แค่สร้างภาพลักษณ์?โชว์ความเห็น ก.อุตฯทำไมเลิกนำเข้าขยะอิเล็กฯแล้วกระทบเศรษฐกิจ
“…ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โรงงานผู้นำเข้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ประมาณปีละ 40,000-50,000 ตัน จะต้องเลิกประกอบกิจการ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ โดย E-Waste ที่เกิดจากโรงงายภายในประเทศ มีปริมาณเพียงปีละ 7,500 ตัน หากใช้วัตถุดิบภายในประเทศจะต้องจัดหาจากแหล่งชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้รับดำเนินการคัดแยกขยะชุมชนส่วนนี้ไม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องตามกฎหมายและหลักวิชาการ…”
หลายคนอาจทราบแล้วว่าปัจจุบัน กระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเศษพลาสติก ภายหลังคณะทำงานร่วม 3 ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมศุลกากร ตรวจสอบพบ ‘ขบวนการข้ามชาติ’ ลักลอบนำเข้ามากำจัดอย่างผิดกฎหมาย
เบื้องต้นกรมอุตสาหกรรม ตรวจสอบพบว่า มีโรงงานหลายร้อยแห่งที่ถูกตรวจสอบ และพบว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 อย่างไรก็ดีไม่มีการระบุชื่อบริษัท โรงงาน หรือรายละเอียดการกระทำความผิดว่า ผิดตามมาตราใด (อ่านประกอบ : เปิดผลสอบ รง.พันขยะอิเล็กฯผิดหลายร้อยแห่ง! ก.อุตฯยันกระทบหนักหากเลิกนำเข้า)
ประเด็นที่น่าสนใจคือ กระทรวงอุตสาหกรรม แสดงความเห็นว่า หากเลิกนำเข้าขยะเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้ประกอบกิจการภายในประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แรงงาน หรือการขนส่ง
อย่างไร ?
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกนำเข้าจากต่างประเทศ ที่นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา พบรายละเอียด ดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า เพื่อเป็นการสมควรจึงขอเสนอมาตรการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกนำเข้าจากต่างประเทศ มาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีทราบ ให้มีการกำหนดแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบที่จะนาใช้หรือผลิตในโรงงาน รวมทั้งให้เกิดการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างคุ้มค่า และให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและความปลอดภัยของประเทศ และของสาธารณ
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาข้างต้น จนกว่าคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ จะมีแนวทางหรือนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้น จึงจำเป็นต้องขอรับนโยบายของรัฐบาล เพื่อกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ดำเนินการลดผลกระทบ และป้องกันความเสียหายต่อผู้ประกอบการ และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในระยะต่อไป
กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหากรณีนี้ สรุปได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรม จะร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการรีไซเคิลชิ้นส่วนอุปกรณ์และเศษอิเล็กทรอนิกส์
ขณะเดียวกันยังเสนอให้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้แล้ว หรืออุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วมือสอง ยังคงอนุญาตต่อไป ให้เป็นไปตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 ส่วนเศษพลาสติกใช้แล้ว อนุญาตเฉพาะพลาสติกที่สะอาด และห้ามล้าง โดยเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุญาตนำเศษ เศษตัด และของที่ไม่ใช้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ส.2551 โดยจำกัดปริมาณนำเข้าเท่าที่จำเป็น และเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมรีไซเคิลพลาสติกที่ใช้แล้ว
กระทรวงอุตสาหกรรมเน้นคำว่า ‘ลดและยกเลิกการนำเข้า’ (Phase out) โดยจำกัดปริมาณให้ลดลงตามลำดับในระยะเวลา 2 ปี และกระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ส่งเสริมการรีไซเคิลพลาสติกใช้แล้วจากแหล่งชุมชน
