“เราไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ” อธิบดีกรมโรงงานฯ แจงปมลักลอบนำเข้า E-waste ยันอนุญาตถูกต้อง
“ผมเชื่อว่าใบอนุญาตที่ออกไปไม่มีทางผิดเลย เพราะกฎหมายมีหมดอยู่แล้วว่า เมื่อมีน้ำเสียจะต้องมีวิศวกรออกแบบน้ำเสีย เพราะกฎหมายบังคับให้ต้องทำ หรือเมื่อมีกากของเสียอุตสาหกรรมจะต้องมีวิศวกรออกแบบระบบต่าง ๆ ฉะนั้นตอนอนุญาตให้ตั้งโรงงาน รับรองไม่มีทางผิด เพราะยึดหลักเกณฑ์ แต่ยืนยันไม่ได้เข้าข้าง”
การลักลอบนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์มายังประเทศไทยยังคงถูกจับตามองจากสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีของหน่วยงานภาครัฐ อย่างกรมโรงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กับวิธีการปิดช่องโหว่ไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำ จนส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org มีโอกาสพูดคุยแบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ณ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อตอบทุกประเด็นคำถามที่สังคมกำลังสงสัย
นายมงคล เล่าย้อนกลับไปว่า ที่ผ่านมามาตรการจัดการเกี่ยวกับซากอิเล็กทรอนิกส์มีมานานแล้ว โดยถูกบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติเมื่อ 10 ปีก่อน จนถึงปัจจุบันซากอิเล็กทรอนิกส์ของไทย มีอัตราการเติบโตมากกว่า 4 แสนตัน/ปี ไม่ว่าจะเป็นที่เกิดจากตู้เย็น โทรทัศน์ พัดลม กล้องถ่ายรูป และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเดิมทีการจัดการกับซากอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีการควบคุม โดยจะจัดเก็บผ่านรถซาเล้งและร้านขายของเก่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถอดเฉพาะวัสดุมีค่า ส่วนที่ไม่มีค่าจะนำไปทิ้งกลายเป็นขยะชุมชน
“รัฐจึงต้องมีนโยบายจัดระเบียบจากที่เคยทิ้งในครัวเรือน ให้มาอยู่ในระบบอุตสาหกรรมแทน ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดโรงงานคัดแยกขยะ ประเภทกิจการ 105 และแปรรูปขยะ ประเภทกิจการ 106 ขึ้นมา
ส่วนที่ต้องทิ้งหรือทำลาย จะมีโรงงานอีกประเภททำหน้าที่รับฝังกลบและเผาทิ้ง
ดังนั้นหากกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ออกประกาศให้มีโรงงานเหล่านี้ ถามว่าใครจะเป็นฝ่ายจัดการ ในขณะที่โรงงานที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการเติบโตของซากอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น”
อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวถึงกระบวนการขอจัดตั้งโรงงานว่า ไม่ว่าจะเป็นโรงงานเกี่ยวกับซากอิเล็กทรอนิกส์ หรือโรงงานประเภทอื่น ๆ จะมีขั้นตอนวิธีการเหมือนกัน โดยกรมโรงงานฯ จะต้องเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่ทำเลที่ตั้ง เพื่อจัดระบบป้องกันมลพิษ กฎหมายบังคับอยู่แล้วว่า ทุกอย่างต้องทำอย่างครบถ้วน เช่น ต้องมีวิศวกรดูแลระบบ วิศวกรออกแบบอาคาร วิศวกรเครื่องจักร วิศวกรออกแบบมลพิษน้ำเสีย
“ผมเชื่อว่า ใบอนุญาตที่ออกไปไม่มีทางผิดเลย" อธิบดีกรมโรงงานฯ ยืนยันหนักแน่น และว่า กฎหมายมีหมดอยู่แล้ว เมื่อมีน้ำเสียจะต้องมีวิศวกรออกแบบน้ำเสีย เพราะกฎหมายบังคับให้ต้องทำ หรือเมื่อมีกากของเสียอุตสาหกรรมจะต้องมีวิศวกรออกแบบระบบต่าง ๆ ฉะนั้นตอนอนุญาตให้ตั้งโรงงาน รับรองไม่มีทางผิด เพราะยึดหลักเกณฑ์ ไม่เข้าข้างใคร
จากนั้นเมื่อกรมโรงงานฯ อนุญาตให้มีการจัดสร้างโรงงานได้ นายมงคล อธิบายต่อว่า จะต้องปฏิบัติตามแบบแปลนทุกอย่าง และก่อนเดินเครื่องระบบ 15 วัน ต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง หากพบยังไม่ครบถ้วน กรมโรงงานฯ จะไม่อนุญาตให้เปิดกิจการได้
กรณีที่มีคำสั่งให้ปิดโรงงานหรือให้แก้ไข เพราะโรงงานเหล่านั้นไม่เคยแจ้งก่อนว่า จะเดินเครื่องระบบ
“ถามว่ากรมโรงงานฯ เกี่ยวข้องหรือไม่ เราไม่ปฏิเสธ เพราะมีหน้าที่กำกับดูแล แต่กรมโรงงานฯ ไม่ได้มีหน้าที่กำกับดูแลทั้งหมด ยังมีหน่วยงานอีกมากมายที่ต้องดูแล”
ในส่วนที่มีการลักลอบตั้งโรงงานผิดกฎหมายนั้น อธิบดีกรมโรงงานฯ เห็นว่า ต้องช่วยกันดู เพราะกรมโรงงานฯ ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลตรงนั้น แต่เมื่อไหร่ที่จัดตั้งเป็นโรงงานถูกต้องตามกฎหมายแล้ว นั่นจึงเป็นอำนาจที่จะต้องไปติดตามว่า ดำเนินงานถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
“เหมือนกรมโรงงานฯ ไม่อนุญาตให้เดินเครื่อง แต่บริษัทกลับเดินเครื่อง แล้วกรมโรงงานฯ จะรู้ได้อย่างไร เพราะมีคนทำผิดกฎหมายเยอะแยะไปหมดที่ลักลอบ เราไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบที่เกิดการลักลอบ แต่บ้านเรามีกฎหมายอื่นเยอะแยะไปหมด”
อธิบดีกรมโรงงานฯ ย้ำว่า ถ้ากรมโรงงานฯ มีคำสั่งให้เดินเครื่องระบบแล้ว แต่กลับทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างนี้ชัดเจนว่า เราต้องกำกับดูแล แต่ส่วนใหญ่ ยังทำไม่ได้ เหมือนกับมีคนลักลอบแกะชิ้นส่วนหรือทำอะไรอยู่ในบ้าน เราไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ แต่ต้องดูว่า กฎหมายจริงๆ ให้อำนาจเราตรงนั้นหรือไม่
ทั้งนี้ ตามแผนปฏิบัติงาน กระทรวงอุตสาหกรรมมีหน้าที่ดูแลโรงงานทุกประเภท โดยทุกปีมีแผนการตรวจโรงงานประมาณ 3 หมื่นโรง/ปี จากทั้งหมด 8 หมื่นโรง ที่ตรวจสอบภายหลังไม่ได้ทั้งหมด เพราะติดอุปสรรคในเรื่องคนและงบประมาณ จึงทำได้เพียงเท่านั้น โดยจะตรวจสอบทุกเรื่อง ทั้งใบอนุญาต สิ่งแวดล้อม
