สารคดี
-
ปากคำกงสุลใหญ่ไทยในการาจีและชาวปากีสถาน...หลังสหรัฐสังหาร "บิน ลาเดน"
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 04 พฤษภาคม 2554 เวลา 08:09 น.เขียนโดยแวลีเมาะ ปูซูปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกาที่ไล่ล่าสังหาร นายโอซามา บิน ลาเดน ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ในประเทศปากีสถาน ซึ่งกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีอีกหลายแง่มุมที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอารมณ์ความรู้สึกของชาวปากีสถานเอง และคนไทยในประเทศที่เป็นรัฐอิสลามแห่งนี้
-
เจ็ดปีหลังเหตุร้ายพ้นผ่าน...เสียงอาซานจากมัสยิดกรือเซะยังคงอยู่
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน 2554 เวลา 10:01 น.เขียนโดยเลขา เกลี้ยงเกลาวันที่ 28 เมษายนของทุกปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ได้แปรเปลี่ยนวันธรรมดาๆ วันนี้ไปสู่วันแห่งประวัติศาสตร์บาดแผลจากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแม้ปัจจุบันคนไทยเกือบทั้งประเทศจะหลงลืมกันไปเกือบหมดแล้ว แต่พี่น้องมุสลิมที่ปลายสุดด้ามขวานไม่เคยลืม
-
ข้อมูลสองด้านที่บ้านน้ำดำ...เมื่อสองเยาวชนต้องตาย "ใครคือคนร้าย ใครคือผู้บริสุทธิ์?"
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 21 เมษายน 2554 เวลา 13:22 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราเหตุการณ์รุนแรงเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 18 เม.ย.2554 สืบเนื่องจากกรณีเจ้าหน้าที่ออกติดตามไล่ล่าคนร้ายที่ยิงถล่มฐานปฏิบัติการของกองร้อยทหารพรานที่ 4302 บ้านน้ำดำ หมู่ 3 ต.ปูโละปูโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี กำลังบานปลายกลายเป็น "น้ำผึ้งหยดเดียว" อีกครั้ง เมื่อมีเยาวชนเสียชีวิต 2 รายจากเหตุการณ์ดังกล่าว และฝ่ายเจ้าหน้าที่รีบสรุปว่าเยาวชนทั้งคู่เป็นคนร้ายที่ดักซุ่มโจมตีกองกำลังทหารพราน แต่ครอบครัวของผู้ตายและ ...
-
"แบดิง"แห่งบ้านกะมิยอ กับกิจการส่งออก "กะปิเยาะห์"จากสินเชื่อชุมชนระบบอิสลาม
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน 2554 เวลา 15:40 น.เขียนโดยเลขา เกลี้ยงเกลาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่พังพาบมาหลายปี ทั้งจากปัญหาพื้นฐานในพื้นที่เองและสถานการณ์ความไม่สงบที่ซ้ำเติม ทำให้ทุกภาคส่วนพยายามหาแนวทางเพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการจับจ่ายใช้สอย ด้วยหวังให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดีและฝ่าวิกฤติความรุนแรงรอบนี้ไปให้ได้
-
ตลาดเทศบาลแห่งใหม่ของปัตตานี...วิถีความเปลี่ยนแปลงที่มิอาจหลีกพ้น
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 03 เมษายน 2554 เวลา 11:13 น.เขียนโดยอับดุลเลาะ หวังหนิปัญหาของพ่อค้าแม่ขายของสดในอำเภอเมืองปัตตานีที่ได้รับความเดือดร้อนหลังจากถูกเทศบาลสั่งให้ย้ายไปขายรวมกันที่ตลาดแห่งใหม่นั้น เสียงบ่นดูจะยังไม่คลี่คลาย แม้ว่าในส่วนของ "ตลาดจะบังติกอ" ตลาดสินค้ามือสองใหญ่ที่สุดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งถูกสั่งย้ายเช่นกัน จะได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นจากอดีตสมาชิกวุฒิสภาไปบ้างแล้วก็ตาม
-
ล้วงลึกโครงการ 4,500 (ตอนจบ) ความหวังสุดท้ายต่อลมหายใจครอบครัวคนยาก
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 29 มีนาคม 2554 เวลา 12:28 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราแม้โครงการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่รู้จักกันในนาม "โครงการ 4,500" จะถูกตั้งคำถามถึงความไม่โปร่งใส การใช้เส้นสายเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้องของบรรดาข้าราชการและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้ง "ลูกจ้าง 4,500" ยังตกเป็นเป้าสังหารของกลุ่มก่อความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง แต่ความจริงอีกด้านที่มิอาจปฏิเสธก็คือ ประโยชน์ของโครงการนี้ที่ช่วยต่อลมหายใจให้กับครอบครัวผู้ทุกข์ยากเด ...
-
ล้วงลึกโครงการ 4,500 (ตอนที่ 2) วิบากกรรม "ลูกจ้างรัฐ" ตกเป็นเป้าสังหาร
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2554 เวลา 12:16 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2548 และเริ่มกระบวนการจ้างงานคนในพื้นที่รุ่นแรกเมื่อวันที่ 18 ต.ค.2548 จำนวนกว่า 4 หมื่นอัตรา โดยรัฐจ่ายเงินเดือนให้คนละ 4,500 บาท
-
ล้วงลึกโครงการ 4,500 (ตอนที่ 1) สร้างงานหรือผลาญงบ?
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2554 เวลา 14:44 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราตลอดกว่า 7 ปีของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโครงการของรัฐโครงการหนึ่งที่โด่งดังพอสมควร และประชาชนในพื้นที่ล้วนรู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ "โครงการจ้างงานเร่งด่วน 4,500 บาท"
-
"จะบังติกอ" ไม่ใช่แค่ย้ายตลาด แต่คือข้อพิพาทเรื่องวิถีชุมชน
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 12 มีนาคม 2554 เวลา 13:21 น.เขียนโดยอับดุลเลาะ หวังหนิเรื่องราวที่วิจารณ์กันให้แซ่ดในตัวเมืองปัตตานียามนี้ นอกจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่หวนกลับมารุนแรงอย่างไม่น่าเชื่อแล้ว คงหนีไม่พ้นประกาศของเทศบาลเมืองปัตตานีที่ให้ย้ายตลาด "จะบังติกอ" ไปยังสถานที่แห่งใหม่ที่ทางเทศบาลจัดให้ ซึ่งอยู่ใกล้กับตลาดสดของเทศบาลในปัจจุบัน
-
เรื่องเล่าจากภาพถ่าย...ลมหายใจผ่านยุคสมัยของเมืองปัตตานี
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 20:36 น.เขียนโดยเลขา เกลี้ยงเกลาแม้สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะอยู่ในภาวะตึงเครียดอย่างยิ่งจากเหตุรุนแรงขนาดใหญ่แบบถี่ยิบเหมือนย้อนกลับไปช่วงปี 2548 หรือ 2550 ทว่าความเคลื่อนไหวในพื้นที่ก็ยังมีกิจกรรมดีๆ ในบรรยากาศสันติสุขอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ดังเช่นนิทรรศการภาพถ่าย "เรื่องเล่าเมืองตานี" ที่เพิ่งปิดฉากลงไปเมื่อไม่กี่วันมานี้