"...แม้แผนปฏิรุปจะร่างไว้ดีแค่ไหน แต่ว่าจะถูกกลืนโดย ‘วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture)’ เสมอ เพราะวัฒนธรรมเป็นอารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมที่กระทำมาจนเป็นประจำ ความรู้สึกแบบนี้จะเกิดทุกองค์กร และมักจะเป็นความรูสึกที่ไม่อยากทำมาตั้งแต่ต้น..."
หมายเหตุ : Thai PBS ร่วมกับ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จัดเวทีสาธารณะหัวข้อ ‘ปราบโกงประเทศไทย 2022 : มรดกกรรมการปฏิรูปประเทศ’ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 65 โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) และนางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา ที่มีต่อแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาเผยแพร่มีรายละเอียด ดังนี้
วิชา มหาคุณ: เริ่มจากบนลงล่าง-ล้างวัฒนธรมองค์กร
นายวิชา เริ่มต้นว่า แม้แผนปฏิรุปจะร่างไว้ดีแค่ไหน แต่ว่าจะถูกกลืนโดย ‘วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture)’ เสมอ เพราะวัฒนธรรมเป็นอารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมที่กระทำมาจนเป็นประจำ ความรู้สึกแบบนี้จะเกิดทุกองค์กร และมักจะเป็นความรูสึกที่ไม่อยากทำมาตั้งแต่ต้น เมื่อไปกระตุ้นให้ก็อาจจะเริ่มด้วย เอาด้วย แต่ไม่มี Action Plan ตามมา ตรงนี้จึงสำคัญมาก เขียนเป็นนโยบาย กำหนดขึ้นมาแล้ว มีการกระทำบ้างหรือเปล่า กระบวนการต้องเริ่มจากข้างบน อย่าบอกว่า ต้องไปตามขั้นตอน เพราะเป็นเรื่องการปฏิรูป ต้องเริ่มจาก Thron of the Top ข้างบนต้องทุบโต๊ะ มันจะมาจากนโยบาย
และนโยบายที่เขียนมา ต้องชัด เพราะประชาชนและผู้มีส่วนร่วมปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ต้องอธิบายให้เข้าใจละเอียด บอกเป็นขััั้นตอนให้ชัดเจน
ปัญหาวัฒนธรรมองค์กร จะต้องมีการเก็บข้อมูล การปฏิรูปในปัจจุบันไม่มีข้อมูลเลยว่า กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ มีพฤติกรรมด้านการทุจริตอะไรที่เห็นได้่่ชัดและไม่สามารถเปลี่ยนได้เลย ซึ่งหน่วยงานของรัฐหลากหลายที่จะต้องมาเป็นเจ้าภาพในการเก็บข้อมูล
ในส่วนของตนได้รับข้อมูลจาก องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ในด้านการมีธรรมาภิบาล สิ่งที่ล้วงลึกคือ ต้องรู้ข้อมูลภายในอย่างละเอียดว่า หน่วยงานที่มีการทุจริตบ่อยครั้ง อะไรเป็นฐานคิดของหน่วยนั้น ต้องหามาให้ได้ แต่ปัจจุบัน ไม่รู้ว่าหน่วยงานในประเทศทำแบบนี้หรือไม่ เป็นไปได้ว่า ส่วนหนึ่ง เราก็คุ้นเคยกับการทุจริต และคิดว่าสิ่งที่ทำไม่ทุจริต