"แต่ละปีจะต้องมีเรื่องที่ตรวจสอบตามแผนการเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ปี 2560 ตรวจสอบโรงงานติดแม่น้ำ ปี 2561 ตรวจสอบกากอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้น การตรวจสอบกำกับตามกฎหมายมีอยู่แล้ว"
ในส่วนการลักลอบนำเข้ากากอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวโยงกับปมทุจริตระดับล่างหรือจ่ายเงินใต้โต๊ะหรือไม่ นายมงคล บอกว่า "เราอย่าพูดอย่างนั้น เพราะเจ้าหน้าที่ได้บังคับใช้กฎหมายเกือบทุกฉบับ เราต้องมาดูตัวชี้วัดว่า ในแต่ละปีมีคนที่ร้องเรียนหรือเสียหายได้รับความเดือดร้อนอย่างไร อย่าบอกว่าทุจริต เพราะขนาดพระยังกลัวเจอเงินทอนเลย พูดเหมารวมไม่ได้ เนื่องจากทุกคนทำหน้าที่ แต่จริง ๆ กระทรวงมีนโยบายชัดเจน ที่จะจัดการอย่างเด็ดขาด แต่ต้องช่วยกันดูและป้องกัน"
“โจรมีเยอะแยะ ตำรวจ ทหารทำอะไร เขาก็มีหน้าที่ของเขา จะไปตำหนิว่าทำไม่ได้นั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะโจรลักลอบเครื่องไฟฟ้าเข้ามาเยอะแยะ ก็คนลักลอบ ถามว่าใครรับผิดชอบ ให้กรมโรงงานฯ รับผิดชอบ จะไปรู้เหรอว่า มีคนลักลอบเข้ามา”
เมื่อถามถึงช่องโหว่เปิดโอกาสให้โรงงานที่นำเข้ามาได้กระจายไปยังโรงงานอื่น อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวว่า ขอถามก่อนทำไมเราจึงต้องอนุญาตให้นำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์
ตัวเลขปี 2561 มีจำนวน 3.7 หมื่นตัน เพราะเห็นว่า สิ่งที่นำเข้ามาได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์
ในขณะที่ซากอิเล็กทรอนิกส์ในไทยมีมากกว่า 4 แสนตัน นายมงคล ตั้งคำถามว่า ห่างกันกี่เท่า ?
"สิ่งเหล่านี้เราไม่ได้พูดลอย ๆ แต่มีเอกสารนำเข้าระบุไว้ และส่วนใหญ่เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีค่ามากกว่าพลาสติกหรือกระจก และสามารถดึงโลหะมีค่ามาใช้ได้ ไม่ได้อนุญาตให้นำเข้าทุกชนิด"
นายมงคล ยังให้ข้อมูลถึงแนวโน้มอนาคตจะมีการจำกัดนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์ว่า ที่กรมโรงงานฯ อนุญาตให้นำเข้ามีเพียง 7 โรงงาน จากทั้งหมด 148 โรงงาน ซึ่งปริมาณเป็นไปตามความสามารถของแต่ละโรงงาน ไม่เกี่ยวว่า ให้โควต้าใครมากกว่ากันโดยขณะนี้สั่งปิดไปแล้ว 5 แห่ง เหลือเพียง 2 แห่ง แน่นอนว่า อนาคตอาจมีปริมาณนำเข้าต่ำกว่า 3.7 หมื่นตันก็ได้ หรือไม่โรงงาน 2 แห่งนี้อาจปิดกิจการ
“7 โรงงาน โควต้านำเข้าใกล้เคียงกัน มากที่สุดน่าจะเป็น บริษัท เจ.พี.เอส. เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด”
สำหรับซากอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำเข้ามา 5.3 หมื่นตัน ในปี 2560 พบสำแดงเท็จ ถามว่าใครดู...?
