สาวลึกให้ถึงต้นตอ ‘เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง’ กับต้นเหตุทำไทยเปลี่ยนเป็นเมืองขยะอิเล็กฯ
“ตอนนี้มีการโบ้ยกันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมบอกว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องของจังหวัด ซึ่งมีคณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่า ขั้นตอนแรกสุดของการอนุมัติอนุญาตให้มีการนำเข้าคือเขา แต่พอไปอยู่ที่ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี หรือที่ไหนก็ตาม เป็นอำนาจของอุตสาหกรรมจังหวัด ฉะนั้นกรณีนี้หากจะพูดจริงๆ ต้นทางอยู่ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม”
ประเด็นหนึ่งที่สังคมกำลังสงสัย คือ การเปิดเสรีนำเข้าของเสียอันตรายภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (Japan - Thailand Economic Partnership Agreement / JTEPA) เป็นต้นเหตุทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองขยะอิเล็กทรอนิกส์ จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตั้งคำถามดังกล่าวกับ ‘เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง’ ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ หนึ่งในผู้เคยขับเคลื่อนให้มีการคัดค้านข้อตกลงฉบับนั้น
เพ็ญโฉม อธิบายว่า ปี 2550 ภาคประชาชน นำโดยกลุ่ม FTA Watch และมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ร่วมกันคัดค้านรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ไม่ให้ลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น เนื่องจากเนื้อหาสาระปรากฎรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมถึง ‘ขยะ’ และในภาคผนวกยังพบมีรายการพิกัดศุลกากรที่ชี้ชัดว่า เป็นของเสียประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยะเคมี ขยะเตาเผา ขยะเทศบาล ขยะสถานพยาบาล แต่การคัดค้านไม่เป็นผล
อย่างไรก็ตาม ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น ไม่น่าจะเป็นต้นเหตุทั้งหมดที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองขยะอิเล็กทรอนิกส์
โดยต้นเหตุที่มากไปกว่าข้อตกลงไทย-ญี่ปุ่น ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ ระบุเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของประเทศไทย นั่นคือ กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนอุตสาหกรรมหรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมคัดแยกขยะและฝังกลบขยะ ประเภทกิจการ 105 และแปรรูปขยะ ประเภทกิจการ 106
จะเห็นได้ว่า การส่งเสริมดังกล่าว ทำให้ช่วงระหว่างปี 2547 - 2558 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ทยอยออกประกาศกระทรวงหลายฉบับที่เป็นการยกเลิกหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่เป็นกฎหมายควบคุมของเสียอันตราย
“บัญชีรายการของเสียอันตรายที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะมีบัญชี 5 ซึ่งหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ถูกจัดอยู่ในบัญชี 5.3 และ 5.2” เพ็ญโฉม กล่าว และว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ออกประกาศยกเว้นให้ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ผลิต ผู้มีไว้ในครอบครอง ของเสียอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
นอกจากนี้ในปี 2558 กรมโรงงานอุตสาหกรรมยังได้ออกประกาศกระทรวงยกเว้นให้ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ผลิต ผู้มีไว้ในครอบครอง สารอันตรายที่อยู่ในบัญชี 5.6 ไม่ต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 อีกด้วย ซึ่งกลุ่มดังกล่าวล้วนเป็นของเสียที่อยู่ในกลุ่มของเคมีวัตถุทั้งสิ้น
จึงเห็นได้ว่า ประกาศกระทรวงหลายฉบับล้วนเป็นการปูทางล่วงหน้าให้กลุ่มธุรกิจนำเข้าของเสียและจัดการของเสีย สามารถนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีวัตถุ และของเสียอันตรายอื่น ๆ ได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวต่อว่า การที่พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) นำกำลังเข้าจับกุมผู้กระทำความผิด ในมุมมองหากมีการตรวจสอบจริง ๆ เชื่อว่า สุดท้ายจะผิดกฎหมายน้อยมาก เพราะกฎหมายได้เอื้อทุกอย่างไว้หมดแล้ว
“กรมโรงงานอุตสาหกรรมทำอย่างเงียบ ๆ ทยอยออกประกาศกระทรวงให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้มาตั้งโรงงานได้ สมมตินักลงทุนชื่อ ก. ตั้งโรงงาน 105 ขึ้นมา ต่อมานักลงทุน ข. ขอซื้อกิจการ โดยนาย ข.รับโอนแบบไม่ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานใหม่ เพราะเท่ากับโอนให้หมดทุกอย่าง ซึ่งการโอนกิจการนี้ได้มีการออกประกาศกระทรวงรองรับภายหลังเช่นเดียวกัน”