และนโยบายที่เขียนมา ต้องชัด เพราะประชาชนและผู้มีส่วนร่วมปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ต้องอธิบายให้เข้าใจละเอียด บอกเป็นขััั้นตอนให้ชัดเจน ปัจจุบัน แค่โปร่งใส ตรวจสอบได้ อาจจะไม่พอแล้ว ต้องสะอาด (Clean) ด้วย หมายความว่า ต้องชำระ สะสาง สิ่งเลร้ายในองค์กรให้หมด ดังนั้น การคอร์รัปชันในขณะนี้ จะมองไปถึงการที่เราไปยอมรับค่านิยมบางอย่าง มาเป็นบรรทัดฐาน (Norm) หรือ ข้อยกเว้น (Expection) และกลายเป็นวัฒนธรรมไปในที่สุด
“ผมบอกเลยว่า ผมมีตัวอย่างเยอะมากของคนที่ต่อสู้ในระบบ แต่ถูกระบบบีบเค้น สิ่งที่ผมเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุดคือ การแก้ไข พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร 2540 เพราะว่านี่คือหัวใจเลย องค์กรความโปร่งใสสากลหรือ Transparency International (TI) ระบุชัดเจนว่า ถ้าข้อมูลข่าวสารของคุณ ทำเป็นข้อมูลสาธารณะไม่ได้ เปิดเผยให้ประชาชนเข้าถึงได้ เท่ากับคุณแพ้การทุจริตไปครึ่งหนึ่งแล้ว เพราะเราไม่สามารถเข้าถึงปข้อมูลที่ควรรู้เลย แทนที่จะรอให้หน่วยงานต่างๆ มาบอกว่าเขามีอะไรบ้าง เราจะต้องให้หน่วยงานนั้นตีแผ่ว่า มีข้อบกพร่องอะไร ต้องยอมรับก่อน แต่ที่ผ่านมาไม่มีการแก้ไขเรื่องนี้ เพราะเราติดกับวัฒนธรรมความลับ (Secrecy Culture) ประเทศไทยทุกอย่างเป็นความลับหมด เพราะฉะนั้น การเปิดเผยข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่สยดสยองของหน่วยงานรัฐมาก” นายวิชา กล่าว
ส่วนเจตจำนงของฝ่ายรัฐบาลในฐานะผู้กำหนดนโยบาย นายวิชากล่าวว่า เรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เป็นเรื่องที่สั่นสะเทือนทางการเมือง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT เคยเชิญไปร่วมกิจกรรมให้ควาามรู้ประชาชนด้านภาษีอากรและงบประมาณกับประชาชนในโครงการหมาเฝ้าบ้าน แต่ตัวโครงการไม่ได้ทำต่อเนื่อง ซึ่งการเผยแพร่ความรู้นี้ทำให้ทราบว่า อบต.บางห่งได้งบประมาณเป็น 1,000 ล้านบาทก็มี ดังนั้น การกินงบประมาณแผ่นดิน ทำให้ประชาชนได้ของไม่ดี และได้คุณภาพชีวิตที่เลว
“ฝ่ายนิติบัญญัติและรัฐบาล ต้องพยายามผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น เราเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่ได้ ในส่วนของรัฐบาลต้องมีเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ตรงนี้สำคัญมาก รัฐบาลต้องมีความตั้งใจที่จะผลักดันให้ได้ และวันพรุ่งนี้และมะรืนนี้ (9-10 มิ.ย. 65) ตนจะต้องเข้าไปพิจารณาการปฏิรูปตำรวจ จะได้รู้ว่ามันคือปฏิรูป หรือ ปฏิลูบ" นายวิชา กล่าวตอนหนึ่ง
รสนา โตสิตระกูล: 5 Rocks แป้ก - เติมเครื่องมือตรวจสอบให้ประชาชน
นางสาวรสนา กล่าวว่า 5 Big Rocks ที่พูดมายังแยกๆกันอยู่ และไม่น่าช่วยให้การตรวจสอบทุจริตทำได้ง่ายขึ้น เช่น การเปลี่ยนประชาชนเป็นพลังพลเมือง เอาจริงๆ ประชาชนตื่นตัวอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดเครื่องมือในการช่วยตรวจสอบได้