ทั้งนี้ นายมงคล ยังได้ชี้แจงอีกว่า มอเตอร์ สายไฟ ไม่ใช่วัตถุอันตรายอย่างที่เข้าใจผิดกัน ดังนั้น สามารถนำเข้ามาได้เลย ไม่มีกฎหมายบังคับ แต่หลายคนเชื่อว่าเป็นขยะอันตราย
อธิบดีกรมโรงงานฯ ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันเรื่องการนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีแล้ว เพราะเรายกเลิกหมดแล้ว เหลือโรงงานแค่ 2 จาก 7 โรง ซึ่ง 2 โรงที่เหลืออยู่นั้นดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมาย จึงยังคงนำเข้ามาได้ต่อไป แต่ 5 โรงที่ผิดสั่งยกเลิกนำเข้า ฉะนั้นวันนี้จะไม่มีการขอนำเข้ามาในไทย
ปัจจุบัน กรมโรงงานฯ ได้พักใช้ใบอนุญาตนำเข้าแก่ผู้นำเข้า 5 ราย ซึ่งถือเป็นการลงโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดเป็นระยะเวลา 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ปริมาณ 14,031 ตัน จาก 3.7 หมื่นตัน ที่ออกนอกระบบหายไปจากกระบวนการผลิต ให้ส่งคืนผู้นำเข้าที่ถูกต้อง หากผลักดันกลับไม่สำเร็จ จะต้องส่งไปยังโรงงานกำจัดทิ้งแทน
ส่วนที่มีข้อเสนอให้ใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหา โดยอาจให้ยกเลิกการอนุญาตนำเข้าตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนและการกำจัดซึ่งของเสียอันตราย ( Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal: Basel Convention) อธิบดีกรมโรงงานฯ ยืนยันว่า อนุสัญญาไม่เสียหาย เพราะว่ามี 169 ประเทศอยู่ในนี้ เห็นการกำกับดูแลดี จะได้รู้ต้นทาง ปลายทางได้ และซากอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้ามามีกระบวนการพิจารณาว่าทำประโยชน์ได้ จึงยอมให้เข้า แต่หากเป็นขยะไม่ใช่ซาก เราไม่เอาอยู่แล้ว
ดังนั้นหากจะยกเลิก นายมงคล ถามต่อว่า คนทำถูกกฎหมายเดือดร้อนหรือไม่ และกากอุตสาหกรรมที่ส่งออกไปข้างนอกจะได้รับผลกระทบหรือไม่ ?
บราเซลมีส่วนที่เราส่งออกด้วย เราส่งออกของเสียอันตรายไปปี 60 มีตัวเลขนำเข้า 5.3 หมื่นตัน แต่ไทยส่งออก 4 แสนกว่า เรื่องนี้เราต้องมามองเหมือนกัน
"ถ้ายกเลิกไม่นำเข้าเลย ถามว่า คนทำถูกกม.เดือดร้อนหรือไม่ และกากอุตสาหกรรมที่ส่งออกข้างนอกกระทบหรือไม่ ดังนั้น จะบอกว่า ไม่ต้องการนำเข้า แต่ต้องการส่งออก ระดับนโยบายจึงต้องมาพูดคุยกันถึงผลดีผลเสีย และเชื่อว่ารัฐบาลจะตัดสินใจจากภาพรวม"
ท้ายที่สุด กรณีที่ภาคประชาสังคมออกมาระบุถึงสาเหตุที่ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศรับซากอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีการออกประกาศกระทรวงเอื้ออำนวยให้ ประเด็นนี้ นายมงคล ก็อยากให้แจกแจงมาว่าเป็นฉบับใด เพื่อกรมโรงงานฯ จะได้ชี้แจงต่อไป ...
อ่านประกอบ:ตร.ค้นอีก2รง.-1โกดังไร้ชื่อ จ.ปทุมฯเอี่ยวขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ยอดพุ่ง14แห่ง
ฉาวทั่วโลก!สื่อแดนมังกรตีข่าวไทยศูนย์กลางทิ้งขยะอิเล็กฯแห่งใหม่-ผลกระทบหลังจีนเข้ม
หญิง31ปี-คนไต้หวัน-สิงคโปร์ก่อตั้ง!เปิดตัว ‘ไวโรกรีนฯ’โควตาขยะอิเล็กฯ1.3หมื่นตัน
กรม รง.ปฏิเสธไม่ได้!รมว.ทรัพยฯชง ครม. แก้ปัญหาขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-อาจใช้ม.44
6ปมเงื่อน!ขบวนการข้ามชาติลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ผลประโยชน์พันล.เข้ากระเป๋าใคร?