ส่วนกรณีสินค้าไม่ใช้แล้วอื่น ๆ เช่น เศษโลหะ ต้องร่วมมือกับกรมศุลกากรตรวจสอบสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างเข้มงวด ส่วนแบตเตอรี่ใช้แล้ว ที่ถูกห้ามนำเข้าชนิดตะกั่วกรด เห็นควรยังคงดำเนินการตามมติเดิมต่อไป ขณะที่อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วที่จะนำมาถอดแยกเพื่อนำโลหะกลับมาใช้ เช่น มอเตอร์ มิเตอร์ หม้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เห็นควรห้ามนำเข้า โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ประกาศห้ามตาม พ.ร.บ.การส่งออกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2522 ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ประกาศห้ามใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานภายในประเทศ ตามมาตรา 32 (2) แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 อีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอความเห็นต่อรัฐบาลว่า หากมีการห้ามโรงงานตามประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ที่ใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ หรือเศษ (ไม่รวมเศษจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ที่มีส่วนประกอบซึ่งเป็นของเสียเคมีวัตถุลำดับที่ 2.18 ตามบัญชี 5.2 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2556 ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ หรือเศษ (E-Waste) ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในโรงงาน จะมีผลกระทบด้านต่าง ๆ ดังนี้
หนึ่ง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โรงงานผู้นำเข้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ประมาณปีละ 40,000-50,000 ตัน จะต้องเลิกประกอบกิจการ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ โดย E-Waste ที่เกิดจากโรงงายภายในประเทศ มีปริมาณเพียงปีละ 7,500 ตัน หากใช้วัตถุดิบภายในประเทศจะต้องจัดหาจากแหล่งชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้รับดำเนินการคัดแยกขยะชุมชนส่วนนี้ไม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องตามกฎหมายและหลักวิชาการ
เช่น กรณีอำเภอฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ที่รับดำเนินการคัดแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากขยะชุมชนในประเทศ ประมาณ 274 ตัน/เดือน จนเกิดการปนเปื้อนของสารพิษสู่อากาศ ดิน และแหล่งน้ำ อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นวงกว้างในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ด้วย
นอกจากผลกระทบโดยตรงต่อโรงงานผู้นำเข้าแล้ว ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งสินค้า การจ้างงาน เป็นต้น
สอง ผลกระทบต่อสภาวะทางสังคม การเสนอห้ามนำเข้า E-Waste เป็นการส่งเสริมให้มีการเรียกคืนซาก E-Waste ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องว่าสามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาด ทันท่วงที
สาม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภาระการจัดการของเสียสุดท้ายโดยรวมของประเทศลดลง เนื่องจากของเสียสุดท้ายที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จะถูกกำจัดภายในประเทศ
ทั้งหมดคือมาตรการ-ความเห็นจากกระทรวงอุตสาหกรรม ในการแก้ไขปัญหาการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเศษพลาสติก ที่ปัจจุบันถูกภาครัฐตรวจสอบ และพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเข้มข้น หลังจากถูกเปิดโปงว่า ‘ขบวนการข้ามชาติ’ ลักลอบนำเข้าขยะเหล่านี้มาทิ้งในไทยจำนวนหลายหมื่นตัน
อย่างไรก็ดีประเด็นสำคัญที่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวจากภาครัฐคือ ตกลงปัญหานี้มีเจ้าหน้าที่รัฐระดับใดเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง เพราะเป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาดที่เอกชนเหล่านี้จะลักลอบนำเข้าขยะหลายหมื่นตันมาได้เอง โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ ?
นี่คืออีกโจทย์หนึ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ และนำตัวผู้กระทำผิดทั้งฝ่ายเอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐ มาลงโทษให้ได้ !
อ่านประกอบ :
ยังไม่หมด เจออีกที่ราชบุรี รง.นำเข้าขยะอิเล็คทรอนิกส์-พลาสติกขนจากท่าเรือคลองเตย
พุ่ง 30 คดีแล้ว ลักลอบนำเข้า E-waste รอง ผบ.ตร. เร่งทำสำนวนให้รัดกุม
อายัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก.อุตสาหกรรม เล็งแจ้งความดำเนินคดีโรงงานที่ทำผิดกม.
เทียบ 7 เอกชนได้โควตาขยะอิเล็กฯแสนตัน แจ้งทุนกรม รง.สวนทางงบการเงิน?
