- Home
- Thaireform
- สารคดีเชิงข่าว
- เทียบ 7 เอกชนได้โควตาขยะอิเล็กฯแสนตัน แจ้งทุนกรม รง.สวนทางงบการเงิน?
เทียบ 7 เอกชนได้โควตาขยะอิเล็กฯแสนตัน แจ้งทุนกรม รง.สวนทางงบการเงิน?
“…เมื่อพิจารณาจากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่แจ้งข้อมูลเงินทุนกับกรมโรงงานฯ ใกล้เคียงกับข้อมูลของบริษัทที่แจ้งจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขณะเดียวกันมีบางแห่งที่เงินลงทุนสูงมาก สวนทางกับรายได้ กำไร และทุนจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอย่างเห็นได้ชัด…”
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานแล้วว่า นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561-31 พ.ค. 2561 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ประเภท 105) และโรงงานเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม (ประเภท 106) (คนละส่วนกับใบอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์) ปรากฏชื่อของบริษัท นิวส์สกาย เมทัล จำกัด ที่ได้รับใบอนุญาตรวมถึง 16 ใบ มีการอ้างทุนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมถึง 61-72.5 ล้านบาท และคนงาน 40-60 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า บริษัท นิวส์สกาย เมทัล จำกัด มีทุนจดทะเบียน 7,350,000 บาท และนำส่งงบการเงินตั้งแต่ปี 2556-2559 มีรายได้แค่หลักหมื่นบาทเท่านั้น ขณะเดียวกันปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่า บริษัทแห่งนี้ เป็นผู้รับมอบขยะจากบริษัท เจ.พี.เอส.เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 8,139 ตัน ไปกำจัดแทนด้วย (อ่านประกอบ : บ.นิวส์สกายฯได้16ใบอนุญาตกำจัดขยะอิเล็กฯ อ้างกรมโรงงานฯทุน60ล.แต่รายได้หลักหมื่น)
อย่างไรก็ดีบริษัท นิวส์สกาย เมทัล จำกัด ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประเภท 105 และ 106 ดังกล่าว เป็นคนละส่วนกับใบอนุญาตนำเข้าชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมโรงงานฯอนุญาตแค่ 7 บริษัท ได้แก่ บริษัท หย่งถัง ไทย จำกัด บริษัท เจ.พี.เอส.เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท หย่งถัง ไทย จำกัด บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท หมิง เอ็นจิเนียริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เอส.เอส.อิมปอร์ต เอ็กปอร์ต อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ อีโค-แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับโควตาเฉพาะปี 2561 รวม 121,590 ตัน
สำนักข่าวอิศราตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ http://userdb.diw.go.th/ ของกรมโรงงานฯ ตรวจสอบรายละเอียดเอกชน 7 แห่งที่ขอจัดตั้งโรงงาน พบรายละเอียด ดังนี้
บริษัท หย่งถัง ไทย จำกัด (โควตานำเข้า 3 หมื่นตัน)
ใบทะเบียนเลขที่ 3-106-25/58ฉช ประเภทโรงงาน 60 (ประกอบกิจการเกี่ยวกับถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะในขั้นต้น ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า) และปะเภท 106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 88/9 ม.11 ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงทรา (ที่เดียวกับที่ตั้งบริษัท) แจ้งประกอบกิจการบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ และหล่อหลอมโลหะทั่วไป เช่น เศษทองแดง เศษทองเหลือง และกากตะกอนทองแดง ขนาดเครื่องจักร 591 HP เงินทุน 13 ล้านบาท คนงาน 15 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2557 ทุนปัจจุบัน 19,478,000 บาท แจ้งประกอบธุรกิจโรงงานหลอมโลหะเศษทองแดง ทองเหลือง อลูมิเนียม ตั้งอยู่ที่ 88/9 ม.11 ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
ปรากฏชื่อนายจำรัส พลายกระสินธ์ เป็นกรรมการ มีคนไทยถือหุ้น 1 ราย (51%) และคนจีนถือหุ้น 2 ราย (49%)
มีสินทรัพย์รวม 30,633,169 บาท เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 28,073,298 บาท หนี้สินรวม 14,650,205 บาท