เอกชนมีใบอนุญาตกระจายกันเอง!กรมศุลฯปัดเอี่ยวปมลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-โยนกรม รง.สอบ
สาวลึกให้ถึงต้นตอ ‘เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง’ กับต้นเหตุทำไทยเปลี่ยนเป็นเมืองขยะอิเล็กฯ
จ่ายใต้โต๊ะตู้ละแสน!เอกชนร่วม จนท.รัฐลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ถก รมว.อุตฯแก้ปัญหา13มิ.ย.
INFO:ขมวด‘ช่องโหว่’ขบวนการข้ามชาติลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-โอกาส จนท.รัฐเอี่ยวตอนไหน?
โชว์ภาพรถ-เปิด 4 บริษัทเอี่ยวขนส่งขยะอิเล็กฯ ‘กลุ่มสมุทรปราการ’-ยอดรวมพุ่ง 12แห่ง
ใบเสร็จมัด-ทำกันเป็นทอด!พฤติการณ์กลุ่มเอกชนจีนสมุทรปราการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
เจอแล้ว!ต้นตอลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯจาก ตปท.-ให้2รง.สมุทรปราการนอมินีจัดการแทน
พบเส้นทางเงินโอนกลับจีน23.6ล.!แกะรอย‘ไอ้โม่ง’ชักใยขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
เปิดตัว‘เจ.พี.เอส.’นำเข้าขยะอิเล็กฯ6หมื่นตัน ก่อนโผล่ถือหุ้น‘หย่งถัง’-นั่ง กก.แทนคนจีน
แกะรอยคนจีนถือหุ้น บ.หย่งถังฯยักษ์ใหญ่นำเข้าขยะอิเล็กฯ-ใครเจ้าของ?
ที่แท้‘คนจีน’ร่วมหญิงอายุ29ปีหอบเงินตั้ง บ.หยั่งถงฯเอกชนนำเข้าขยะอิเล็กฯ3หมื่นตัน
เปิด7บ.ได้โควตานำเข้าชิ้นส่วนขยะอิเล็กฯ-พลาสติก คนจีน-ไต้หวัน-มาเลฯถือหุ้นเพียบ?
กระชากหน้ากากขบวนการ‘คนจีน’ ลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯทิ้งไทย-สตช. ล่า‘บิ๊ก’รู้เห็น?
เปิดตัว5เอกชนนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กฯ-พลาสติก‘คนจีน’ถือหุ้น30-49%-ตร.สอบขยายผล
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
สตช.ล่าตัว ขรก.-นักการเมืองเอี่ยว!ชี้ บ.คนจีน4แห่งต้นตอนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
ตร.ขยายผลค้นรง.ลองลัค พลาสติก ที่สมุทรสาคร สำแดงเท็จนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
“วิระชัย” ลั่น บังคับใช้ กม.บทหนักสุด เอาผิดเจ้าของบริษัทนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
เจาะงบการเงิน-เปิดตัว4เอกชนถูก ตร.ค้นตู้คอนเทนเนอร์ขนขยะอิเล็กทรอนิกส์
ขยะ 58 ตันสำแดงเท็จ รอง ผบ.ตร. บุกจับอีก-แจ้งข้อหา บ.ลองลัค พลาสติกฯ
เตรียมส่งวิป! คืบหน้าร่าง กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ ‘อธิบดี คพ.’ ยันไม่กระทบซาเล้ง-ร้านเก็บของเก่า
กรอ.ชี้ไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ 6 หมื่นตันต่อปี
ผอ.กรีนพีซ เสนอรัฐผลักดัน กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ อุดช่องโหว่ลักลอบค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ
10 โมงยกขบวนจับ รง.ขยะพิษฉะเชิงเทรา- กก.หุ้นใหญ่ยื่นจดฯลาออก15.57 น.วันเดียวกัน
พบเจ้าของ รง.ขยะพิษ จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอีก 2 แห่ง ‘คลองเตย- อยุธยา’
รองผบ.ตร.เผยครึ่งปีแรก 2561 พบนำเข้าขยะอิเลกทรอนิกส์ แสนกว่าตัน
ไม่ใช่รง.เถื่อน กรอ. แจงตรวจพบที่ฉะเชิงเทรา อาจลอบนำเข้า E-waste โดยสำแดงเท็จ