สารคดี
-
ปลาทับทิมเนื้อหวานแห่งบ้านมือลอ อีกหนึ่ง“ของดี”เมืองกะพ้อริมแม่น้ำสายบุรี
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 28 กรกฎาคม 2553 เวลา 00:06 น.เขียนโดยPisanเลขา เกลี้ยงเกลา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา “ปลาทับทิมเนื้อหวาน รสชาติอร่อย ไม่คาว” คือความพิเศษและการันตีจากการได้ไปชิมเนื้อปลาทับทิมในกระชังริมแม่น้ำสายบุรีแห่งบ้านมือลอ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี เป็นปลาทับทิมที่เกิดจากความตั้งใจของชาวบ้านและสานต่อความสำเร็จด้วยโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน หรือที่รู้จักกันในนาม “โครงการพนม.” ของ ศอ.บต.
-
เด็กชายแดนใต้ชอบเป็นครู สวนกระแส “แม่พิมพ์ชาติ” เหยื่อความรุนแรง
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 23 กรกฎาคม 2553 เวลา 01:32 น.เขียนโดยPisanสมศักดิ์ หุ่นงาม โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา เหตุการณ์คนร้ายลอบยิง ครูพิชัย เสือแสง อายุ 55 ปี ผู้อำนวยการโรงเรียนดุซงปาแย อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เสียชีวิตขณะขับรถกลับบ้าน เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นครูรายที่ 131 แล้วที่ต้องตกเป็นเหยื่อสถานการณ์ไฟใต้ จนสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงไปทั่ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า “อาชีพครู” กลับเป็นอาชีพในฝันของเด็กๆ และเยาวชนในดินแดนปลายสุดด้ามขวาน
-
ภาษาไทย-มลายูมีรากเหง้าเดียวกัน? (5) "ขวัญ" และ "ขวง" ในโลกทัศน์ของคนไท-มลายู
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2553 เวลา 11:04 น.เขียนโดยPisanกัณหา แสงรายา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ตั้งแต่ยุคโบราณมาแล้ว เชื่อกันว่า ‘ตัวตน’ ของคนทุกคนมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นตัวตนได้แก่ ‘ร่างกาย’ กับส่วนที่ไม่เป็นตัวตนคือ ‘ขวัญ’ และยังเชื่อกันอีกว่า ‘ขวัญ’ มีอยู่ในคน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติ โดยนัยนี้ ‘ขวัญ’ (ภาษาไท) จึงมีความหมายเท่ากับ ‘จิต’ หรือ ‘วิญญาณ’ (ภาษาบาลึสันสกฤต)
-
เรื่องของ “เจ้าตูม” ยังไม่จบ
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 18 กรกฎาคม 2553 เวลา 20:30 น.เขียนโดยPisanสุเมธ ปานเพชร โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา เรื่องราวจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงหลายปีมานี้ มีน้อยยิ่งกว่าน้อยที่สามารถเรียกรอยยิ้มจากผู้คนได้ แต่หนึ่งในนั้นคือเรื่องของ “เจ้าตูม” หมาไทยใจกล้าที่เห่าไล่คนร้ายขณะใช้อาวุธปืนอาก้ายิงถล่มจุดตรวจของ ชรบ.จนตัวเองต้องเสียขาไปหนึ่งข้าง กระทั่งทางจังหวัดปัตตานีตัดสินใจจ่ายเงินเยียวยาช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลให้
-
โลกมืดท่ามกลางความรุนแรง...ของย่าแดงกับน้องบ่าว
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 14 กรกฎาคม 2553 เวลา 13:08 น.เขียนโดยPisanเลขา เกลี้ยงเกลา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้มีแค่ปัญหาความไม่สงบที่ทำให้มีผู้คนต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาด้านอื่นๆ เหมือนๆ กับจังหวัดอื่นในประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการศึกษา ความยากจน และคนด้อยโอกาส ที่น่าเศร้าก็คือยิ่งมีสถานการณ์ความรุนแรง ยิ่งเสมือนเป็นการซ้ำเติมปัญหา ทำให้หลายชีวิตต้องหลั่งน้ำตาและทนทุกข์มากขึ้นเป็นทวีคูณ
