สารคดี
-
เก็บตกบรรยากาศฮารีรายอ...ยิ้มแย้ม สดใส และอิ่มบุญ
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 14 กันยายน 2553 เวลา 14:47 น.เขียนโดยอะหมัด รามันห์สิริวงศ์ แวดาโอ๊ะ หะไร อับดุลเลาะ หวังนิเมื่อสิ้นสุดเดือนรอมฎอน หรือเดือนแห่งการถือศีลอด ก็จะเข้าสู่เทศกาลเฉลิมฉลองของพี่น้องมุสลิม หรือที่เรียกว่า "ฮารีรายอ อีดิ้ลฟิตรี" บรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่นและอิ่มบุญ ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมาเกือบ 7 ปี และมีกองกำลังของฝ่ายความมั่นคงตั้งด่านตามถนนหนทางและดูแลสถานที่สำคัญของทางราชการอย่างเข้มงวด
-
กวีหนุ่มมุสลิมจากนราธิวาสคว้ารางวัล"ซีไรต์" เปิดประตูวรรณกรรมชายแดนใต้
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 07 กันยายน 2553 เวลา 00:37 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศรา"ไม่มีหญิงสาวในบทกวี" งานกวีนิพนธ์ของ ซะการีย์ยา อมตยา กวีหนุ่มจากดินแดนเทือกเขาบูโด จ.นราธิวาส คว้ารางวัลซีไรต์ประจำปี 2553 ด้วยมติเอกฉันท์ ขณะที่ มนตรี ศรียงค์ เจ้าของฉายา "กวีหมี่เป็ด" ในฐานะซีไรต์รุ่นพี่ ชี้ การได้รางวัลของกวีมุสลิมจากปลายด้ามขวาน คือการเปิดประตูช่องทางวรรณกรรมให้แก่พื้นที่ชายแดนใต้
-
บันทึกใสๆ จากชายแดนใต้...กลิ่นอายความศรัทธาและภาพชีวิตช่วงรอมฎอน
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 04 กันยายน 2553 เวลา 01:31 น.เขียนโดยนาซือเราะ เจะฮะ อะหมัด รามันห์สิริวงศ์การถือศีลอดเป็นหลักปฏิบัติในศาสนบัญญัติ 1 ใน 5 ประการของอิสลาม คือ 1.นับถือพระเจ้า (อัลลอฮฺ) องค์เดียว และนบีมูฮำหมัดเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย 2.ดำรงละหมาด 3.บริจาคทาน 4.ถือศีลอด 5.บำเพ็ญฮัจญ์ที่นครมักกะฮฺ และเดือนนี้คือเดือนแห่งการถือศีลอด เรียกว่า "เดือนรอมฎอน"
-
เรื่องราวของ "ลิงตำรวจ" ผู้จากไป...และต้อนรับน้องใหม่ "สันติภาพ พรมดาว"
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 31 สิงหาคม 2553 เวลา 02:34 น.เขียนโดยPisanสุเมธ ปานเพชร โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา เรื่องเศร้าๆ และความสูญเสียที่ปลายด้ามขวานไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือชาวบ้านไทยพุทธกับมุสลิมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง “เจ้าลิง” ที่ชื่อ “สันติสุข พรมดาว” ลิงตำรวจเต็มขั้นที่ช่วยงานมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี จนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก
-
คอร์สเจ้าบ่าว-เจ้าสาวที่ชายแดนใต้…เตรียมพร้อมก่อนแต่งงานสไตล์อิสลาม
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 29 สิงหาคม 2553 เวลา 11:10 น.เขียนโดยPisanเลขา เกลี้ยงเกลา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา “การแต่งงานเป็นศิลปะชั้นสูง คือความสวยงาม เป็นธรรมชาติที่อัลลอฮฺทรงประทานแก่มนุษย์.....” เป็นนิยามว่าด้วยการแต่งงานในมุมมองของ ผศ.อับดุลเลาะ อับรู หนึ่งในวิทยากรผู้บรรยายในโครงการ “ครอบครัวสุขสันต์” ที่บ่งบอกว่าอิสลามให้ความสำคัญกับการแต่งงานมากขนาดไหน
-
ฝากรอยเท้าที่น้ำตกทรายขาว...ชมทะเลหมอกบนเทือกเขาสันกาลาคีรี
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 21 สิงหาคม 2553 เวลา 21:05 น.เขียนโดยPisanแวลีเมาะ ปูซู โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา กิจกรรม “วิ่งป่าตานี จักรยานเสือภูเขา พิชิตยอดเขาสันกาลาคีรี ครั้งที่ 4” เมื่อต้นเดือนสิงหาฯที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้คึกคักยิ่งขึ้น พร้อมสร้างภาพลักษณ์เรียกความเชื่อมั่นว่า "ชายแดนใต้ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด" แล้ว อีกหนึ่งผลพวงที่ปรากฏตามมาก็คือ ความประทับใจที่ผู้มาเยือนมีต่อ "น้ำตกทรายขาว" และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติบนเทือก ...