ทั้งนี้ ความจริงแล้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกิจอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และประกาศกระทรวงก่อนหน้านี้จึงมีการควบคุมเข้มงวดมาก ว่าจะต้องมีการขออนุญาตทุกขั้นตอน ต้องมีเอกสารกำกับ ให้ข้อมูลของเสีย ต้องเสียภาษีค่อนข้างสูง และต้องปฏิบัติตามมาตรการสิ่งแวดล้อม แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกลับทยอยยกเว้นไว้ทั้งหมด
ในส่วนกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เพ็ญโฉม กล่าวว่า เคยมีประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเกี่ยวกับการห้ามนำเข้าเศษ ซาก ชิ้นส่วน รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทเข้ามาในไทย แต่ต้องเข้าใจว่า ประกาศดังกล่าวไม่มีผลทางกฎหมาย เพราะอำนาจห้ามนำเข้าจริงขึ้นอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
“กรมควบคุมมลพิษเป็นแค่หน่วยงานที่ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเท่านั้น เพราะฉะนั้นสินค้าอันตรายตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเพียงการแจ้งว่า คณะกรรมการไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าว แต่ไม่สามารถห้ามนำเข้าตามกฎหมายได้จริง”
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีฯ ได้มีการมอบอำนาจให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมอนุมัติ อนุญาต นำเข้า ส่งออก ทั้งหมดแล้ว
“ตอนนี้มีการโบ้ยกันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมบอกว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องของจังหวัด ซึ่งมีคณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่า ขั้นตอนแรกสุดของการอนุมัติอนุญาตให้มีการนำเข้าคือเขา แต่พอไปอยู่ที่ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี หรือที่ไหนก็ตาม เป็นอำนาจของอุตสาหกรรมจังหวัด ฉะนั้นกรณีนี้หากจะพูดจริงๆ ต้นทางอยู่ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม”
ส่วนที่มีการโบ้ยความรับผิดชอบกันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับกรมศุลกากร ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถหนีความผิดที่ตัวเองเป็นต้นเหตุของเรื่องทั้งหมด เพราะฉะนั้นจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ส่วนเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่มีหน้าตรวจตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ อย่าลืมว่า ศุลกากรมีอำนาจน้อยมากในการตรวจสอบ เพราะเดิมเคยตรวจตู้สินค้าได้ 100% แต่กระบวนการจะช้า จึงมีการร้องเรียนของกระทรวงอุตสาหกรรม สุดท้ายองค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO) ได้มีนโยบายผลักดันให้ทุกประเทศที่เป็นภาคีต้องผ่อนผันให้สุ่มตรวจจนกระทั่งไม่มีการตรวจสอบตู้สินค้าอีก โดยไม่กี่ปีข้างหน้าคาดว่า การตรวจตู้สินค้านำเข้าจะเหลือ 0% ทั้งนำเข้าและส่งออก จากปัจจุบัน 10% และ 20% ตามลำดับ
“ถามว่ามีความผิดหรือไม่ ก็ผิดมาตั้งแต่นโยบายที่ให้ลดการตรวจสอบตรง และหาก 10% ตรวจสอบเจอ แล้วไม่แจ้ง นั่นจึงจะถือเป็นความผิดของศุลกากร แต่เอาความผิดแยกหน้า เพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผ่อนผันหมดแล้ว ทำให้เจ้าหน้าที่แทบจะทำอะไรไม่ได้”
เพ็ญโฉมยังแสดงความคิดเห็นต่อการจัดระเบียบขยะอิเล็กทรอนิกส์ว่า ที่ผ่านมาคสช.ฟังข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและมีความวิตกกังวลกับปัญหาขยะ จึงเชื่อว่า การเพิ่มโรงงานแปรรูปและคัดแยกขยะ จะเป็นหนทางทำให้จัดการขยะได้ จึงมีการบังคับใช้มาตรา 44 อนุญาตให้เปิดได้ทุกแห่ง โดยไม่ติดปัญหากฎหมายผังเมือง มิฉะนั้น ชาวบ้านจะคัดค้าน อย่างไรก็ตาม เชื้อเพลิงในประเทศไม่สามารถใช้ได้ เพราะเป็นขยะชั้นเลว ดังนั้น จึงต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นหากจะให้จัดระเบียบใหม่จริง ๆ ต้องไปจัดการกับกระทรวงอุตสาหกรรมให้เร่งออกประกาศกระทรวงแก้ที่ยกเว้นเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแก้บทลงโทษใน พ.ร.บ.โรงงาน ให้หนักขึ้นด้วย
“ร่าง พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับแก้ไข หนักเข้าไปใหญ่ หากประกาศใช้เมื่อไหร่ จะทำให้การตั้งโรงงานคัดแยกขยะ ฝังกลบขยะ และการกำจัดของเสียอื่น ๆ ยิ่งง่ายขึ้น และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจะยิ่งน้อยลง นั่นหมายถึง จะมีการเปิดเสรีการจัดการของเสียในไทย จนทำให้เป็นประเทศถังขยะที่ใหญ่มาก” ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวในที่สุด .
