"...วันที่ผมเป็นห่วงก็ใกล้เข้ามาแล้ว สัดส่วนระดับ 10% ของการฉีดวัคซีน แทบไม่มีความหมายในการลดการระบาดของโรค โดยเฉพาะในขณะที่เชื้อโควิดในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์เดลตาถึง 50% แล้ว [Ref: Our World in Data]..."
...................
มาวิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยด้วยตัวเลข
11 กรกฎาคม 2564
ในบทความเรื่อง “อินเดียเอาไม่อยู่ ไทยต้องเอาอยู่” เมือวันที่ 10 พ.ค. ศกนี้ ผมได้ให้ข้อคิดว่า
“เชื้อโควิด-19 ไม่เคยมีสองมาตรฐานหรือการเลือกปฏิบัติ .. ลักษณะการก้าวกระโดดของตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันของประเทศไทยคล้ายคลึงกับอินเดียมาก ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขต้องรีบจัดทำ"แผนฉุกเฉิน" โดยจัดระบบสาธารณสุขให้พร้อมสำหรับผู้ป่วยในปริมาณ 10 เท่าของตัวเลขผู้ป่วยปัจจุบัน และทำการซักซ้อมแผนฉุกเฉินตั้งแต่บัดนี้”
วันที่ผมเป็นห่วงก็ใกล้เข้ามาแล้ว สัดส่วนระดับ 10% ของการฉีดวัคซีน แทบไม่มีความหมายในการลดการระบาดของโรค โดยเฉพาะในขณะที่เชื้อโควิดในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์เดลตาถึง 50% แล้ว [Ref: Our World in Data]
ในบทความนี้ ผมมีภาพอยู่ 5 ภาพ ซึ่งผมใช้วิเคราะห์วิจารณ์สถานการณ์วิกฤติของประเทศไทย จึงขอให้ผู้สนใจไปชมที่ภาพพร้อมคำวิจารณ์ใต้ภาพ
ภาพที่ (1) การเดินสวนทางของไทยกับอินเดีย ในประชากร 1 ล้านคนเท่ากัน อินเดียมีคนติดเชื้อ 26 คน ประเทศไทย 95 คน
ภาพที่ (2) ความล้มเหลวของไทยในการควบคุมเชื้อโควิดเกิดตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยอัตราปัจจุบัน เราจะเห็นผู้ติดเชื้อสะสม 1 ล้านรายในต้นพฤศจิกายนปีนี้ และผู้เสียชีวิตหลักหมื่นในต้นปีหน้า
ภาพที่ (3) เราเคยสงสัยไหมว่า ทำไมประเทศไทยและเวียตนาม ที่สามารถคุมเชื้อโควิด-19ได้ผลดีในช่วงแรกๆพอๆกัน เกิดอะไรขึ้นที่ประเทศไทยหักเหออกไป และจุดหักเหอยู่ที่ไหน
ภาพที่ (4) สรุปว่า คอขวดของการระดมฉีดวัคซีนของไทยอยู่ที่การจัดหาวัคซีน แล้วคำถามคือ แผนที่รัฐบาลตั้งใจจะเปิดประเทศใน 120 วันยังทำได้หรือไม่?
ภาพที่ (5) มาดูว่าหลังจากมีการออกข่าว Celebrate การฉีดครบ 10 ล้านโดสของประเทศไทยเมื่อหลายวันก่อน ไทยจะติดอันดับเท่าไหร่ระหว่าง 8 ประเทศในอาเซียน
ศ. ดร. วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต
ผู้อำนวยการ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย