"...เพราะว่าบรรดาเรือรบไทย(รถถัง ยานเกราะ เครื่องบิน โดรน ดาวเทียม จรวด ปืน ขีปนาวุธ อาวุธแม่นยำ/ฉลาด ... )มิได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศไทยให้เป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างกองเรือ/กองทัพ เราจึงมีแต่องค์ประกอบกำลังพลเป็นหลักโดยที่เราขาดแคลนอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างหนัก บรรดาอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ถูกจัดซื้อจัดหามาแบบสำเร็จรูปในราคาแพงมาจากต่างประเทศแบบเบ็ดเสร็จมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ก่อเกิดเป็นปรากฏการณ์ : บรรดาเรือ/ยานยนต์-เครื่องบิน-โดรนต่างแบบต่างรุ่น จะหาแบบเดียวรุ่นเดียวกันเกือบไม่ได้ บางแบบบางรุ่นมีลำเดียว/คันเดียวเสียด้วยซ้ำแต่กองทัพจะต้องดูแลปรนนิบัติต่อไปจนหมดอายุการใช้งานซึ่งนานกหลายสิบปี ปัญหาขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์-ขาดแคลนระบบจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งทางด้านการใช้งาน FMC ด้านการปรนนิบัติบำรุง(ขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่/สิ่งอุปกรณ์ประจำกาย/ประจำเรือ...) รวมถึงต่อการฝึก ผลเสียมากที่สุดคือเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการพัฒนาต่อยอดซึ่งเสมือนว่าถูกปิดประตูตายไปเลยเสียทีเดียว..."
หมายเหตุ: ผู้เขียนเป็นอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ
“กำลังพลเสียชีวิต ขาดแคลนเสื้อชูชีพ - เครื่องยนต์เสีย - หรือด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม”
มุมมองและวิธีคิดในทางทหาร มีดังนี้
ประวัติศาสตร์สงคราม
สูญเสียชีวิต เกณฑ์ไพร่พลเพิ่ม
อาวุธพังเสียหาย ผลิตสร้างเพิ่ม
ยุทโธปกรณ์ไม่พอ ระดมสรรพกำลังเต็มกำลัง
... สงครามใดๆ เป็นเช่นนี้เสมอ
ชนชาติผู้ชนะสงครามจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ในประเทศเสมอ ดังนี้
1 พลเมือง มีจิตวิญญาณ
2 ปัญญาของชาติ มีเพียงพอ อาวุธยุทโธปกรณ์ต้องฉลาดตามปัญญาความฉลาดของชนชาติ
3 สรรพกำลังต้องมีพร้อมอยู่เสมอ สามารถหยิบฉวยมาใช้ได้ในทุกยามเมื่อต้องการโดยเฉพาะยามวิกฤติ-สงคราม
ความขาดแคลนเรือรบไทย(ขาดแคลนรถถังไทย/ยานเกราะไทย-ขาดแคลนเครื่องบินรบไทย/โดรนไทย)
A ขาดแคลนเรือรบ (จมอับปาง 1 ลำ + รอทำแผนจัดหาใหม่ได้มาในอีกหลายปีข้างหน้า - ขาดอัตราบรรจุประจำการ)
B ขาดแคลนเสื้อชูชีพในเรือรบ (ลูกเรือสูญหาย 23 คน – ต้องจัดหาเครื่องมือ/สิ่งอุปกรณ์ประจำเรืออีกเป็นจำนวนมากให้ครบถ้วนสมบูรณ์)
C ขาดแคลนงบประมาณจัดหาเรือรบ (งบประมาณสร้างเรือรบ + งบประมาณจัดหาเครื่องมือ/สิ่งอุปกรณ์ + งบประมาณปรนนิบัติซ่อมบำรุง - ใช้งบประมาณอีกเป็นจำนวนมาก)
D ขาดแคลนปัญญาไทยทางด้านเรือรบ (พึ่งพาปัญญาจากชาวต่างชาติ + พึ่งพาการผลิตจากต่างชาติ - ระบบสรรพกำลังล้มเหลว)
E ขาดแคลนภูมิคุ้มกันด้านเรือรบ (เรือรบล้าสมัย + ใช้งานมายาวนาน/โลหะสึกกร่อนเปราะบาง + เครื่องยนต์ใช้งานมานาน/ขาดแคลนอะไหล่ – ห่วงโซ่เศรษฐกิจสร้างเรือรบขาดตอนไม่ครบวงจรและกำลังจะขาดหาย ยิ่งหากประเทศไทยยังซื้อ/นำเข้าเรือรบมาจากต่างประเทศ-ห่วงโซ่เศรษฐกิจยิ่งขาดหาย)