แจ้งงบการเงินเมื่อปี 2560 มีรายได้รวม 69,543,763 บาท รายจ่ายรวม 65,822,192 บาท กำไรสุทธิ 3,387,480 บาท ส่วนปี 2559 มีรายได้รวม 13,258 บาท ขาดทุนสุทธิ 3,230,199 บาท
บริษัท เจ.พี.เอส.เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (โควตา 6 หมื่นตัน)
มี 2 โรงงาน ได้แก่
1.ใบทะเบียนเลขที่ จ3-60-6/56ฉช ประเภทโรงงาน 60 โรงงานตั้งอยู่ที่ 99/99 ม.9 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา แจ้งประกอบกิจการหลอมหล่อ อลูมิเนียม ขนาดเครื่องจักร 256 HP เงินทุน 20 ล้านบาท คนงาน 20 คน
2.ใบทะเบียนเลขที่ 3-106-39/58ฉช ประเภทโรงงาน 106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 99/96 ม.9 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา แจ้งประกอบกิจการนำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มาผ่านกระบวนการบดย่อยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ขนาดเครื่องจักร 1,648.83 HP เงินทุน 66,861,625 บาท คนงาน 70 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2556 ทุนปัจจุบัน 15 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 99/9 ม.9 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา แจ้งประกอบธุรกิจหอมรีดตัดพับอลูมิเนียมทองแดง ทองเหลือง โลหะทุกชนิด
ปรากฏชื่อนายจำรัส พลายกระสินธ์ เป็นกรรมการ มีคนไทยถือหุ้นทั้งหมด 3 ราย
มีสินทรัพย์รวม 32,821,179 บาท เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 12,990,859 บาท หนี้สินรวม 27,595,944 บาท
แจ้งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2559 มีรายได้รวม 48,044,450 บาท รายจ่ายรวม 47,356,971 บาท กำไรสุทธิ 269,431 บาท
บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด (โควตา 1.3 หมื่นตัน)
ใบทะเบียนเลขที่ น.160-1/2559-นนล. ประเภทโรงงาน 106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 239 ซ.ฉลองกรุง 31 ถ.ฉลองกรุง ต.ลำปลาทิว อ.ลาดกระบัง กทม. แจ้งประกอบกิจการซ่อมแซมดัดแปลงปรับปรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เก่าใช้แล้วรีไซเคิลจอมอนิเตอร์แบบแอลซีดีบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์และถอดประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์เครื่องโทรทัศน์เครื่องโทรศัพท์เครื่องเราต์เตอร์คอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนอะไหล่ ขนาดเครื่องจักร 1,100 HP เงินทุน 7,000,000,000 บาท (7 พันล้านบาท) คนงาน 286 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2556 ทุนปัจจุบัน 10 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 239 ซ.ฉลองกรุง 31 แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กทม. แจ้งประกอบธุรกิจการเก็บรวบรวมของเสียที่ไม่เป็นอันตราย
ปรากฏชื่อนางอิสรีย์ สวี และนายซิ้น อัน สวี เป็นกรรมการ
รายชื่อผู้ถือหุ้นมี 4 ราย เป็นบุคคลสัญชาติไทย 2 ราย (70%) สัญชาติสิงคโปร์ 1 ราย (19%) และสัญชาติไต้หวัน 1 ราย (11%) ได้แก่ 1.นางอิสรีย์ สวี (ไทย) ถือหุ้น 60% นายเว กวัง ลี (สิงคโปร์) ถือหุ้น 19% นายซิ้น อัน สวี (ไต้หวัน) ถือหุ้น 11% และนายประเสริฐ ลิ้มภักดี (ไทย) ถือหุ้น 10%
มีสินทรัพย์รวม 41,210,300 บาท เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 738,373 บาท (นอกนั้นเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 40,089,927 บาท) หนี้สินรวม 36,326,440 บาท
แจ้งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2559 มีรายได้รวม 19,642,725 บาท รายจ่ายรวม 22,730,316 บาท ขาดทุนสุทธิ 3,087,590 บาท
บริษัท หมิง เอ็นจิเนียริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด (โควตา 150 ตัน)
มี 2 โรงงาน ได้แก่
