"...การเป็นพยานศาลในลักษณะนี้ ควรที่จะได้รับความเคารพนับถือและคำขอบคุณจากผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะทางศาลยุติธรรม เพราะแพทย์ไปในฐานะพลเมืองดี ทำหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพที่มีเกียรติและต้องมีจริยธรรม และจรรยาบรรณสูงกว่าพลเมืองของรัฐโดยทั่วไป..."
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน
กรณีแพทย์หญิงท่านหนึ่งวางแผนเดินทางไปพักผ่อนในต่างประเทศกับครอบครัว ในวันที่ 13 เมษายน 2566 แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ เพราะมีหมายจับจากศาลแพ่ง เนื่องจากแพทย์หญิงท่านนี้ไม่ได้ไปเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ แต่ได้ทำหนังสือขอเลื่อนไปแล้วเนื่องจากติดภารกิจ มีการส่งหมายเรียกครั้งที่ 3 และส่งหมายจับไปที่อยู่เก่า ซึ่งแพทย์หญิงได้ย้ายไปแล้ว
ขณะที่ ศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เขียนบทความเผยแพร่ในแฟนเพจเรื่อง ‘หมอทำงานโดยสุจริต มีสิทธิติดคดี โดนหมายจับได้’ มีประเด็นพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น
1.การเป็นพยานศาลในลักษณะนี้ ควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ และคำขอบคุณจากผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม
2.การส่งหมายเรียก และส่งหมายจับไปยังที่อยู่เก่า ซึ่งได้ย้ายไปแล้ว การออกหมายจับในกรณีเช่นนี้ ควรต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในกระบวนการให้ละเอียดถี่ถ้วน
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2566 ศาลเเพ่งธนบุรี ออกเอกสารเเถลงข่าวชี้เเจงกรณีตามที่ปรากฏข่าวต่อสาธารณะ 'หมอทำงานโดยสุจริตก็มีสิทธิติดคดีโดนหมายจับได้' ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลแพ่งธนบุรีออกหมายจับนางสาว อ. เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2566
1.การออกหมายจับทำถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากมีการระบุว่าโจทก์เป็นพยานสำคัญในคดี ในการชันสูตรผู้ตาย
2.ทนายโจทก์ทั้งสองยังมีข้อโต้แย้งเรื่องสาเหตุการตาย ศาลจึงออกหมายเรียก แต่พยานไม่มาตามนัด โดยไม่อ้างเหตุขัดข้อง
3.เนื่องจากมีรองเท้าวางอยู่หน้าบ้าน จึงเชื่อว่ามีผู้พักอาศัยแต่ไม่ยอมรับหมาย จึงออกหมายจับไปตามนั้น
เพื่อย่อยข้อมูลเหล่านี้ ให้ทำความเข้าใจง่ายขึ้น
สำนักข่าวอิศรา สรุปรายละเอียดสำคัญทั้งหมดมานำเสนอผ่านภาพอินโฟกราฟฟิก ดังนี้