F ขาดแคลนยุทธวิธีการรบทางเรือ (การวางแผนการรบในสภาพอากาศ/เส้นทางหลัก-Alternate + การคิดคำนวณนำหนักเรือรบ/จุดศูนย์ถ่วง-CG/แรง G - นักรบแม้ฉลาดเก่งกล้าปานใดแต่หากขาดอาวุธแม่นยำ/ฉลาด/ขาดระบบอาวุธแม่นยำ/ฉลาดเป็นของไทยเราเองก็เสมือนตาบอดเป็นง่อย-ไร้ค่าทางสงคราม)
เขี้ยวเล็บของประเทศ(กองทัพ/เหล่าทัพ)
ก อาวุธยุทโธปกรณ์ในกองทัพ/เหล่าทัพ จำเป็นจะ(เร่ง)ปลดประจำการจำนวนมากมายในเวลาข้างหน้าเนื่องจากตกอยู่ในสภาพล้าสมัย/หมดอายุการใช้งาน (เกิน 30-40 ปี) “เป็นอันตราย” มากกว่าที่จะ “เป็นประโยชน์” (เหตุผลที่ปัจจุบันยังปลดประจำการไม่ได้ก็เนื่องจากจะทำให้ขาดอัตราบรรจุซึ่งส่งผลกระทบต่อการบรรจุกำลังพล/ต่องบประมาณที่พึงได้รับ/ต่อการเติบโตตามชั้นยศในสายงานอาชีพ)
ข อาวุธยุทโธปกรณ์บนเรือ-ยานยนต์-อากาศยาน/อู่ซ่อมบำรุงซึ่งมีใช้งาน ได้ถูกแยกส่วนถูกแยกระบบอย่างสิ้นเชิง นวัตกรรมมีหลากหลายมาจากหลายแหล่งผลิต สนธิผนึกกำลังทหารแบบบูรณาการเข้าด้วยกันไม่ได้ อาวุธกองพะเนินกลายเป็นชิ้นส่วนเก่าเก็บเหลือใช้ทิ้งขว้างเป็นจำนวนมาก ในขณะที่บรรดาสิ่งอุปกรณ์จำเป็นกลับขาดแคลน หมดสิ้นสภาพความสมบูรณ์ ไม่พร้อมใช้งานแม้ว่าอายุการใช้งานจะมีเหลืออยู่(บ้าง)ก็ตาม กองทัพของประเทศไทยในสภาพการณ์ที่ประเทศไทยผลิตสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ไม่ได้นั้นกำลังประสบปัญหาเช่นนี้
อาวุธ “ถูกจัดซื้อตามความต้องการของผู้มีอำนาจอนุมัติซื้อ”
อาวุธ “ใช้งานไม่ได้ตามที่นักรบประสงค์ใคร่อยากจะได้”
ค อาวุธยุทโธปกรณ์(กองทัพ/เหล่าทัพ)บนความขาดแคลนจึงขาดวงรอบการพัฒนายกระดับ Update – Upgrade ไปอย่างน่าเสียดายเนื่องจากขาดแคลนขีดความสามารถทางอุตสาหกรรม(ต่อเรือ)ในประเทศและ/หรือมิยอมให้ภาคประชาชน/เอกชน-ผู้ประกอบการในประเทศเข้าไปมีส่วนร่วมได้ (ขัดประโยชน์ของกลุ่มคนฝังตัวอยู่ในกระบวนการซื้อไปขายมา)
... การใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งห่างเหินจากการปรนนิบัติซ่อมบำรุงที่ดี-ปราศจากการปรับปรุงขีดความสามารถจึงตกอยู่ในความเสี่ยง
... ประโยชน์-กำลังจะมีน้อยกว่า-โทษ
ห่วงโซ่เศรษฐกิจไทยใหม่
1 ห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
อาวุธยุทโธปกรณ์ผลิตโดยชนชาติไทยจะมีเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าใครเสมอ การปรับปรุงขีดความสามารถโดยคนไทยกระทำได้ตลอดเวลาเมื่อครบวงรอบใช้งาน
ชิ้นส่วนอุปกรณ์มีมากเพียงพอสามารถหยิบฉวยใช้ได้ทันที ไม่ต้องรอคอยนำเข้า นำมาใช้ก่อนจ่ายเงินทีหลังก็ยังได้ การผลิตในสายการผลิตกระทำได้อย่างต่อเนื่อง
ชาวไทยมีงานทำในตำแหน่งงานที่ดีในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ค่าเงินบาทมูลค่าสูงเกิดบนองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย เทคโนโลยีไทย นวัตกรรมไทยอาวุธยุทโธปกรณ์ไทยซึ่งล้ำหน้าทันสมัย
เงินบาทไหลเวียนอยู่ในประเทศ-เก็บภาษีรายได้มาจากทุกห่วงโซ่-งบประมาณของรัฐเพิ่มตัวเลขสูงขึ้นตามGDPที่ตัวเลขเพิ่มเป็นทวีคูณ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีทวีคูณตามมา กองทัพได้รับงบประมาณเพิ่มเพียงพอต่อการใช้จ่ายจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ทันสมัยจากปัญญาไทยเข้ามาบบรจุใช้งานตามอายุการใช้งาน Update-Upgrade สามารถกระทำได้ตลอดตามวงรอบ สภาพการใช้งานสมบูรณ์100%/ปลอดภัย กำลังพล/ทหารสามารถใช้งานได้อย่างมีความเชื่อมั่น/มั่นใจ)
2 ห่วงโซ่ผู้มีส่วนร่วม
ภาคประชาชน/เอกชน-ผู้ประกอบการ : SME ….
