องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้อุตฯ ผลิตอุปกรณ์ป้องกันโรคทั่วโลก เพิ่มกำลังการผลิตอีก 40% ด้านรพ.ธรมมศาสตร์ฯ โอดหาซื้อุปกรณ์ไม่ได้ หวั่นกระทบต่อผู้ป่วย ส่วนสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ออกคำแนะนำการใช้หน้ากากอนามัย สำหรับประชาชนทั่วไป พร้อมจี้หน่วยงานของรัฐควรจัดหาหน้ากากอนามั้ยให้บุคลากรทางการแพทย์อย่างเพียงพอก่อน และจัดหาให้ประชาชนทั่วไปใช้งานเท่าที่จำเป็น
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรื่อง กรณีการบริหารจัดการการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
สืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวร้โคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมรับการระบาดโรคติดเชื้อไวสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระยะที่ 3 ซึ่งจะมีผู้ป่วยเข้ามารับ
บริการจำนวนมาก ทั้งนี้ในการบริหารจัดการระดับประเทศพบว่า ไม่มีการบูรณาการอย่างชัดเจน ในกรณีดังต่อไปนี้
1. การบริหารห่วงโซ่อุปาทาน (supply chain management) โดยเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัยชนิด N5 หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น โดยในปัจจุบันโรงพยาบาลไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวได้ นำมาซึ่งการร้องเรียนและการฟ้องร้องต่อบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยในที่สุด
2. โรงพยาบาลขอเรียกร้องนโยบายการดูแลบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลผู้ป่วยในกรณีที่ติดเชื้อและทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต เพิ่มเติมจากสภาวการณ์ปกติ
3. การสื่อสารในระดับประเทศ ทั้งในเรื่องข้อมูลทางวิชาการ ขัอมูลทางการแพทย์ ข้อมูลงานวิจัย หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบต่อโรงพยาบาลในการสื่อสารต่อไปยังบุคลากรและผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้เกิดความ
สับสนต่อข้อมูลนั้นๆ ได้
ขณะที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร มีรายงานว่า วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็ขาดแคลนไม่แพ้กัน โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ มีแจกจ่ายให้พยาบาล 5 ชิ้นต่อเดือน และต้องนำกลับมาใช้ใหม่โดยการฉีดพ่นด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
ประเด็นการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันโรค การกักตุนสินค้า และใช้อุปกรณ์ผิดประเภทนั้น ล่าสุด องค์การอนามัยโลก ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอุปกรณ์ป้องกันโรค เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก 40% เพื่อให้เพียงพอในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID19 โดยเฉพาะเพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย ถือว่า มีความเสี่ยงมากที่สุด
ส่วนสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย (IDAT) ออกคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หน้ากากอนามัย สำหรับประชาชนทั่วไป ในสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา-2019 (COVID-19)
1. สำหรับประชาชนทั่วไปที่สบายดีการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในที่สาธารณะ ไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจเพิ่มความเสี่ยงหากใช้ไม่ถูกวิธี เพราะจะเพิ่มโอกาสของการใช้มือสัมผัสใบหน้า
2. ท่านควรสวมหน้ากากอนามัยเมื่อ
2.1 ป่วยเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากต้นทางโดยสามารถลดปริมาณเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมเหลือหนึ่งในสาม
2.2 ให้การดูแลผู้ปวยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจใกล้ชิด
2.3 เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วย
2.4 เข้าไปในสถานที่ที่มีคนแออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี
3. หากท่านต้องการจะใส่หน้ากากอนามัย ควรใส่อย่างถูกต้อง ห้ามจับส่วนใด ๆ ของหน้ากากเมื่อใส่แล้ว สามารถใช้ได้นานจนกว่าจะสกปรกหรือขาดตราบใดที่ยังอยู่บนใบหน้า หากถอดแล้วต้องทิ้งเลย ห้ามใช้ช้ำ การใช้แอลกอฮอล์พ่นบนหน้ากากอนามัยไม่เกิดประโยชน์ ล้างมีออย่างถูกต้องก่อนและหลังใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
4. หน้ากากผ้า ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
5. หน้ากากชนิด N-95 ใช้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดขณะทำหัตถการเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ผู้ป่วยทั่วไปไม่ควรใช้หน้ากากชนิดนี้ เพราะจะหายใจไม่พอเนื่องจากหน้ากากชนิดนี้แน่นมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
การซื้อหน้ากากอนามัยไปใช้กันมาก ๆ โดยไม่มีข้อบ่งชี้ ทำให้เกิดการขาดแคลนส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ทำให้ควบคุมโรคได้ยากขึ้นสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า หน่วยงานของรัฐควรจัดหาหน้ากากอนามั้ยให้บุคลากรทางการแพทย์อย่างเพียงพอก่อน และจัดหาให้ประชาชนทั่วไปใช้งานเท่าที่จำเป็น