"...ในช่วงนี้ ข่าวสาร"รัสเซียบุกยูเครน" ทำให้ข่าวโควิดถูกกลบไป เมื่อประมาณหนึ่งเดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศไทย ได้ทำสถิติ "นิวไฮ" ครั้งแล้วครั้งเล่า (ทั้งตัวเลขที่รายงานจากทางการ และตัวเลขที่นำผล ATK มารวมด้วย) ทำให้รู้สึกหวาดหวั่นถึงภัยโควิดเข้ามาใกล้ตัวทุกที แต่คนไทยส่วนใหญ่คงไม่ทราบข่าวดี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม กราฟเฉลี่ย 7 วันของ"ผู้ติดเชื้อรายวันรวม ATK" ได้ถึงจุดยอดสูงสุดและได้กลับหัวเป็น"ขาลง"แล้ว..."
ในช่วงนี้ ข่าวสาร"รัสเซียบุกยูเครน" ทำให้ข่าวโควิดถูกกลบไป เมื่อประมาณหนึ่งเดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศไทย ได้ทำสถิติ "นิวไฮ" ครั้งแล้วครั้งเล่า (ทั้งตัวเลขที่รายงานจากทางการ และตัวเลขที่นำผล ATK มารวมด้วย) ทำให้รู้สึกหวาดหวั่นถึงภัยโควิดเข้ามาใกล้ตัวทุกที แต่คนไทยส่วนใหญ่คงไม่ทราบข่าวดี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม กราฟเฉลี่ย 7 วันของ"ผู้ติดเชื้อรายวันรวม ATK" ได้ถึงจุดยอดสูงสุดและได้กลับหัวเป็น"ขาลง"แล้ว
ในโพสต์นี้ ผมขอเสนอกราฟ 4 ภาพ เพื่อจะสร้างความเข้าใจในสถานการณ์ Endgame ของโรคระบาดในประเทศไทย ดังนี้
(1) ภาพที่ 1 กราฟเส้นล่าง เป็นกราฟผู้ติดเชื้อรายวัน (เฉลี่ย 7 วัน) ที่ทาง ศบค. ประกาศอย่างเป็นทางการ โดยไม่รวม ATK เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อนี้ ไม่ครบสมบูรณ์และมีค่าผกผันมาก กราฟจึงไม่สามารถชี้นำแนวโน้มได้ชัดเจน
(2) ในภาพที่ 1 เช่นกัน ถ้าดูกราฟเส้นบนที่รวม ATK แล้ว ตัวเลขนี้แม้จะไม่ได้รวมผู้ติดเชื้อเงียบ แต่อย่างน้อยค่าที่ได้ก็พอจะมีความสม่ำเสมอ (Consistency) ที่จะเป็นตัวแทนส่วนรวมได้ ดังนั้นเมื่อพล้อตค่าเฉลี่ย 7 วันแล้ว ก็จะเห็นลูกคลื่น Omicron ของประเทศไทย มีรูปลักษณะที่สอดคล้องกับคลื่นของประเทศอื่นๆ ที่ผ่านมรสุมนี้มาก่อนแล้ว (ภาพ 2-3)
(3) สรุปว่า เส้นกราฟที่รวมค่า ATK ได้บ่งบอกว่า คลื่นโอมิครอนในไทยได้ผ่าน “จุดยอด” ของลูกคลื่นแล้วเมื่อวันที่ 9 มีนาคม และกำลังปักหัวลง ถ้าธรรมชาติของลูกคลื่นโอมิครอนเหมือนประเทศอื่น (ภาพที่ 2-4) คลื่นขาลงคงจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจากยอดลงมาใกล้ฐานก่อนเทศกาลสงกรานต์ (หวังว่า จะไม่มีสายพันธุ์ใหม่อื่นๆสอดแทรกเข้ามา)
ขอเป็นรางวัลให้คนไทยได้ฉลองสงกรานต์ที่ไร้ความกังวลจากไวรัสต่อไป
แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/100005249319513/posts/1937722189746073/
เขียนโดย ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต
ผู้อำนวยการ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เขียนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565