ครบเดือนกวาดล้างขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ ผล ปย.พันล.-ยังเอาผิด จนท.รัฐไม่ได้?
บ.นิวส์สกายฯได้16ใบอนุญาตกำจัดขยะอิเล็กฯ อ้างกรมโรงงานฯทุน60ล.แต่รายได้หลักหมื่น
จัดการด่านนี้ไม่ได้ เรื้อรัง! "เพ็ญโฉม" จี้ คสช.สอบขั้นตอนออกใบอนุญาตนำเข้า-ตั้งรง. ขยะ
ก.อุตสาหกรรม สั่งยกเลิกนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์-เศษพลาสติก
โชว์คำสั่งปลัด ก.อุตฯสั่งสอบ รง.บดขยะอิเล็กฯ148แห่งทั่ว ปท.-ขีดเส้นเสร็จ15 ส.ค.
โชว์คำสั่งปลัด ก.อุตฯสั่งสอบ รง.บดขยะอิเล็กฯ148แห่งทั่ว ปท.-ขีดเส้นเสร็จ15 ส.ค.
รถยนต์เชื่อมโยง?พฤติการณ์ซับซ้อน4รง.กลุ่ม ‘สมุทรปราการ’ ลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
บุกค้น รง.ย่านบางพลี-สมุทรปราการ ตร.พบรถยนต์โยงเครือข่ายลอบนำเข้าขยะ E-waste
พลิกข้อมูล 6 รง.‘นอมินี’ขนถ่าย-กำจัดขยะอิเล็กฯหมื่นตันแทนเอกชนได้ใบอนุญาตฯ
ตรวจ รง.ยังไง-สอบทุจริตไหม? 4ปมที่ยังไม่เคลียร์จากอธิบดีกรมโรงงานกรณีขยะอิเล็กฯ
“เราไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ” อธิบดีกรมโรงงานฯ แจงปมลักลอบนำเข้า E-waste ยันอนุญาตถูกต้อง
ตร.ค้นอีก2รง.-1โกดังไร้ชื่อ จ.ปทุมฯเอี่ยวขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ยอดพุ่ง14แห่ง
ฉาวทั่วโลก!สื่อแดนมังกรตีข่าวไทยศูนย์กลางทิ้งขยะอิเล็กฯแห่งใหม่-ผลกระทบหลังจีนเข้ม
หญิง31ปี-คนไต้หวัน-สิงคโปร์ก่อตั้ง!เปิดตัว ‘ไวโรกรีนฯ’โควตาขยะอิเล็กฯ1.3หมื่นตัน
กรม รง.ปฏิเสธไม่ได้!รมว.ทรัพยฯชง ครม. แก้ปัญหาขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-อาจใช้ม.44
6ปมเงื่อน!ขบวนการข้ามชาติลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ผลประโยชน์พันล.เข้ากระเป๋าใคร?
เอกชนมีใบอนุญาตกระจายกันเอง!กรมศุลฯปัดเอี่ยวปมลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-โยนกรม รง.สอบ
สาวลึกให้ถึงต้นตอ ‘เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง’ กับต้นเหตุทำไทยเปลี่ยนเป็นเมืองขยะอิเล็กฯ
จ่ายใต้โต๊ะตู้ละแสน!เอกชนร่วม จนท.รัฐลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-ถก รมว.อุตฯแก้ปัญหา13มิ.ย.
INFO:ขมวด‘ช่องโหว่’ขบวนการข้ามชาติลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ-โอกาส จนท.รัฐเอี่ยวตอนไหน?
