"..สำหรับการกำหนดแนวทางในการอภัยโทษ โดยคำนึงถึงทัศนคติของผู้ที่ต้องโทษเป็นสำคัญ อีกทั้งต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาพระราชอภัยโทษตามวโรกาสต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม รวมไปถึงหลักเกณฑ์การกำหนดสัดส่วนระยะเวลาปลอดภัยของนักโทษโดยถึงความปลอดภัยของสังคมเป็นสำคัญ.."
หมายเหตุสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org): เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 ผู้เข้าอบรมหลักสูตร ‘การบริหารเชิงนิติศาสตร์ระดับสูง’ (วทน.) รุ่นที่ 1 วิทยาลัยทนายความ จัดการนำเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอเกี่ยวกับกฎหมายไทย มีรายละเอียด ดังนี้
นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม ย้ำต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้
เทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยระบบ 5G อุปกรณ์ IOT เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต การยืนยันตัวตนด้วย Smart Device Cyber Security เทคโนโลยี Big Data Blockchain ล้วนแล้วเป็นการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี
ศาลยุติธรรม จึงตอบรับกับกระแสความเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการที่ประชาชนจะเข้าถึงความยุติธรรมได้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรรัฐที่มีหน้าที่ใช้อำนาจตุลาการอย่างอิสระภายใต้หลักนิติธรรม ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงพร้อมอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคน อย่างเสมอภาคและทั่วถึง และได้มีการกำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนและพัฒนางานตามภารกิจด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับการให้บริการประชาชนในการดำเนินงานนั้น ได้มีการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่น ๆ ผ่านระบบต่าง ๆ
โดยศาลยุติธรรมอาศัยกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือต่อคู่ความอีกฝุายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2550
สำหรับการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ดังนี้
-
การยื่นและส่งคำคู่ความผ่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Filing) เพื่อใช้สำหรับการฟ้องคดีแพ่ง
-
การบริหารจัดการคดี (Case Management) เพื่อใช้สำหรับการพิจารณาความแพ่งและการบังคับคดีแพ่ง
ส่วนข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เพื่อให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย ได้แก่
-
การสื่อสารทางไกล่ผ่านจอภาพ (Video Conference)
-
การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในกระบวนการยุติธรรม สำหรับเป็นข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนการพิจารณาความแพ่งฯ
-
การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digitak Signature) เพื่อความสะดวกของคู่ความและประชาชน
-
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ พร้อมช่องทางการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง
แนะให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมพิจารณาการขอพระราชอภัยโทษ-การลดโทษ
การอภัยโทษ เป็นวิธีการสำคัญวิธีหนึ่งที่รัฐใช้เพื่อแก้ไข ฟื้นฟูผู้กระทำความผิด ให้มีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี และกลับคืนสู่สังคมได้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่ต้องรับโทษ นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เพื่อลดจำนวนผู้ต้องขังล้นเรือนจำ และบรรเทาความรุนแรงของการลงโทษตามคำพิพากษาของศาล
รัฐธรรมนูญของประเทศไทยเกือบทุกฉบับได้บัญญัติรองรับพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษว่าเป็นพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ผ่านทางฝ่ายบริหาร โดยการพระราชทานอภัยโทษกระทำโดยการออกเป็นพระราชกฤษฎีกา
สำหรับผู้ที่จะได้รับการอภัยโทษหรือการลดโทษตามที่พระราชกฤษฎีกานั้นจะต้องไปตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษและลดโทษไว้
จากการศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์การอภัยโทษและการลดโทษของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ด้วยและทฤษฎีทางอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษและการลดโทษผู้ต้องโทษ พบปัญหาที่เกิดขึ้นในการอภัยโทษและการลดโทษ 2 ประการ คือ
- ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการขอรับพระราชทานอภัยโทษ
-
-
ปัญหาองค์ประกอบของผู้มีอำนาจในการพิจารณาลดวันต้องโทษจำคุก
-
ปัญหาหลักเกณฑ์ฐานความผิดในการพิจารณาบุคคลซึ่งควรได้รับการพิจารณาได้รับการอภัยโทษ
-
ปัญหาในเรื่องของทัศนคติและความประพฤติในการพิจารณาจัดชั้นนักโทษ
-
ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาและสัดส่วนในการลุดโทษ
-
- ปัญหาเกี่ยวกับการแก้ไขและการฟื้นฟู ผู้กระทำความผิดให้กลับตนเป็นคนดีก่อนที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษและลดโทษและลดโทษ
จึงได้มีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการที่จะต้องเข้ามามีส่วนในการพิจารณาลดวันต้องโทษของนักโทษให้มีความเหมาของคณะกรรมการจากหน่วยงานภายนอก
ส่วนการขอรับพระราชทานอภัยโทย สมควรกำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะสำหรับฐานความผิดทุจริตและประพฤติมิชอบ คดีร้ายแรงที่สะเทือนขวัญของประชาชน หรือเป็นคดีที่สังคมให้ความสนใจ เพื่อให้กระบวนการขอรับพระราชทานอภัยโทยและลดโทษไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ต้องโทษอย่างเลือกปฏิบัติที่อาจเปิดช่องให้เกิดการทุจริตได้