อ่านประกอบ:จ่ายใต้โต๊ะตู้ละแสน!เอกชนร่วม จนท.รัฐลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ถก รมว.อุตฯแก้ปัญหา13มิ.ย.
INFO:ขมวด‘ช่องโหว่’ขบวนการข้ามชาติลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-โอกาส จนท.รัฐเอี่ยวตอนไหน?
โชว์ภาพรถ-เปิด 4 บริษัทเอี่ยวขนส่งขยะอิเล็กฯ ‘กลุ่มสมุทรปราการ’-ยอดรวมพุ่ง 12แห่ง
ใบเสร็จมัด-ทำกันเป็นทอด!พฤติการณ์กลุ่มเอกชนจีนสมุทรปราการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
เจอแล้ว!ต้นตอลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯจาก ตปท.-ให้2รง.สมุทรปราการนอมินีจัดการแทน
พบเส้นทางเงินโอนกลับจีน23.6ล.!แกะรอย‘ไอ้โม่ง’ชักใยขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
เปิดตัว‘เจ.พี.เอส.’นำเข้าขยะอิเล็กฯ6หมื่นตัน ก่อนโผล่ถือหุ้น‘หย่งถัง’-นั่ง กก.แทนคนจีน
แกะรอยคนจีนถือหุ้น บ.หย่งถังฯยักษ์ใหญ่นำเข้าขยะอิเล็กฯ-ใครเจ้าของ?
ที่แท้‘คนจีน’ร่วมหญิงอายุ29ปีหอบเงินตั้ง บ.หยั่งถงฯเอกชนนำเข้าขยะอิเล็กฯ3หมื่นตัน
เปิด7บ.ได้โควตานำเข้าชิ้นส่วนขยะอิเล็กฯ-พลาสติก คนจีน-ไต้หวัน-มาเลฯถือหุ้นเพียบ?
กระชากหน้ากากขบวนการ‘คนจีน’ ลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯทิ้งไทย-สตช. ล่า‘บิ๊ก’รู้เห็น?
เปิดตัว5เอกชนนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กฯ-พลาสติก‘คนจีน’ถือหุ้น30-49%-ตร.สอบขยายผล
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
สตช.ล่าตัว ขรก.-นักการเมืองเอี่ยว!ชี้ บ.คนจีน4แห่งต้นตอนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
ตร.ขยายผลค้นรง.ลองลัค พลาสติก ที่สมุทรสาคร สำแดงเท็จนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
“วิระชัย” ลั่น บังคับใช้ กม.บทหนักสุด เอาผิดเจ้าของบริษัทนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
เจาะงบการเงิน-เปิดตัว4เอกชนถูก ตร.ค้นตู้คอนเทนเนอร์ขนขยะอิเล็กทรอนิกส์
ขยะ 58 ตันสำแดงเท็จ รอง ผบ.ตร. บุกจับอีก-แจ้งข้อหา บ.ลองลัค พลาสติกฯ
เตรียมส่งวิป! คืบหน้าร่าง กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ ‘อธิบดี คพ.’ ยันไม่กระทบซาเล้ง-ร้านเก็บของเก่า
กรอ.ชี้ไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ 6 หมื่นตันต่อปี
ผอ.กรีนพีซ เสนอรัฐผลักดัน กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ อุดช่องโหว่ลักลอบค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ
10 โมงยกขบวนจับ รง.ขยะพิษฉะเชิงเทรา- กก.หุ้นใหญ่ยื่นจดฯลาออก15.57 น.วันเดียวกัน
พบเจ้าของ รง.ขยะพิษ จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอีก 2 แห่ง ‘คลองเตย- อยุธยา’
รองผบ.ตร.เผยครึ่งปีแรก 2561 พบนำเข้าขยะอิเลกทรอนิกส์ แสนกว่าตัน
ไม่ใช่รง.เถื่อน กรอ. แจงตรวจพบที่ฉะเชิงเทรา อาจลอบนำเข้า E-waste โดยสำแดงเท็จ