“…ในฐานะธนาคารกลางที่มีพันธกิจในการเสริมสร้างเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง ธปท. จึงมีบทบาทในการส่งเสริม least-disruptive transition ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยผ่านระบบการเงินและสถาบันการเงินภายใต้การกำกับ…”
......................................
หมายเหตุ : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สรุปคำกล่าวปาฐกถาของ เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ในหัวข้อ ‘ทางออกประเทศไทย: ก้าวข้ามความเสี่ยงสู่เศรษฐกิจยั่งยืน’ ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2565
Climate change กับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวโดยมีอุปสรรคและต้นทุนน้อยที่สุด (least-disruptive)
-ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และความเสี่ยงจาก climate change ต่อเศรษฐกิจไทยสูงขึ้นอย่างมากทั้งจาก
1.Physical Risk สถานการณ์ climate change มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นรุนแรง และเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ในอดีต
2.Transition Risk ประชาคมโลกให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนักลงทุน ผู้บริโภค รวมถึงนโยบายภาครัฐโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ที่มีความตื่นตัวและความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation) มากขึ้น
-การเปลี่ยนผ่าน (transition) ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับประเทศไทย แต่การเปลี่ยนผ่านไม่ใช่เรื่องง่าย จะไม่ smooth และ bumpy ธุรกิจจำนวนมากจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีการผลิตต้องปรับเปลี่ยน (ให้ green ขึ้น) เพื่อตอบสนองต่อรสนิยมผู้บริโภคและนโยบายภาครัฐที่เปลี่ยนไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ดังนั้น โจทย์ของเรา คือ ทำอย่างไรให้การเปลี่ยนผ่านมีอุปสรรคและต้นทุนน้อยที่สุด และไม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง (least-disruptive transition) เพราะการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นไม่มีต้นทุนและอุปสรรคเลยคงเป็นไปได้ยากในโลกแห่งความเป็นจริง
-Least-disruptive transition สำหรับเศรษฐกิจไทยจะประกอบด้วย 4 มิติ คือ ความมั่งคั่ง (Prosperity) ความยืดหยุ่น (Resiliency) ความยั่งยืน (Sustainability) และความทั่วถึง (Inclusivity)
1.Prosperity: เศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้ในช่วงปรับเปลี่ยน ธุรกิจและแรงงานต้องสามารถอยู่รอดได้ในช่วงปรับเปลี่ยน
สิ่งที่ไม่อยากเห็น การบังคับใช้มาตรการทางสิ่งแวดล้อมที่ให้เวลาธุรกิจปรับตัวไม่เพียงพอ (speed) หรือในเวลาที่ไม่เหมาะสม (timing) เกิดการฟอกเขียว (green washing) เพื่อการตลาดของธุรกิจ
2.Resiliency: ระบบเศรษฐกิจและการเงินมีเสถียรภาพ ธุรกิจและแรงงานสามารถรับความเสี่ยงทั้งจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปและจากความเสี่ยงจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ใหม่
สิ่งที่ไม่อยากเห็น ธุรกิจปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่โดยไม่เข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการขาด buffer รองรับหากการปรับเปลี่ยนธุรกิจล้มเหลว สินเชื่อเพื่อการปรับตัว (transition loans) กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) การมุ่งลงทุนในเทคโนโลยีหรือธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบางประเภทมากจนเกินไป จนส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นและเร็วเกินปัจจัยพื้นฐาน (green bubble)
3.Sustainability: การปรับเปลี่ยนนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
สิ่งที่ไม่อยากเห็น ธุรกิจและแรงงานต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐตลอดไป (เป็น infant “green” industry ที่ไม่ยอมโต) การตามกระแสการตลาดของธุรกิจในระยะสั้นแต่ไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
4.Inclusivity: การปรับเปลี่ยนนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
สิ่งที่ไม่อยากเห็น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้นจากการที่กลุ่มเปราะบางที่ปรับตัวได้ยากกว่าถูกละทิ้งให้รับความเสี่ยงจาก climate change ที่สูงขึ้น และไม่สามารถปรับตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้
บทบาทของภาคการเงิน
-ในการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์ climate change นั้น ผู้ประกอบการและแรงงานจำเป็นต้องใช้เงินทุน ดังนั้น ภาคการเงินในฐานะผู้จัดสรรเงินทุนจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน least-disruptive transition ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่อยากเห็น
-ภาคการเงินมีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เพียงพอ ที่เอื้อให้การเปลี่ยนผ่านราบรื่น ทั้งในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ธุรกิจปรับตัวได้โดยมีอุปสรรคและต้นทุนที่น้อยที่สุด
-ภาคการเงินคำนึงถึง/ผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติอย่างเป็นระบบ (internalize)
สิ่งที่ไม่อยากเห็น
-การดำเนินการของสถาบันการเงินเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของธุรกิจ
-การประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป (underestimate risk) จนกระทบเสถียรภาพระบบการเงิน
-การประเมินความเสี่ยงที่สูงเกินไป (overestimate risk) จนเกิด green bubble
-การตัดขาดธุรกิจที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน
-สถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลกได้ออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม (green financial products and services) ที่หลากหลาย เช่น
-Green bonds หรือ green project finance สำหรับโครงการใหญ่ ๆ ที่สนับสนุน low-carbon economy
-Green deposit ที่ earmark กับการปล่อยสินเชื่อให้กับกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การปรับปรุงกระบวนการจัดการของเสียของกิจการไปจนถึงเกษตรกรรมยั่งยืน
-Green mortgage ที่ให้ดอกเบี้ยในอัตราพิเศษสำหรับที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงาน
ในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้ว่ามูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกจะยังมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่เติบโตสูง เห็นได้จาก Global green financing เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเพิ่มจาก 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2555 มาอยู่ที่ 540.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564
สำหรับประเทศไทยนั้น ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มากและค่อนข้างจำกัดอยู่ในบางอุตสาหกรรมและกิจการขนาดใหญ่ ถึงแม้จะมีการตื่นตัวเรื่อง climate change มากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตแล้วก็ตาม
-สินเชื่อส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมพลังงาน
-ครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ยังมีปัญหาในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์
-ปัจจัยที่ทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยยังพัฒนาได้ไม่เร็วเท่าที่ควร ทำให้การจัดสรรเงินทุนในปัจจุบันยังไม่ตรงจุดกับการสนับสนุนการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่าน ได้แก่
1.ประเทศไทยยังขาดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
-แต่ละภาคส่วนยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและทิศทางการปรับตัวที่ไม่ตรงกัน
-ภาคการเงินไม่มีข้อมูลเพียงพอในการประเมินความเสี่ยงและการปรับตัวของแต่ละธุรกิจ
ผล: การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทำได้ยาก ไม่ตรงความต้องการของธุรกิจ
2.ระบบสถาบันการเงินไทยขาดการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ผล: เกิดความลักลั่นในการดำเนินการ ลูกค้าอาจเลือกสถาบันการเงินที่มีเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่หย่อนกว่าจนก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบด้านการแข่งขันในระยะสั้น สถาบันการเงินจึงขาดแรงจูงใจในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ (first-mover disadvantage)
3.ธุรกิจไทยจำนวนมากไม่สามารถรับความเสี่ยงและต้นทุนที่สูงในช่วงแรกของการปรับตัว (upfront costs) ได้ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีสายป่านสั้นและขาดหลักประกัน ขณะที่เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีต้นทุนสูง และต้องใช้ระยะเวลากว่าจะถึงจุดคุ้มทุน
ผล: สถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้ SMEs ได้
(เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
บทบาทของ ธปท.
-ในฐานะธนาคารกลางที่มีพันธกิจในการเสริมสร้างเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง ธปท. จึงมีบทบาทในการส่งเสริม least-disruptive transition ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยผ่านระบบการเงินและสถาบันการเงินภายใต้การกำกับ
-ในช่วงที่ผ่านมา ธปท. ได้เริ่มดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อลดอุปสรรค ได้แก่
1.ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (taxonomy) ที่เป็นมาตรฐานกลาง และวางแผนการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (disclosure)
-กำหนดนิยามหรือจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition) โดยเริ่มจากภาคพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงสำหรับประเทศไทย
-กำหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
2.สนับสนุนให้สถาบันการเงิน internalize ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงาน เช่น
-การประเมินโอกาสและความเสี่ยงในพอร์ตของสถาบันการเงิน เช่น portfolio heatmap และ climate stress test
-การผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการพิจารณาให้สินเชื่อ (credit underwriting)
โดย ธปท. จะออกแนวนโยบายเรื่องการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ standard practice รวมถึงการจัดทำ industry handbook ร่วมกับสถาบันการเงิน และจะติดตามการปรับกระบวนการดังกล่าวโดยให้สถาบันการเงินทำ self-assessment ในช่วงแรก และจะเริ่มมี thematic exam ในระยะต่อไป
3.พิจารณามาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อลดภาระและค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs และสถาบันการเงินที่ต้องการปรับการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น
-สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Transformation Loan) รวมถึงการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อรับรองการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานของภาคธุรกิจ
-กลไกการค้ำประกันความเสี่ยงให้กับสถาบันการเงินที่ในช่วงเปลี่ยนผ่านยังไม่สามารถประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมของลูกค้าได้อย่างเพียงพอ
การดำเนินการเรื่อง climate change ของต่างประเทศ
-เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์จากต่างประเทศ (จากการหารือกับผู้เกี่ยวข้องด้านการผลักดันเรื่องการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น Green Finance Institute ที่อังกฤษ) พบว่า
-การวางรากฐานของ ธปท. โดยเฉพาะการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ (ทั้ง standard practices และ taxonomy) สอดคล้องกับที่ผู้กำกับดูแลในประเทศอังกฤษดำเนินการอยู่
-แต่ ยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์การปรับตัวของภาคธุรกิจ ซึ่งกรณีของอังกฤษ รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันหนึ่งขึ้นมา และบริหารจัดการโดยอดีตนายธนาคารที่มีความสนใจและต้องการผลักดันเรื่อง green finance โดยมีการประสานกับผู้เกี่ยวข้องจากหลายด้านเพื่อร่วมหา solutions และนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ได้จริง
ทั้งนี้ การดำเนินการของสถาบันไม่ได้อาศัยหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามามีบทบาทหลัก แต่อาจหารือ/ขอความช่วยเหลือเมื่อติดประเด็นต่าง ๆ เช่น เกณฑ์ที่อาจเป็นอุปสรรค
บทสรุป
ในภาพรวม การขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมให้เห็นผล จำเป็นต้องอาศัยการการสานพลังของทั้งภาคเอกชน ภาคประชาชนเพื่อช่วยขับเคลื่อนและร่วมกันออกแบบ creative solutions ต่าง ๆ ขณะที่ภาครัฐมีบทบาทในการเอื้ออำนวย (facilitate) การมุ่งไปสู่ solutions เหล่านั้น