โชว์ภาพรถ-เปิด 4 บริษัทเอี่ยวขนส่งขยะอิเล็กฯ ‘กลุ่มสมุทรปราการ’-ยอดรวมพุ่ง 12แห่ง
ใบเสร็จมัด-ทำกันเป็นทอด!พฤติการณ์กลุ่มเอกชนจีนสมุทรปราการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
เจอแล้ว!ต้นตอลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯจาก ตปท.-ให้2รง.สมุทรปราการนอมินีจัดการแทน
พบเส้นทางเงินโอนกลับจีน23.6ล.!แกะรอย‘ไอ้โม่ง’ชักใยขบวนการลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
ตร.ค้น3รง.ย่านปทุมฯใช้ที่อยู่เดียวกัน พบขยะอิเล็กฯกองท่วมหลายตัน-คนจีนเอี่ยวเพียบ
เปิดตัว‘เจ.พี.เอส.’นำเข้าขยะอิเล็กฯ6หมื่นตัน ก่อนโผล่ถือหุ้น‘หย่งถัง’-นั่ง กก.แทนคนจีน
แกะรอยคนจีนถือหุ้น บ.หย่งถังฯยักษ์ใหญ่นำเข้าขยะอิเล็กฯ-ใครเจ้าของ?
ที่แท้‘คนจีน’ร่วมหญิงอายุ29ปีหอบเงินตั้ง บ.หยั่งถงฯเอกชนนำเข้าขยะอิเล็กฯ3หมื่นตัน
เปิด7บ.ได้โควตานำเข้าชิ้นส่วนขยะอิเล็กฯ-พลาสติก คนจีน-ไต้หวัน-มาเลฯถือหุ้นเพียบ?
กระชากหน้ากากขบวนการ‘คนจีน’ ลอบนำเข้าขยะอิเล็กฯทิ้งไทย-สตช. ล่า‘บิ๊ก’รู้เห็น?
เปิดตัว5เอกชนนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กฯ-พลาสติก‘คนจีน’ถือหุ้น30-49%-ตร.สอบขยายผล
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
สตช.ล่าตัว ขรก.-นักการเมืองเอี่ยว!ชี้ บ.คนจีน4แห่งต้นตอนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เบื้องหลังขบวนการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก ไทยศูนย์กลางที่ทิ้งขยะโลก?
INFO:เปิดหมดพฤติการณ์ บ.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่าแสนตัน พักใบอนุญาต4-สำแดงเท็จ5
ปอกเปลือกขบวนการ-ขั้นตอนโรงงานลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์-จนท.รัฐรู้เห็น?
ตร.ขยายผลค้นรง.ลองลัค พลาสติก ที่สมุทรสาคร สำแดงเท็จนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
“วิระชัย” ลั่น บังคับใช้ กม.บทหนักสุด เอาผิดเจ้าของบริษัทนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เปิดตัว3เอกชนค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เจาะตัวเลขนำเข้าผ่านปีเดียวพุ่งหมื่นตัน
เจาะงบการเงิน-เปิดตัว4เอกชนถูก ตร.ค้นตู้คอนเทนเนอร์ขนขยะอิเล็กทรอนิกส์
ขยะ 58 ตันสำแดงเท็จ รอง ผบ.ตร. บุกจับอีก-แจ้งข้อหา บ.ลองลัค พลาสติกฯ
เตรียมส่งวิป! คืบหน้าร่าง กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ ‘อธิบดี คพ.’ ยันไม่กระทบซาเล้ง-ร้านเก็บของเก่า
กรอ.ชี้ไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ 6 หมื่นตันต่อปี
ผอ.กรีนพีซ เสนอรัฐผลักดัน กม.จัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ อุดช่องโหว่ลักลอบค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ
10 โมงยกขบวนจับ รง.ขยะพิษฉะเชิงเทรา- กก.หุ้นใหญ่ยื่นจดฯลาออก15.57 น.วันเดียวกัน
พบเจ้าของ รง.ขยะพิษ จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอีก 2 แห่ง ‘คลองเตย- อยุธยา’
รองผบ.ตร.เผยครึ่งปีแรก 2561 พบนำเข้าขยะอิเลกทรอนิกส์ แสนกว่าตัน
ไม่ใช่รง.เถื่อน กรอ. แจงตรวจพบที่ฉะเชิงเทรา อาจลอบนำเข้า E-waste โดยสำแดงเท็จ
หมายเหตุ : ภาพประกอบขยะอิเล็กทรอนิกส์ จาก 2.bp.blogspot.com