-
ห้องเรียนปรองดอง...จากแอฟริกาใต้ ไอร์แลนด์เหนือ ถึงประเทศไทย
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 07 กรกฎาคม 2553 เวลา 20:44 น.เขียนโดยPisanปกรณ์ พึ่งเนตร โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา "ไม่แน่ใจว่าชาตินี้จะปรองดองกันได้หรือเปล่า เพราะความคิดเห็นมันแตกแยกกันเหลือเกิน" เป็นวาทะสั้นๆ แต่ได้ความหมาย ของบุรุษผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการเมืองไทยมานานกว่าค่อนชีวิตอย่าง บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สะท้อนให้เห็นว่ายังมองไม่เห็นแสงสว่างใดๆ ที่ปลายทางความขัดแย้งของบ้านเมือง
-
เส้นทางสู่นรก...'การฆ่าตัวตาย' ในศาสนาอิสลาม
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 01 กรกฎาคม 2553 เวลา 22:47 น.เขียนโดยPisanกัณหา แสงรายา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา “...และสูเจ้าจงอย่าได้ฆ่าตัวตาย แท้จริงอัลเลาะฮฺทรงเมตตาสูเจ้าอย่างยิ่ง...” (อัลกุรอาน 4:29)
-
ภาษาไทย-มลายูมีรากเหง้าเดียวกัน? (4) ผีฟ้า แถน และมะโย่ง รากร่วมทางวัฒนธรรมไท-มลายู
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน 2553 เวลา 02:28 น.เขียนโดยPisanกัณหา แสงรายา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ก่อนหน้าที่คนไทยในประเทศไทยจะรับพุทธศาสนา ชนชาติไท (รวมทั้งคนไทย) ทั้งหมดมีโลกทัศน์เกี่ยวกับจักรวาล รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นของตนเอง ความเชื่อเรื่อง ขวัญ, ด้ำ (ผีบรรพบุรุษ), ผีฟ้า หรือ แถน ซึ่งมีฐานะเสมือนพระเจ้าผู้สร้างโลกหรืออธิเทพ (บางแห่งเรียกรวมกันว่า ผีฟ้าพญาแถน) ตลอดจนความเชื่อเรื่อง ใจเมือง, หลักเมือง ฯลฯ กลายเป็นแก่นแกนสำคัญของวิถีชีวิตชนชาต ...
-
รู้จักขบวนการนักศึกษาชายแดนใต้ กับบทวิพากษ์ถึงเป้าหมายและพัฒนาการ
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2553 เวลา 16:58 น.เขียนโดยPisanปรัชญา โต๊ะอิแต โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ยังคงมีปัญหากระทบกระทั่งกันเป็นระยะระหว่างกลุ่มนักศึกษา กลุ่มที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและเครือข่าย กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยล่าสุดเมื่อไม่กี่วันมานี้ เพิ่งมีรายงานจากเครือข่ายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเข้าถึงความยุติธรรม (HAP) กรณีเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามและข่มขู่นักสิทธิมนุษยชน
-
อินไซด์กลันตัน...ภาพฝันแห่งสันติสุขแนบชิดชายแดนใต้
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 19 มิถุนายน 2553 เวลา 14:11 น.เขียนโดยPisanแวลีเมาะ ปูซู โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา หลายคนคงเคยสังเกตเวลาที่พูดถึงปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้บ้านเราซึ่งกลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งหนึ่งที่ทั่วโลกจับตามอง มักมีการหยิบยก “รัฐกลันตัน” ทางตอนเหนือของมาเลเซีย ติดกับจังหวัดนราธิวาสของไทย เป็นตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และสันติสุขของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา ในท่วงทำนองของ “ดอกไม้หลากสี”