-
เรื่องของหมา เงินเยียวยา และไฟใต้
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 18 สิงหาคม 2553 เวลา 02:19 น.เขียนโดยPisanนาซือเราะ เจะฮะ / สุเมธ ปานเพชร โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ความอ่อนไหวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่แค่ศาสนาต่าง ภาษาต่าง หรือวัฒนธรรมต่างเท่านั้น แต่ยังปรากฏความต่างทางความรู้สึก ซึ่งหลายๆ ครั้งบาดลึกยิ่งกว่า ดังเช่นการจ่ายเงินเยียวยาให้ "หมา" ที่ปัตตานี
-
บันทึกวันแม่...เจาะชีวิต "โต๊ะบีแด" หมอตำแยที่ชายแดนใต้
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 12 สิงหาคม 2553 เวลา 07:31 น.เขียนโดยPisanสุเมธ ปานเพชร โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา คำว่า “เมาะ” ในภาษามลายูถิ่นของพี่น้องไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความหมายว่า “แม่ผู้ให้กำเนิดลูกๆ” ฉะนั้นการที่ เจ๊ะซง ลาเต๊ะ หญิงชราวัย 70 ปีแห่งบ้านกาตอง อ.ยะหา จ.ยะลา ถูกชาวบ้านกว่าค่อนหมู่บ้านเรียกขานว่า “เมาะซง” นั้น จึงเท่ากับเป็นการยกย่องให้เกียรตินางว่าเป็นเสมือนแม่คนที่สองของพวกเขาเลยทีเดียว
-
นักศึกษาบรูไนที่ชายแดนใต้....ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากบ้านเกิด
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 06 สิงหาคม 2553 เวลา 00:17 น.เขียนโดยPisanเลขา เกลี้ยงเกลา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือนที่ชายแดนใต้ของประเทศไทย นักศึกษาจากประเทศบรูไนดารุสลามได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตที่หาไม่ได้ในบ้านเกิด โดยเฉพาะการเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมอันมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งแทบไม่มีดินแดนอื่นใดเสมอเหมือน
-
ชะตาชีวิตไทยพุทธสองตายาย...เมื่อไฟใต้กระหน่ำซ้ำซากพรากชีวิตคนในครอบครัว
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 31 กรกฎาคม 2553 เวลา 17:16 น.เขียนโดยPisanอับดุลเลาะ หวังนิ โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ทำร้ายทำลายชีวิตและร่างกายของผู้คนจำนวนมากเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนต่างศาสนาและวัฒนธรรมที่มีมาแต่ดั้งเดิมก็ถูกสะบั้นลงด้วยความหวาดระแวง และคนที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือจนยากที่จะยอมรับได้ก็คือ...คนชรา