อมถอย เพราะว่าแทนที่อาเซียนเราจะก้าวไปข้างหน้า แต่ว่าเรากับถูกตรึงติดอยู่กับปัญหาในอดีต เรายังติดอยู่กับปัญหาต่างๆ อาทิ ปัญหาเรื่องการเหยียดเชื่อชาติ การขาดความยุติธรรม ทั้งๆที่เราควรจะก้าวไปข้างหน้าได้แล้ว ดังนั้นผมเชื่อว่าทั้งในปีนี้และปีหน้า ผู้นำอาเซียนควรจะร่วมกันก้าวต่อไป