ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดที่ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง การตรวจสอบ แสวงหาข้อเท็จจริง และ เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผู้เจ็บป่วย ผู้เสียชีวิต ปัญหาการบริหารจัดการ หรือปัญหาด้าน การรักษาพยาบาล ถือเป็นภารกิจที่จําเป็นอย่างยิ่งของสื่อมวลชน แม้ข้อเท็จจริงเหล่านั้นอาจทําให้เกิดความหวาดกลัวใน สังคม แต่ก็เป็นไปเพื่อให้สังคมได้รับทราบข้อมูลอย่างรอบด้าน อันจะนําไปสู่การร่วมกันหาทางออกในภาวะวิกฤติ และ ขับเคลื่อนสังคมบนฐานของข้อมูลข่าวสารจริงที่ได้รับการคัดกรองแล้ว
.................
หมายเหตุ: สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 กลุ่มอาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง ได้มีแถลงการณ์ขอให้ยกเลิกการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและการทํางานของสื่อมวลชนมีใจความว่า
นับตั้งแต่มีการประกาศข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 27 ข้อ 11 (ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564) และ ฉบับที่ 29 (ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2564) อันมีใจความ สําคัญไม่ให้ประชาชนและสื่อมวลชนได้แสดงความคิดเห็นที่อยู่บนฐานของข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน
ดังนั้น เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการสื่อสารอันเป็นพื้นฐานสําคัญของสังคมประชาธิปไตย คณาจารย์ดังรายชื่อ แนบท้าย ขอแถลงดังนี้
ประการที่หนึ่ง ข้อกําหนดดังกล่าวปรากฏเจตนาชัดว่ารัฐบาลต้องการควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และการทํางานของสื่อมวลชนในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร ผ่านการกําหนดโทษสําหรับการส่งต่อ "ข้อความอันอาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัว" ซึ่งการกําหนดให้การกระทําเหล่านี้มีความผิด เป็นการตีความถ้อยคําอย่างกว้าง กํากวม ไม่ ชัดเจน และเปิดโอกาสให้การพิจารณานั้นอาศัยเพียงดุลยพินิจของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินสมควร จนอาจกล่าวได้ว่า เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าการกระทําใดบ้างที่เข้าข่ายการกระทําผิดตามข้อกําหนด รัฐบาลก็สามารถชี้ว่าการเผยแพร่ข้อมูล ใดเป็นการสร้างความหวาดกลัว และใช้อํานาจในการลงโทษผู้เผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นโดยทันที
ประการที่สอง การออกข้อกําหนดเช่นนี้ย่อมขัดต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่ได้รับการรับรอง ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขัดต่อหลักสากลยันว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้านแสรีภาพในการแสดงออก และขัดต่ย หลักการทํางานโดยอิสระของสื่อมวลชนอย่างชัดแจ้ง อีกทั้งเป็นการใช้กฎหมายและบทลงโทษมาลิดรอน บีบบังคับ รวมถึง จ้ากัดการทํางานของสื่อมวลชนมากเกินสมควร โดยไม่ได้มุ่งคุ้มครองสาธารณประโยชน์แต่อย่างใด
ประการที่สาม ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดที่ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง การตรวจสอบ แสวงหาข้อเท็จจริง และ เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผู้เจ็บป่วย ผู้เสียชีวิต ปัญหาการบริหารจัดการ หรือปัญหาด้าน การรักษาพยาบาล ถือเป็นภารกิจที่จําเป็นอย่างยิ่งของสื่อมวลชน แม้ข้อเท็จจริงเหล่านั้นอาจทําให้เกิดความหวาดกลัวใน สังคม แต่ก็เป็นไปเพื่อให้สังคมได้รับทราบข้อมูลอย่างรอบด้าน อันจะนําไปสู่การร่วมกันหาทางออกในภาวะวิกฤติ และ ขับเคลื่อนสังคมบนฐานของข้อมูลข่าวสารจริงที่ได้รับการคัดกรองแล้ว
ประการที่สี่ หากรัฐบาลมีข้อกังวลเรื่องการส่งต่อข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ (Fake News) ในช่วงวิกฤตินี้ ขอเรียกร้อง ให้มีการบังคับใช้ข้อกฎหมายเท่าที่มีอยู่ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ในส่วนของการดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท ฯลฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมว่ารัฐบาลศรัทธาในความเที่ยงธรรมของระบบตุลาการโดยไม่จําเป็นต้องพึ่งพาข้อกําหนดเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ประการที่ห้า นอกจากความจําเป็นของรัฐบาลในการสร้างหลักประกันการทํางานโดยอิสระ ปราศจากญานาจบีบ บังคับสื่อมวลชนแล้ว ในภาวะเช่นนี้ นับเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้แก่ประชาชน ผ่านการมอบอํานาจให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลและออกแถลงข้อเท็จจริงเพื่อตอบโต้ข้อมูลเท็จ รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนใช้ วิจารณญาณในการรับฟังข่าวสารเพื่อยกระดับการรู้เท่าทันสื่อในระบอบประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพในการสื่อสาร ข้อเท็จจริงย่อมทนทานต่อการตรวจสอบขัดเกลาเสมอ ทว่าความพยายามของรัฐบาลในการปิดกันข้อมูลด้วยการข่มขู่ผ่านกฎหมายและบทลงโทษมีค่าเท่ากับขัดขวางสาธารณะในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังนั้น ขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกข้อกําหนดฉบับที่ 27 (ข้อ 11) และ ฉบับที่ 29 โดยทันทีด้วยความสมานฉันท์
รายนามคณาจารย์แนบท้าย
กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร
กุลนารี เสือโรจน์
คันธรา ฉายาวงศ์
จักรวาล นิลธํารงค์
ดวงแก้ว เชียรสวัสดิกิจ
ถมทอง ทองนอก
นันทพร วงษ์เชษฐา
นิชคา แสงสิงแก้ว
บัณฑูร พานแก้ว
ประไพพิศ มุทิตาเจริญ
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/