‘โกวิท พวงงาม’ ส.ส.พรรคพลังท้องถิ่นไท วอน นายกฯ-เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คุมเข้มกำกับดูแลมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หลังเกิดประเด็นการดำรงตำแหน่งระดับผู้บริหารในมหาวทิยาลัยชื่อดัง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 19 ธันวาคม 2565 ศ.โกวิทย์ พวงงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท เปิดเผยว่า ขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ช่วยเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามหลักแนวทางปฏิบัติหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
เพราะในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่ควรจะทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพเพื่อมารับใช้สังคม และทำหน้าที่ในการชี้นำสังคมนั้น มีส่วนที่ยังมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสและแนวทางการบริหารงานจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะยังมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังมีความขัดแย้งในการสรรหาอธิการบดี การฟ้องร้องในการแต่งตั้งให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รวมทั้งคณบดีและผู้บริหารอื่นๆ แม้กระทั่งกลไกสภามหาวิทยาลัยก็ยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้มาทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดทิศทางมหาวิทยาลัยนั้น ก็ยังมีปัญหาข้อขัดแย้งในการดำรงตำแหน่งในแง่ความโปร่งใส และความมีธรรมาภิบาลเช่นกัน
ทั้งๆ ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ออกประกาศ วางแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2564 แต่ก็ยังมีปัญหาข้อร้องเรียนจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ดังนี้
1. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา และกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่อยู่ในช้อบังคับว่าควรมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 4 ปี และไม่ควรดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินกว่า 8 ปี ซึ่งในประเด็นนี้ยังเห็นว่ายังคงมีปัญหาอยู่จึงเรียกร้องให้มีการตรวจสอบว่ามีมหาวิทยาลัยใดข้างที่ยังไม่ดำเนินการตามข้อขังคับนี้ โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยราชภัฎบางแห่ง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2. ประเด็นปัญหาการแต่งตั้งกรรมการสรรหาผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุตมศึกษา และกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ที่ควรมาจากบุคคลภายนอกมากกว่ากึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะประธานคณะกรรมการสรรหาควรเป็นบุคคลภายนอก และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยที่จะมาเป็นคณะกรรมการ สรรหาควรผ่านการคัดเลือกจากบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษาและไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งบริหาร
ซึ่งในประเด็นนี้พบว่า ยังมีหลายมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ดำเนินการตามข้อบังคับนี้เช่นกัน แตในบางมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งกรรมการสรรหาที่เป็นพวกเดียวกันและยึดหลักพวกพวงในการแต่งตั้งซึ่งเป็นประเด็นนำมาสู่ความขัดแย้งและควรได้มีการตรวจสอบ
ทั้ง 2 ประเด็นที่กล่าวมา ถือว่า เป็นประเด็นสำคัญในแง่ของการจัดให้มีตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางและนโยบายของมหาวิทยาลัยรวมทั้ง การปฏิบัติตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล เพื่อจะทำให้ความชัดแย้งในเรื่องต่างๆ ของมหาวิทยาลัยลดน้อยลง
3. ข้อเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อชี้นำทางสังคม ในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ชี้นำทางออกและแนวทางที่จะพัฒนาสังคมไทยไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องโดยเฉพาะการเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยเป็นแบบอย่างของความโปร่งใสและหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้เป็นแบบอย่างของสังคมไทย
จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ลงมาตรวจสอบ กำกับดูแลมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล และดำเนินการแก้ไขให้มหาวิทยาลัยที่มีปัญหาประเด็นเหล่านี้ให้ดำเนินการคลี่คลายความขัดแย้งลงไป
อ่านประกอบ
- เปิดหนังสือร้องเรียน ต้นเหตุ อว.ชะลอนำชื่อนายก-สภา มสธ.เสนอโปรดเกล้าฯ?
- คนดี คนเก่ง มีน้อย! (ว่าที่) นายก มสธ.วัย 83 ปี นั่งมาแล้ว 5 แห่ง ทรัพย์สิน 44.5 ล.
- อธิการฯ ขอตรวจก่อน! ‘วีระ สมความคิด’ จี้ มสธ.สงสัยจ้างระบบทดสอบออนไลน์มีผลปย.ทับซ้อน
- ลาออกก่อนแล้ว! มสธ.ตอบ‘วีระ' จ้างระบบทดสอบออนไลน์ 'วิจิตร ศรีสอ้าน’ ไม่มีผลปย.ทับซ้อน
- อว.แจ้งเป็นความลับ! 'มานิตย์' ไม่สามารถชี้แจงได้ปมชะลอเสนอชื่อนายก-กก.สภา มสธ.โปรดเกล้าฯ