1.ใบทะเบียนเลขที่ จ3-105-213/51อย ประเภทโรงงาน 69,71,72,105,106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 85 ม.7 ถ.โณจนะ ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา (ที่ตั้งเดียวกับบริษัท) แจ้งประกอบกิจการคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นอันตรายซ่อมแซมเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เป็นต้น บดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขนาดเครื่องจักร 19.98 HP เงินทุน 1,450,000 บาท คนงาน 5 คน
2.ใบทะเบียนเลขที่ น.106-1/2557-ญบว. ประเภทโรงงาน 106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 131 ม.1 ต.บางเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา แจ้งประกอบกิจการคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายสกัดโลหะมีค่าจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์น้ำยาชุบโลหะแผ่นกรองที่มีองค์ประกอบของโลหะมีค่ากากตะกอนที่มีองค์ประกอบของโลหะมีค่าจากอุตสาหกรรมชุบโลหะและอิเล็กทรอนิกส์หลอมหล่อโลหะจากการสกัดโลหะมีค่า ขนาดเครื่องจักร 367.17 HP เงินทุน 68 ล้านบาท คนงาน 7 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2551 ทุนปัจจุบัน 22 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 131 ม.1 ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา แจ้งประกอบธุรกิจการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
ปรากฏชื่อนายโหงว เจา ฮิน นายออง จู แซง และนายออง จู วุน เป็นกรรมการ มีคนมาเลเซียเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด 3 ราย
มีสินทรัพย์รวม 91,140,382 บาท เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 66,220,029 บาท หนี้สินรวม 68,578,118 บาท
แจ้งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2558 มีรายได้รวม 51,264,640 บาท รายจ่ายรวม 49,625,321 บาท กำไรสุทธิ 1,075,108 บาท
บริษัท โอ.จี.ไอ จำกัด (โควตา 1.5 หมื่นตัน)
ใบทะเบียนเลขที่ 3-106-41/58สป ประเภทโรงงาน 106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 888/8 ม.21 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ (ที่ตั้งเดียวกับบริษัท) แจ้งประกอบกิจการรีไซเคิลจอมอนิเตอร์แบบ LCD (Liquid Crystal Display) และบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขนาดเครื่องจักร 153.35 HP เงินทุน 8 ล้านบาท คนงาน 10 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2560 ทุนปัจจุบัน 4 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 888/7 และ 888/8 ม.21 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แจ้งประกอบธุรกิจการขายส่งเหล็กกล้า และโลหะที่นอกกลุ่มเหล็กขั้นมูลฐาน ค้าเหล็ก อลูมิเนียม เศษเหล็ก เศษอลูมิเนียม
ปรากฏชื่อนายวอน ซอง มิน และนายเจียง เล่ย เป็นกรรมการ มีผู้ถือหุ้น 5 ราย เป็นคนไทย 3 ราย (55%) คนจีน 1 ราย (40%) และคนเกาหลีใต้ 1 ราย (5%)
ปัจจุบันยังไม่ได้แจ้งสินทรัพย์ และงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บริษัท เอส.เอส.อิมปอร์ต เอ็กปอร์ต อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (โควตา 2 พันตัน)
ใบทะเบียนเลขที่ ข3-106-37/58สป ประเภทโรงงาน 106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 88/108-9 ม.15 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ แจ้งประกอบกิจการรีไซเคิลจอมอนิเตอร์ แบบ LCD (Liquid Crystal Display) และบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขนาดเครื่องจักร 180.15 HP เงินทุน 8 ล้านบาท คนงาน 60 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2555 ทุนปัจจุบัน 100 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 88/108-9 ม.15 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ แจ้งประกอบธุรกิจรับซื้อขายของเหลือใช้จากโรงงานทุกประเภท
ปรากฏชื่อนายเต็ก ซูน อึ้ง และนางวิจิตรา เยตส์ เป็นกรรมการ มีคนสิงคโปร์ถือหุ้น 98.90% และคนไทยถือหุ้น 1.10%