สร้างระบบสรรพกำลังขึ้นในประเทศได้สมบูรณ์ ก่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแบบ Dual Use ไปพร้อมกัน
สร้างตำแหน่งงานขั้นดีกับสร้างรายได้ที่ดีบนตำแหน่งงานขั้นดี
3 ห่วงโซ่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ประชาชน หน่วยงานราชการ ได้รับประกันความมั่นคงปลอดภัย
ประเทศชาติมีภูมิคุ้มกันที่ดีบนความมีอธิปไตยเป็นของไทยเราเอง
เหตุที่มา
เพราะว่าบรรดาเรือรบไทย(รถถัง ยานเกราะ เครื่องบิน โดรน ดาวเทียม จรวด ปืน ขีปนาวุธ อาวุธแม่นยำ/ฉลาด ... )มิได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศไทยให้เป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างกองเรือ/กองทัพ เราจึงมีแต่องค์ประกอบกำลังพลเป็นหลักโดยที่เราขาดแคลนอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างหนัก บรรดาอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ถูกจัดซื้อจัดหามาแบบสำเร็จรูปในราคาแพงมาจากต่างประเทศแบบเบ็ดเสร็จมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ก่อเกิดเป็นปรากฏการณ์ : บรรดาเรือ/ยานยนต์-เครื่องบิน-โดรนต่างแบบต่างรุ่น จะหาแบบเดียวรุ่นเดียวกันเกือบไม่ได้ บางแบบบางรุ่นมีลำเดียว/คันเดียวเสียด้วยซ้ำแต่กองทัพจะต้องดูแลปรนนิบัติต่อไปจนหมดอายุการใช้งานซึ่งนานกหลายสิบปี ปัญหาขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์-ขาดแคลนระบบจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งทางด้านการใช้งาน FMC ด้านการปรนนิบัติบำรุง(ขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่/สิ่งอุปกรณ์ประจำกาย/ประจำเรือ...) รวมถึงต่อการฝึก ผลเสียมากที่สุดคือเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการพัฒนาต่อยอดซึ่งเสมือนว่าถูกปิดประตูตายไปเลยเสียทีเดียว
ความคิด-วิธีคิด
การเปลี่ยนความคิด-เปลี่ยนวิธีคิด รวมไปถึงเปลี่ยนวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรรมป้องกันประเทศถือว่าเป็นเรื่องราวสำคัญมากในความอยู่รอดของชาติบ้านเมืองบนหลักการของการต้องมีภูมิคุ้มกันเป็นของไทยเราเอง
เรือรบไทยลำต่อไป ไทยต้องสร้าง
ออกแบบใหม่ มิให้จมได้ด้วยเหตุเพียงลมแรง(และหรือระบบขัดข้องยามมีสภาพอากาศ)
เรือรบยุคอนาคตน่าจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้าง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ อาวุธยุทโธปกรณ์ พลังงานขับเคลื่อน ระบบสร้างความอยู่รอด อีกหลายต่อหลายอย่าง ทั้งนี้ เนื่องจากขีดความสามารถของภัยคุกคามกับ “สภาพอากาศที่รุนแรงจากสภาวะโลกร้อน” ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง สภาพอากาศรุนแรงมากยิ่งขึ้น-ขีดความสามารถในตวามอยู่รอดต้องดีมากยิ่งขึ้น
เราต้องศึกษานำข้อมูลเรือรบจีนยุคสมัยใหม่ ว่า จีน-สหรัฐ-เยอรมัน ...ออกแบบเรือใหม่กันอย่างเพื่อใช้งานในอนาคต 10-15 ปีข้างหน้า วงรอบการใช้งานเรืออาจต้องลดลงจาก30ปีมาเหลือ 15 ปี ไม่เกินนั้น ยิ่งวงรอบการสร้างเรือรบเร็วเท่าใด-วิวัฒนาการของเรือรบยุคใหม่ก็ยิ่งเกิดมีในตัวมันมากเท่านั้น
ตรรกะทางความคิด
อาวุธต่อสู้
หมัด ศอก แข้ง เข่า ตีน ได้มาจากกล้ามเนื้อ เส้นประสาท สมอง และพลังงานสะสมของร่างกายของเราเองทั้งสิ้น ซื้อหาจากใครมิได้ ยืมใครก็มิได้ วิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติสอนไว้เช่นนั้น
อาวุธยุทโธปกรณ์
อาวุธภาคพื้น อาวุธทางเรือ อาวุธทางอากาศ อาวุธทางอวกาศ เช่นกันต้องได้มาจากอุตสาหกรรมป้องกันประเทศผลิตสร้างในประเทศเท่านั้น ระบบป้องกันประเทศ(กำลังทหาร 5 มิติ: บก น้ำ อากาศ อวกาศ ไซเบอร์)ต้องมาจากปัญญาไทยจากพลเมืองไทย(เก่ง :2ฉลาด4ดี)เท่านั้นเช่นกัน มิอาจหยิบยืมจากชนชาติใดมาได้
ความหลงผิดก่อความผิดพลาดในทางยุทธศาสตร์-ทางนโยบายด้านการสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยเรามายาวนาน นานวันเข้ามันจึงกลายมาเป็นปัญหามากกว่าที่จะใช้ประโยชน์ให้เป็นเกราะคุ้มกัน!!!