ส่วนตัวคิดว่า การทุจริตที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มาจากระดับสูง การแก้ไขปัญหาควรมาจากเจตจำนงในระดับบนเลย ซึ่งที่ผ่านมาก็ No Action , Talk Only ไม่มีอะไรเกิดขึ้น และการทุจริตมักจะเกิดในที่มืด เพราะฉะนั้น หากไม่สามารถทำพื้นที่ต่างๆให้สว่างขึ้นมา หรือไม่สามารถฉายไฟส่องไปได้ การทุจริตก็ยังอยู่ ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารจึงสำคัญ
ประเด็นการปฏิรูปกิจการภาครับ ก็ควรมีระบบให้การจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องมีีส่วนของประชาชนเข้ามาในกระบวนการด้วย เพราะที่ผ่านมามีแค่ภาครัฐและเอกชนที่ยื่นประมูล ซึ่งหากมีส่วนของประชาชนเข้ามา ดังที่อ้างว่าจะไปปลุกเขา แต่ไม่ให้เข้ามีส่วนร่วมเลย ก็ไม่ทำให้เกิดพื้นที่สว่างได้ และการตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร ที่ผานมาไม่เคยทำเลย แม้จะมีกฎหมายเรื่องข้อมูลข่าวสาร แต่บัดนี้ หน่วยงานรัฐก็มักไม่เปิดเผยข้อมูลเหมือนเดิม
“ยกตัวอย่างประถะเด็นสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่คนเรียกร้องให้เปิดข้อมูล ก็อ้างว่าเป็นความลัทางธุรกิจ อีกหน่อยควรระบุเลยว่า สัญญาทางปกครอง เมื่อรัฐทำกับเอกชน ต้องเปิดเผยให้ประชาชนรู้ได้ ถ้ารู้ไม่ได้ กิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน ประชาชนรู้ไม่ได้ แต่ประชาชนต้องเสียเงิน อันนี้ก็ควรจะแก้ไขออกมา” นางสาวรสนา กล่าว
ทั้งนี้ นางสาวรสนา กล่าวต่อว่า การที่จะทำให้การแก้ทุจริตสำเร็จได้ ต้องอาศัยการทำให้เกิดกลไกที่จะทำให้ประชาชนใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบและฟ้องร้องต่อมา ซึ่งเครื่องมือนี้ยากมาก เช่น การฟ้องกับศาลอาญาทุจริต ได้รับการปฏิเสธ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องโดยตรง แม้จะอ้างมาตรา 50 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ศาลอาญาก็ไม่รับอีก อ้างว่า ประชาชนไม่สามารถยกหน้าที่ของชนชาวไทยมาต่อสู้ แต่หากเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ถึงจะยกเป็นเหตุต่อสู้ได้ ต่อมา ได้ถามนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ถึงได้ทราบว่า มาตรานี้ร่างไว้ให้ข้าราชกรเป็นผู้มีอำนาจไปฟ้องร้องเป็นหลัก
หลังจากนั้น ลองให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ดำเนินการฟ้องร้องแทน ซึ่งก็ใช้เวลา 2 ปี ในการกำหนดว่า มีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องหรือไม่ ซึ่งตอนแรก ศาลยกฟ้อง เพราะศาลระบุว่า มูลนิธิสามารถฟ้องได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการทุจริต จึงสู้ต่อว่า การทุจริตทำให้ผู้บริโภคเสียหายมาที่สุด นำไปสู่การประชุมใหญ่ของศาล และศาลจึงประทับรับฟ้องไว้ในที่สุด ซึ่งถ้าจะให้ดี ควรกำหนดเลยว่า จะมีหน่วยงานใดเข้าตรวจสอบหรือฟ้องแทนได้