มีสินทรัพย์รวม 132,506,563 บาท เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 72,377,183 บาท หนี้สินรวม 57,842,963 บาท
แจ้งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2559 มีรายได้รวม 48,558,689 บาท รายจ่ายรวม 58,845,224 บาท ดอกเบี้ย 7,169,670 บาท ขาดทุนสุทธิ 10,293,703 บาท
บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ อีโค-แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (โควตา 1,440 ตัน)
ใบทะเบียนเลขที่ น.106-1/2546-ญหช. ประเภทโรงงาน 106 โรงงานตั้งอยู่ที่ 41/1 ม.8 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แจ้งประกอบกิจการรีไซเคิล(RECYCLE)เครื่องใช้สำนักงานและชิ้นส่วนอุปกรณ์(COPIER,PRINTER,FACSIMILE)และซ่อมแซมชิ้นส่วนอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขนาดเครื่องจักร 388.55 HP เงินทุน 149,693,258 บาท คนงาน 78 คน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2546 ทุนปัจจุบัน 100 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 41/1 ม.8 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แจ้งประกอบธุรกิจขายอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่นำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) ของเครื่องถ่ายสำเนา และอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ปรากฏชื่อนายมาซาอากิ อิโคมา นายฮิโรยูกิ นาคาโมโต และนายมาซาโตชิ คิชิโน เป็นกรรมการ มีผู้ถือหุ้นเป็นคนญี่ปุ่นทั้งหมด 3 ราย
มีสินทรัพย์รวม 456,254,578 บาท เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 103,047,770 บาท หนี้สินรวม 77,775,609 บาท
แจ้งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2560 มีรายได้รวม 484,457,551 บาท รายจ่ายรวม 414,150,893 บาท กำไรสุทธิ 56,090,400 บาท
(ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนักข่าวอิศรา รวบรวม)
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่แจ้งข้อมูลเงินทุนกับกรมโรงงานฯ ใกล้เคียงกับข้อมูลของบริษัทที่แจ้งจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขณะเดียวกันมีบางแห่งที่เงินลงทุนสูงมาก สวนทางกับรายได้ กำไร และทุนจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอย่างเห็นได้ชัด
เช่น บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด ที่อ้างต่อกรมโรงงานฯว่า มีเงินทุนถึง 7 พันล้านบาท แต่ทุนจดทะเบียนปัจจุบันที่แจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แค่ 10 ล้านบาท และมีรายได้รวมประมาณ 19.6 ล้านบาท ขาดทุนกว่า 3 ล้านบาท เป็นต้น แต่ต่อมาข้อมูลจากคณะทำงานร่วม 3 ฝ่าย (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรมโรงงานฯ และกรมศุลกากร) ระบุชัดว่า บริษัท ไวโรกรีนฯ ทำผิดเงื่อนไขส่งต่อขยะให้โรงงานอื่นดำเนินการต่อ ปัจจุบันถูกพักใบอนุญาตแล้ว
สะท้อนให้เห็นถึง ‘ศักยภาพ’ ในการตรวจสอบข้อมูลของกรมโรงงานฯ ก่อนออกใบอนุญาตให้โควตากับเอกชนเหล่านี้เพื่อนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่บางบริษัทได้รับหลายหมื่นตัน แต่อาจไม่มีประสิทธิภาพการทำงานเพียงพอ
ส่งผลให้ต้องส่งต่อขยะไปยังโรงงานอื่นในเครือเพื่อดำเนินการแทน จึงถือว่าผิดเงื่อนไข และต้องถูกพักใบอนุญาตไปโดยปริยาย เบื้องต้นมี อย่างน้อย 5 แห่ง ได้แก่ บริษัท หย่งถัง ไทย จำกัด บริษัท เจ.พี.เอส.เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท โอ.จี.ไอ. จำกัด บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท เอส.เอส. อิมปอร์ต เอ็กปอร์ต อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด (อ่านประกอบ : พลิกข้อมูล 6 รง.‘นอมินี’ขนถ่าย-กำจัดขยะอิเล็กฯหมื่นตันแทนเอกชนได้ใบอนุญาตฯ)
นี่คือประเด็นสำคัญ และอาจเป็น ‘ช่องโหว่’ ขนาดใหญ่ที่ทำให้ ‘ไทย’ ตกเป็นศูนย์กลางทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ระดับโลกอยู่ในตอนนี้ก็เป็นไปได้ ?