"สำหรับการกำหนดแนวทางในการอภัยโทษ โดยคำนึงถึงทัศนคติของผู้ที่ต้องโทษเป็นสำคัญ อีกทั้งต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาพระราชอภัยโทษตามวโรกาสต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม รวมไปถึงหลักเกณฑ์การกำหนดสัดส่วนระยะเวลาปลอดภัยของนักโทษโดยถึงความปลอดภัยของสังคมเป็นสำคัญ"
นอกจากนี้ ควรกำหนดหลักเกณฑ์ของกระบวนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรกอันเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และเพื่อให้กระบวนการแก้ไขฟื้นฟูสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กฎหมายที่บัญญัติไว้และ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดให้กลับตนเป็นคนดีหลังจากที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษไปแล้ว
สินทรัพย์ในโลกเสมือน นำหลักกรรมสิทธิ์มาปรับใช้ไม่ได้
เมตาเวิร์ส (Metaverse) หรือ จักรวาลนฤมิต นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาให้เว็บไชต์ (website) ก้าวไปสูโลกเสมือนจริงที่นำเสนอในรูปแบบ 3 มิติ และช่วยให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันเสมือนได้พบปะกันจริง
เมตาเวิร์สที่คนทั่วไปเข้าใจ คือ การเข้าสู่โลกเสมือนจริงโดยใช้อุปกรณ์สวมครอบดวงตาที่เรียกว่า แว่น VR และในการเข้าสู่โลก Metaverse นี้ ผู้ใช้งานจะสร้างตัวตนสมมติขึ้นในโลก Metaverse ดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า อวตาร (Avata) โดยผู้เข้าไปใช้งานอาจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
ทรัพย์สินดิจิทัลหรือสิ่งของต่างๆ ที่จำหน่ายในโลกเมตาเวิร์สนั้น หากสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Non-Fungible Token (NFT) ผนวกกับ Smart Contract ก็จะทำให้รัพย์สินดังกล่าวมีเอกลักษณ์ และมีจำนวนจำกัด ทำให้ทรัพย์สินที่เป็น NFT นั้น มีมูลค่าและนำมาซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย เช่น ภาพศิลปะดิจิทัล (Digital Ar) คลิปวิดีโอ รูปร่างอวตารที่ออกแบบพิเศษ ที่ดินดิจิทัล เป็นต้น
ในทางธุรกิจ การเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่อยู่ในรูป NFT มักจะเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็น การถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน NFT ซึ่งเจ้าของทรัพย์สิน NFT สามารถจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สิน NFT ของตนได้
อย่างทรัพย์สินทั่วไป และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน NFT แยกออกมาต่างหากจากลิขสิทธิ์ในงานนั้น อีกทั้งดูเหมือนว่าหลักกรรมสิทธิ์ซึ่งอยู่ภายใต้หลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์จะสามารถนำมาปรับใช้ได้โดยตรง
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิเคราะห์ขั้นตอนการสร้างทรัพย์สิน NFT และการนำเข้าไปจำหน่ายในโลกเสมือนโดยละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว นิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของทรัพย์สิน NFT และเจ้าของโลก
Metaverse นั้น โน้มเอียงไปอยู่บนพื้นฐานของหลักกฎหมายว่าด้วยสัญญา
ทำให้เจ้าของโลกเมตาเวิร์สสามารถเข้าควบคุมการใช้ทรัพย์สิน NFT ได้ แม้มิใช่เจ้าของทรัพย์สิน NFT ก็ตาม ส่งผลให้เจ้าของทรัพย์สิน NFT มิได้มีสิทธิอันพึงมีตามหลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์อย่างเต็มที่ อีกทั้ง แบบนิติกรรมที่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เช่น การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ก็ไม่สามารถนำมาใช้บังคับกับทรัพย์สินในโลกเมตาเวิร์สได้
จึงเห็นได้ว่า หลักกรรมสิทธิ์มิอาจนำมาปรับใช้กับทรัพย์สิน NFT ในโลก Metaverse ได้อย่างบริบูรณ์ดังเช่นทรัพย์สินทั่วไป และนิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของทรัพย์สิน NFT กับเจ้าของ Metaverse และบุคคลอื่นๆ ที่จะเข้ามาซื้อหรือเช่า ทรัพย์สิน NFT ดังกล่าว จะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาเป็นหลัก
"ทรัพย์สิน NFT มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากทรัพย์สินทั่วไป จึงมิอาจนำหลักกรรมสิทธิ์มาปรับใช้ได้ และอาจจะต้องปรับปรุงหลักกฎหมายว่าด้วยสัญญาบางประการเพื่อให้เหมาะสมกับการนำมาปรับใช้กับทรัพย์สิน NFT"
ไม่มีกฎหมายรองรับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เพื่อปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ใกล้ตัวเรากวก่าที่คิด หลายประเทศทั่วโลกกำลังตื่นตัวและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการฟื้นฟูและดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนา เห็นได้จากมีการจัดประชุมและการทำกรอบอนุสัญญาต่างๆ เช่น การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (Conference of the Parties 26 หรือ COP 26) เป็นต้น
ไทย ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วม และให้คำมั่นในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงในการดูแลสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน โดยล่าสุด พล.อ.ประะยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำมั่นในการประชุม COP 26 ว่า ในปี 2563 ไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 7 ในปี 2573 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงร้อยละ 40 ภายในปี 2593 การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (carbon neutrality) และ ภายในปี 2608 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emission)
สำหรับแนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม จะอยู่ภายใต้ 2 หลักการ คือ 1) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation Approach) และ 2) หลักการจัดการแบบบูรณาการ (Integrated Management Approach)
ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้มีการบรรจุนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในกรอบนโยบายต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี / แผนปฏิรูปประเทศ นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2560 – 2564) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (พ.ศ. 2558 – 2593) และ การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย
รวมถึงในกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เช่น กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 214 ฉบับ กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษ จำนวน 28 ฉบับ รวมถึงยังมีกฎหมายเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ (อยู่ระหว่างดำเนินการของกรมควบคุมมลพิษ) อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการจะกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้บรรลุผลนั้น ยังมีปัญหาหรืออุปสรรคอยู่หลายประการ อาทิ
-
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
-
ปัญหาการกำหนดขอบเขตหรือความเหมายของคำว่า 'ผู้เสียหาย' และ 'ค่าสินไหมทดแทน ในคดีสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน'
-
ปัญหาการไม่มีกฎหมายรองรับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของไทยและของโลก เพื่อปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ไทยได้ให้ไว้
จากการศึกษา พบว่าการใช้เครื่องมือทางนิติศาสตร์ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการตรากฎหมายขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะเพื่อกำหนดขอบเขตการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และความพร้อมของภาครัฐในการกำกับดูแลให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ จะสามารถทำให้การแก้ไขปัญหาและการดำเนินการตามคำมั่น ที่ประเทศไทยได้ให้ไว้เป็นผลสำเร็จได้
สถานะทางสังคมของจำเลย มีผลต่อการพิจาณาปล่อยชั่วคราวในไทย
การปล่อยตัวชั่วคราว คือ การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาในระหว่างถูกดำเนินคดี โดยไม่ต้องถูกควบคุมหรือขัง ได้รับอิสรภาพไปชั่วระยะเวลาหนึ่งระหว่างที่มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน หรือไต่สวนมูลฟ้อง หรือการพิจารณาคดีของศาล โดยอาจปล่อยโดยวิธีไม่มีประกันหรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้
ทั้งนี้ ผู้ต้องหาหรือจำเลยสัญญาว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือศาล โดยจะมาตามนัดหรือหมายเรียกของศาล ซึ่งหากผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับประกันตัว หรือปล่อยชั่วคราวผิดสัญญาแล้ว ผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ก็อาจจะถูกปรับตามสัญญาประกัน หรืออาจถูกริบหลักประกัน
สำหรับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในการขอปล่อยชั่วคราว ระบุว่า หลักประกันความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล มาตรา 28 วรรคหนึ่ง 'บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย'
มาตรา 29 วรรคสอง 'ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่า บุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้'
"การปล่อยชั่วคราวของประเทศไทย มีข้อบกพร่องที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม และความไม่เสมอภาคของผู้ต้องหาหรือจำเลย เนื่องด้วยสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และมาตรฐานในการใช้ดุลพินิจของศาลในการประกันตัวหรืออนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว"
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมาย กระบวนการและวิธีการต่างๆ ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว พบปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่ง รวมถึงปัญหาการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานหรือศาลในการปล่อยชั่วคราว จึงเสนอมาตรการควบคุมทางกฎหมายหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะและสภาพความผิดแต่ละประเภทของผู้ต้องหาหรือจำเลยแต่ละคน และมีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอ ได้แก่
-
การกำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีเสรีภาพในที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลหรือการรับรองของบุคคลที่ปกครองดูแล
-
การให้อยู่ภายในพื้นที่ที่กำหนด หรือการอยู่ภายในพื้นที่เขตอำนาจ หรือการเข้าออกจากที่พักอาศัยตามเวลาที่กำหนดไว้โดย โดยให้เจ้าพนักงานหรือศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
-
หากมีความจำเป็นต้องออกนอกพื้นที่จะต้องได้รับอนุญาตและใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้
-
กำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานตนตามลัทธิทางศาสนา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือว่าจะมาศาลตามกำหนดนัด
-
กำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานหรือศาลตามเวลาที่กำหนด หรือการห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
-
ห้ามผู้ต้องหาหรือจำเลยติดต่อสื่อสารหรือเข้าไปในเขตที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายหรือพยาน
-
ห้ามติดต่อสื่อสารหรือคบค้าสมาคมกับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่กระทำความผิดร่วมกัน
-
ห้ามคบค้าสมาคมกับบุคคลบางกลุ่มที่กำหนด
-
ห้ามครอบครอง มีไว้ หรือพกพาซึ่งอาวุธร้ายแรงที่อาจใช้ในการก่ออันตรายได้
-
มาตรการอื่นๆ เพื่อที่จะควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยมิให้หลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และไปก่ออันตรายแก่สังคม