อย่างไรก็ตาม นางสาวรสนา มองว่า สิ่งที่คณะกรรมการปฏิรูปฯ เสนอไปนั้น รัฐบาลไม่ทำแน่นอน เพราะที่ผ่านมาก็ตั้งคณะกรรมการแบนี้มามากแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะคณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาตอะไร หน่วยงานจะทำหรือไม่ ก็เรื่องของแต่ละองค์กร เพราะฉะนั้นการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ควรมีเครื่องมือ หรือแรงจูงใจอย่างอื่นด้วย รวมถึงกระบวนการยุติธรรมต้องรวดเร็ว
หน่วยงานรัฐประสานเสียงเข็นปฏิรูปต่อ
ด้านท่าทีของตัวแทนหน่วยงานรัฐที่มาร่วมในงานสัมมนา เริ่มต้นที่นายสิน สื่อสวน ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าวว่า การทำเรื่องทุจริต ชาวบ้านก้ำกึ่งจะะะเอาดีไหม เพราะอิทธิพลเยอะ หัวหน้าชุมชนเสียชีวิตไปมาก และถูกเจ้าหน้าที่รัฐถามด้วยว่า เอาอำนาจอะไรมาทำ แต่สุดท้ายชาวบ้านก็ตัดสินใจทำ
ได้บรรจุเรื่องนี้ อยู่ในขบวนองค์กร ชุมชน ด้านหนึ่งนอกจากต่อต้านทุจริต จะต้องสร้างสังคมสุจริตด้วยทั้งในหมู่ตัวเองและคนอื่นมี 4 ภารกิจใหญ่ คือ สร้างจิตสำนึกของคน, สร้างระบบพื้นที่เปิดเผยโปร่งใสในการกำกับการใช้งบประมาณ, เมื่อได้งบจากรัฐ จะเป็นตัวอย่างในการใช้จ่ายอย่างมีธนนมาภิบาลอย่างไร และการต่อต้านการทุจรติ
ระยะเวลา 1-2 ปี ทำไปแล้ว 17 จังหวััด 170 ตำบล-เทศบาล ถือเป็สารตั้งต้นในการทำให้เกิดความเคลื่อไหว โดยผลที่ได้ตคือ ความตื่นตัว จากเดิมมองไม่ใช่ภาระ แต่ปัจจุบันประชาชนเข้ามองเป็นภารกิจของเขาแล้ว ทุกเครือข่ายเอาด้วยหมด
ขณะที่นายภูเทพ ทวีโชติธนากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายการถูกฟ้องปิดปาก ในกฎหมายป.ป.ช. เจ้าหน้าที่รัฐคุ้มครองในส่วนการถูกดำเนินคดีทางอาญาและวินัย ส่วนประชาชนคุ้มครองในคดีแพ่งและอาญา แต่กฎหมายยังมีข้อจำกัด คือ หากไม่ได้เข้ามาสู่กระบวนการของ ป.ป.ช. ก็จะไม่ครอบคลุม เช่น สื่อมวลชน เมื่อนำข่าวสารไปเผยแพร่ต่อ กฎหมายคุ้มครองการฟ้องปิดปาก จะคุ้มครองถึง หากเกี่ยวกับประเด็นการทุจริต
ส่วนความคืบหน้าในขณะนี้ ป.ป.ช. ได้ยกร่างกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปากแล้ว เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยังถกเถียงว่า จะเติมในกฎหมาย ป.ป.ช. หรือจะต้องออกเป็นกฎหมายกลางมาเลย ซึ่งคงต้องรออีกสักระยะ แต่ทาง ป.ป.ช. จะยืนยันในหลักการว่า ควรจะต้องเป็นกฎหมายกลาง
ด้านนายกฤษณ์ กระแสเวส ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. กล่าวว่า การขับเคลื่อนการปฏิรูปในภาครัฐ ขณะนี้เป็นรูปธรรมแล้ว 1 อย่างคือ นโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ซึ่งนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ออกเป็นนโยบายและไม่รับของขวัญเลยสักอย่างโดยอนาคตคาดหวังว่า จะเป็น Soft Power เหมือนแคมเปญ ให้เหล้าเท่ากับแช่งของ สสส. เชื่อว่าการดำเนินการของคณะกรรมการปฏิรูปฯ เริ่มเห็นผลแล้ว