อ่านประกอบ :
ครบเดือนกวาดล้างขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ ผล ปย.พันล.-ยังเอาผิด จนท.รัฐไม่ได้?
บ.นิวส์สกายฯได้16ใบอนุญาตกำจัดขยะอิเล็กฯ อ้างกรมโรงงานฯทุน60ล.แต่รายได้หลักหมื่น
จัดการด่านนี้ไม่ได้ เรื้อรัง! "เพ็ญโฉม" จี้ คสช.สอบขั้นตอนออกใบอนุญาตนำเข้า-ตั้งรง. ขยะ
ก.อุตสาหกรรม สั่งยกเลิกนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์-เศษพลาสติก
โชว์คำสั่งปลัด ก.อุตฯสั่งสอบ รง.บดขยะอิเล็กฯ148แห่งทั่ว ปท.-ขีดเส้นเสร็จ15 ส.ค.
โชว์คำสั่งปลัด ก.อุตฯสั่งสอบ รง.บดขยะอิเล็กฯ148แห่งทั่ว ปท.-ขีดเส้นเสร็จ15 ส.ค.
รถยนต์เชื่อมโยง?พฤติการณ์ซับซ้อน4รง.กลุ่ม ‘สมุทรปราการ’ ลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
บุกค้น รง.ย่านบางพลี-สมุทรปราการ ตร.พบรถยนต์โยงเครือข่ายลอบนำเข้าขยะ E-waste
พลิกข้อมูล 6 รง.‘นอมินี’ขนถ่าย-กำจัดขยะอิเล็กฯหมื่นตันแทนเอกชนได้ใบอนุญาตฯ
ตรวจ รง.ยังไง-สอบทุจริตไหม? 4ปมที่ยังไม่เคลียร์จากอธิบดีกรมโรงงานกรณีขยะอิเล็กฯ
“เราไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ” อธิบดีกรมโรงงานฯ แจงปมลักลอบนำเข้า E-waste ยันอนุญาตถูกต้อง
ตร.ค้นอีก2รง.-1โกดังไร้ชื่อ จ.ปทุมฯเอี่ยวขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ยอดพุ่ง14แห่ง
ฉาวทั่วโลก!สื่อแดนมังกรตีข่าวไทยศูนย์กลางทิ้งขยะอิเล็กฯแห่งใหม่-ผลกระทบหลังจีนเข้ม
หญิง31ปี-คนไต้หวัน-สิงคโปร์ก่อตั้ง!เปิดตัว ‘ไวโรกรีนฯ’โควตาขยะอิเล็กฯ1.3หมื่นตัน
กรม รง.ปฏิเสธไม่ได้!รมว.ทรัพยฯชง ครม. แก้ปัญหาขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-อาจใช้ม.44
6ปมเงื่อน!ขบวนการข้ามชาติลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ผลประโยชน์พันล.เข้ากระเป๋าใคร?
เอกชนมีใบอนุญาตกระจายกันเอง!กรมศุลฯปัดเอี่ยวปมลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-โยนกรม รง.สอบ
สาวลึกให้ถึงต้นตอ ‘เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง’ กับต้นเหตุทำไทยเปลี่ยนเป็นเมืองขยะอิเล็กฯ
จ่ายใต้โต๊ะตู้ละแสน!เอกชนร่วม จนท.รัฐลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ถก รมว.อุตฯแก้ปัญหา13มิ.ย.