เรือรบหลวงสุโขทัยอับปางลง มิใช่มองกันแค่เพียง เรือแตกจากสภาพอากาศ/พายุรุนแรง มิใช่มองกันที่เครื่องยนต์ดับ(สตาร์ทไม่ติด) มิใช่มองกันที่แพยางไม่เพียงพอ....
แต่เราต้องมองไปถึงรากเหง้าที่มาของปัญหา คือ การขาดแคลนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นสาเหตุหลัก ตามที่ได้สาธยายหลักการและเหตุผลมาข้างต้น
มิใช่เพียงแค่เรือรบหลวงสุโขทัยอับปาง ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างในทำนองเดียวกันกำลังจะเกิดขึ้นตามมาเนื่องจากความขาดแคลนที่เกิดมีมายาวนานในประเทศไทยบนการพึ่งพาอาวุธของชาวต่างชาติตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น!!!
ตำนานพระเจ้าตากฯ
กองเรือรบชั้นดีจากปัญญาของชนชาติเรากองเรือแรกก็คือกองเรือรบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
กองเรือชั้นดีนี้ถูกสร้างขึ้นที่เมืองจันท์
กองเรือชั้นดีนี้สร้างโดยฝีมือของชนชาติเรา
กองเรือนี้ถูกนำไปใช้ “กู้บ้าน-กู้เมือง” - “สร้างบ้าน-สร้างเมือง” กำเนิดเป็นกรุงธนบุรี
240 ปีนับจากนั้น กองเรือชั้นดีมิได้เกิดมีในบ้านเมือง (ทหารเรือทุกคนรู้ดี)
เครื่องบินฝูงแรกของประเทศไทย
เครื่องบินไทยถูกสร้างโดยชาวสยามเมื่อ 2472-2480 โดย พลอากาศโท พระยามุนี มหาสันทนะเป็นหัวหอก ในสมัย ร6
เครื่องบินไทยบินไปไกลถึงอินเดีย-เวียดนาม
กำลังทางอากาศของเราสมัยนั้นมีศักยภาพติดอันดับ1ใน10 ของกำลังทางอากาศทั้งโลก
... ปัจจุบันมิมีอะไรเหลือหรอ
... ไม่มีอะไรหลงเหลือเป็นตำนานทางปัญญาติดอยู่กับประเทศไทย
ตัวแบบที่น่าศึกษา
ฮอลแลนด์(เนเธอร์แลนด์) ประสบภัยพิบัติน้ำทะเลท่วม ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ชาวฮอลแลนด์(นักการเมือง/นักปกครอง-ข้าราชการ สถาบันการศึกษาของฮอลแลนด์เปลี่ยนวิธีคิด-เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ “ทันที” ไม่ทันข้ามคืนเพื่องเร่งสร้างความอยู่รอดปลอดภัยให้กับตนเอง
กฎระเบียบ/กฎหมาย วางไว้ข้างหลัง
องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ถูกนำมาวางไว้ข้างหน้าให้เป็นโจทย์สำคัญที่ทุกคนในชาติต้องร่วมกันหาคำตอบในคืนนี้โดยทันที
ไทย ยังมิได้เร่งคิดกันในเรื่องนี้
ไทย เรากระทำกันเพียงแค่โศกเศร้าอาดูรบนความสูญเสียที่เกิดขึ้น หาได้มีใครคนใดพลิกผันนำความสูญเสียจากความผิดพลาดในการนำพาบ้านเมืองดังกล่าวนี้มากำหนดเป็นวาระแห่งชาติโดยทันที นี่คือประเทศไทยของเรา!!!
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก www.thaipost.net