INFO:ขมวด‘ช่องโหว่’ขบวนการข้ามชาติลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-โอกาส จนท.รัฐเอี่ยวตอนไหน?
โชว์ภาพรถ-เปิด 4 บริษัทเอี่ยวขนส่งขยะอิเล็กฯ ‘กลุ่มสมุทรปราการ’-ยอดรวมพุ่ง 12แห่ง
ใบเสร็จมัด-ทำกันเป็นทอด!พฤติการณ์กลุ่มเอกชนจีนสมุทรปราการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
เจอแล้ว!ต้นตอลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯจาก ตปท.-ให้2รง.สมุทรปราการนอมินีจัดการแทน
พบเส้นทางเงินโอนกลับจีน23.6ล.!แกะรอย‘ไอ้โม่ง’ชักใยขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
เปิดตัว‘เจ.พี.เอส.’นำเข้าขยะอิเล็กฯ6หมื่นตัน ก่อนโผล่ถือหุ้น‘หย่งถัง’-นั่ง กก.แทนคนจีน
แกะรอยคนจีนถือหุ้น บ.หย่งถังฯยักษ์ใหญ่นำเข้าขยะอิเล็กฯ-ใครเจ้าของ?
ที่แท้‘คนจีน’ร่วมหญิงอายุ29ปีหอบเงินตั้ง บ.หยั่งถงฯเอกชนนำเข้าขยะอิเล็กฯ3หมื่นตัน
เปิด7บ.ได้โควตานำเข้าชิ้นส่วนขยะอิเล็กฯ-พลาสติก คนจีน-ไต้หวัน-มาเลฯถือหุ้นเพียบ?
กระชากหน้ากากขบวนการ‘คนจีน’ ลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯทิ้งไทย-สตช. ล่า‘บิ๊ก’รู้เห็น?
เปิดตัว5เอกชนนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กฯ-พลาสติก‘คนจีน’ถือหุ้น30-49%-ตร.สอบขยายผล
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
สตช.ล่าตัว ขรก.-นักการเมืองเอี่ยว!ชี้ บ.คนจีน4แห่งต้นตอนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
ตร.ขยายผลค้นรง.ลองลัค พลาสติก ที่สมุทรสาคร สำแดงเท็จนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
“วิระชัย” ลั่น บังคับใช้ กม.บทหนักสุด เอาผิดเจ้าของบริษัทนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
เจาะงบการเงิน-เปิดตัว4เอกชนถูก ตร.ค้นตู้คอนเทนเนอร์ขนขยะอิเล็กทรอนิกส์
ขยะ 58 ตันสำแดงเท็จ รอง ผบ.ตร. บุกจับอีก-แจ้งข้อหา บ.ลองลัค พลาสติกฯ
เตรียมส่งวิป! คืบหน้าร่าง กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ ‘อธิบดี คพ.’ ยันไม่กระทบซาเล้ง-ร้านเก็บของเก่า
กรอ.ชี้ไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ 6 หมื่นตันต่อปี
ผอ.กรีนพีซ เสนอรัฐผลักดัน กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ อุดช่องโหว่ลักลอบค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ
10 โมงยกขบวนจับ รง.ขยะพิษฉะเชิงเทรา- กก.หุ้นใหญ่ยื่นจดฯลาออก15.57 น.วันเดียวกัน
พบเจ้าของ รง.ขยะพิษ จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอีก 2 แห่ง ‘คลองเตย- อยุธยา’
รองผบ.ตร.เผยครึ่งปีแรก 2561 พบนำเข้าขยะอิเลกทรอนิกส์ แสนกว่าตัน
ไม่ใช่รง.เถื่อน กรอ. แจงตรวจพบที่ฉะเชิงเทรา อาจลอบนำเข้า E-waste โดยสำแดงเท็จ